หัวเว่ยจัดการประชุม Huawei Digital and Intelligent APAC Congress ร่วมสำรวจโอกาสการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก

กรุงเทพฯ, 29 เมษายน พ.ศ. 2567–โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ พันธมิตร และนักวิเคราะห์มากกว่า 1,500 คนจาก 15 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมงานทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำพร้อมทั้งร่วมกันมองหาแนวทางเพื่อพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีความเป็นดิจิทัลและอัจฉริยะไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิกอยู่ในยุคที่รุ่งเรือง หลายประเทศและหลายภูมิภาคกำลังเร่งเดินหน้าสำรวจศักยภาพด้านความอัจฉริยะพร้อมส่งเสริมการพัฒนาทางด้านดิจิทัล จวบจนถึงปัจจุบันหัวเว่ยได้สนับสนุนการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับองค์กรพันธมิตรมากกว่า 100,000 รายในเอเชียแปซิฟิก และช่วยให้ภูมิภาคนี้สามารถสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทั้งในด้านศูนย์ข้อมูลและเครือข่ายชั้นนำ โดยผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยและพันธมิตรได้ร่วมกันพัฒนาOpenLab, ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมร่วมทางด้าน5G และแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของลูกค้าในภูมิภาค

นางซาบรีนา เมิ่ง รองประธาน ประธานหมุนเวียนตามวาระ และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย ได้กล่าวเปิดการว่า “เอเชียแปซิฟิกไม่เพียงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยโอกาสมากที่สุดของโลก แต่ยังเป็นแบบอย่างสำหรับภูมิภาคอื่นๆ ที่กำลังพยายามขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัลและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของตนเอง ซึ่งหัวเว่ยได้รับเกียรติให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขับเคลื่อนนี้ และหัวเว่ยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับเหล่าลูกค้าและพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมทุกท่านที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลให้กับภูมิภาค”

เธอยังกล่าวอีกว่า “ก้าวต่อไปนับจากนี้เราจะยังคงเดินหน้าให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า เราต้องการทำหน้าที่ของเราในการนำประโยชน์ต่างๆ ของนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะมามอบให้กับผู้คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเรายังต้องการส่งเสริมการพัฒนาภาคเศรษฐกิจดิจิทัลควบคู่ไปกับภาคเศรษฐกิจจริงในแบบองค์รวม”

นางซาบรีน่าเมิ่งรองประธานประธานหมุนเวียนตามวาระและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหัวเว่ย

กล่าวเปิดการประชุม

ฯพณฯ นารายา เอส ซูปราปโต รองเลขาธิการแห่งสำนักงานเลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นอนาคตของกรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement : DEFA)เอื้อให้สังคมและชุมชนธุรกิจของเราได้มีกำลังขับเคลื่อนในการปลดล็อคศักยภาพด้านบริการดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประมวลผลแบบคลาวด์ทั้งนี้ ในการที่จะสร้างอนาคตแห่งความสำเร็จด้านดิจิทัลให้ทั่วทั้งภูมิภาค ภาครัฐบาล เอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายจำเป็นจะต้องนำแนวทางที่สอดคล้องกันมาใช้ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล พร้อมลดความเหลื่อมล้ำด้านการพัฒนาในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงพัฒนาทักษะ และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลภายในภูมิภาค”

ฯพณฯประเสริฐจันทรรวงทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้เกียรติขึ้นกล่าวในงาน

ฯพณฯประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ประเด็นที่เราให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นคือการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะภายใต้แผนงาน “The Growth Engine of Thailand” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลในฐานะกลไกการขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อีกทั้งยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ โครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ โครงการ Cloud First Policyการพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลการแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ และโครงการความร่วมมือที่หลากหลายกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”

นายลีโอ เฉิน รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ กล่าวว่า “ปัจจุบัน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ในฐานะผู้นำในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและความอัจฉริยะ เราเชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะซึ่งครอบคลุมทั้งด้านโครงข่าย การจัดเก็บ การประมวลผล และระบบคลาวด์ คือกุญแจสำคัญสู่การปลดล็อคด้านประสิทธิภาพหัวเว่ย มีความเข้าใจเชิงลึกในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย จึงมีความพร้อมและยินดีที่จะนำเทคโนโลยีที่ครอบคลุมแบบ full-stackและโซลูชันที่ต่าง ๆ ของเรามาใช้ประโยชน์ รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายนี้เราจะร่วมกันเป็นผู้นำขับเคลื่อนความเป็นอัจฉริยะทางอุตสาหกรรมในระดับโลกและพัฒนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นศูนย์รวมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมๆ ไปกับการริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างความมหัศจรรย์แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เกิดขึ้นอีกครั้งในยุคแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะนี้”

นายลีโอ เฉิน ประธานฝ่ายธุรกิจการขายหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์กล่าวคำปราศรัยหลัก

นายไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้กล่าวในคำปราศรัยว่า“ขณะที่เราเดินหน้ารับมือกับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในระหว่างการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล เป็นที่ประจักษ์ว่าสิ่งที่ทำนั้นจะต้องเป็นมากกว่าแค่การนำโซลูชันมาใช้ แต่คือการผนวกเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจและสังคมในเชิงลึก ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เข้าสู่ยุคทองของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยี ผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม และผู้สนับสนุนประจำแต่ละพื้นที่ และด้วยความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจและพันธมิตรด้านคลาวด์กว่า10,000ราย เราพร้อมที่จะขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จและเร่งพัฒนาให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัลและมีความอัจฉริยะอย่างแท้จริง”

ไซมอน หลิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหัวเว่ย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวคำปราศรัยหลัก

หลังจากการประชุมในครั้งนี้ หัวเว่ยมีกำหนดจัดการประชุมอีก 4 งาน ได้แก่ การประชุม Huawei Network Summit การประชุม Innovative Data Infrastructure Forum การประชุม Global Optical Summit และการประชุม  Huawei Cloud Stack Conferenceไม่เพียงเท่านั้น หัวเว่ยและพันธมิตรยังได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสำคัญอีก 7 งาน ซึ่งจะมีทั้งการเปิดตัวโซลูชันคลื่นความถี่สูงเพื่อตลาดเชิงพาณิชย์ การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับธุรกิจการจัดจำหน่าย การมอบรางวัลสำหรับพันธมิตรที่มีผลงานโดดเด่นในงาน Asia-Pacific Partners’ Nightนอกจากนี้ หัวเว่ยจะเปิดตัวโซลูชันสำหรับภาคอุตสาหกรรมในงาน Global ISP Summit Asia Pacificและงาน Manufacturing and Large EnterpriseSummit อีกด้วย

ทั้งนี้ ดร.มูลโดโก พลเอก (อดีต) เสนาธิการประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย และดร.ปิติ ศรีแสงนาม ประธานมูลนิธิอาเซียน ยังได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย

Related articles

เสริมความรู้กันหน่อย – เรียนฟรี ได้ใบเซอร์ กับ NVIDIA Academy

ใครชอบล่าใบเซอร์ห้ามพลาด ผมเจอของดีจาก NVIDIA Academy สำหรับใครที่อยากเพิ่มความรู้แบบฟรี ๆ เขามีบทเรียนสอนฟรี สอบฟรี ได้ใบเซอร์ด้วยนะ เข้าไปสมัครผ่านเว็บไซต์...

ไดร์เป่าผม Dreame Pocket ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดของ TIME ประจำปี 2567

ไดร์เป่าผม Dreame Pocket จาก ดรีมมี เทคโนโลยี ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ดีที่สุดของ TIME ประจำปี 2567 13...

เปิดตัว Soundcore Pro Series สัมผัสประสบการณ์การฟังที่เหนือระดับ กับ “โปรขั้นเทพ ตัดทุกเสียงรบกวน”

ครั้งแรกกับการเปิดตัว Soundcore Pro Series ในประเทศไทย พร้อมให้คุณได้สัมผัสประสบการณ์การฟังที่เหนือระดับ กับ “โปรขั้นเทพ ตัดทุกเสียงรบกวน” 9 ธันวาคม...

ดรีมมี เปิดสาขาใหม่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ ซีคอนสแควร์ จำหน่ายสินค้าและบริการแบบครบวงจร

ดรีมมี เทคโนโลยี (dreame Technology) บริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการเติบโตในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง ดรีมมี ลุยตลาดในประเทศไทยอย่างเต็มตัว โดยได้ขยายสาขาหลายแห่งทั่วกรุงเทพ เพื่อมอบบริการที่ครอบคลุมให้กับผู้ใช้ในหลากหลายพื้นที่ ล่าสุดได้เปิดตัว...

Synology RackStation RS1221+ เครื่อง NAS ตัวเทพ มีติดไว้อุ่นใจทั้งสตูดิโอ

นี่คือไอเทมหนึ่งที่สายทำงาน สายสตูดิโอ และสายธุรกิจไม่ควรพลาด Synology RackStation RS1221+ เครื่อง NAS ตัวเทพ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า