สเป็ครายละเอียดและราคา AMD EPYC 7000 Series Server CPU

 

รายละเอียดทางด้านสเป็คและตัวเลขทางด้านประสิทธิภาพของ AMD EPYC 7000 series processors สำหรับกลุ่ม servers หลุดออกมาแล้ว-แหล่งข่าวจาก Videocardz. จากสาย Zeppelin ที่เป็น EPYC CPUs จะมาพร้อมจำนวนแกนมากถึง 32 cores และขีดความสามารถทางด้าน I/O มากมาย.

รายละเอียดตระกูล AMD EPYC 7000 Series Server  – EPYC 7601 Flagship Processor รุ่นท็อปสุดมาพร้อม 32 Cores, 64 Threads และ 3.2 GHz Boost Clocks

สำหรับ EPYC server processors นั้นเคยกล่าวถึงในงาน AMD’s Financial Analyst Day รวมถึงสินค้าตัวอื่นๆ. ตัวชิปนั้นได้แนวทางมาจาก AMD Zen core, ใช้รูปแบบและงานออกแบบที่เป็น multi-chip package design. ตัวชิปนั้นประกอบไปด้วย multiple/หลายตัว Zeppelin dies  พร้อม 8 Zen cores. ทาง AMD นั้นใช้ Zeppelin dies ถึงสี่ตัวบนชิปรุ่นท็อปสุดที่มีจำนวนแกนถึง 32 core, 64 thread processor และมีจำนวน core count, thread count และ I/O ที่มากเป็นพิเศษ.

ในตระกูล AMD EPYC จะใช้ชื่อซีรี่ย์นี้ว่า “EPYC 7000” series และจะมีมาทั้งหมด 12 รุ่นย่อยด้วยกัน. จะมีเพียงสามจากสิบสองเท่านั้นที่ออกแบบและใช้ single socket solutions เท่านั้น-นอกนั้นจะเป็น 2P platforms.

รุ่นที่เร็วที่สุดจาก EPYC 7000 series processor เป็น EPYC 7601 ซึ่งมาพร้อมจำนวนแกนถึง 32 cores และ 64 threads. มีความเร็ว clock speeds ถูกขีดเอาไว้ที่ 2.2 GHz base และ 3.2 GHz boost frequencies. และ TDP ถูกกำหนดไว้ที่ 180W ซึ่งก็เป็นตัวเลขเดียวกันใน Ryzen Threadripper processors. สำหรับเวอร์ชั่นที่ใช้หรือออกแบบมาเพื่อใช้ได้กับ single-socket, รุ่นที่เร็วที่สุดเป็น EPYC 7551P ซึ่งก็มาพร้อมจำนวนแกนถึง 32 cores และ 64 threads. ทำความเร็ว clocked ที่ 2.0 GHz base และ 3.0 GHz boost และเรท TDP ที่ 180W.

ชิบทั้งสองมี 64.0 MB of L3 cache และใช้หรือประสานกันด้วย AMD Infinity Fabric เพื่อให้ชิประหว่างชิปนั้นต่อเชื่อมกัน-ภายในได้ดีและเร็วที่สุด (chip to chip interconnect). สำหรับ Infinity Fabric interconnect เป็นตัวหรือส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มทางด้านประสิทธิภาพ,สามารถปรับขยับได้ในด้านการเชื่อมต่อเพื่อเอื้อต่อขนาดของตัวชิปนั้น, ทำให้ประสิทธิภาพนั้นดีมากยิ่งขึ้น, ให้ผลลัพท์ที่ดีและเร็วขึ้น และยังลดทางด้านต้นทุน. รุ่นย่อยต่างๆจะประกอบไปด้วย:

 

AMD EPYC 7000 Series Server Lineup:

รายละเอียดทางด้านประสิทธิภาพของ AMD EPYC 7000 Series

คราวนี้มาดูทางด้านโครงสร้างกันบ้าง, EPYC จะมาพร้อมจำนวนแกนมากถึง 32 Zen cores. ตัวโครงสร้างจะรองรับการใช้งานร่วม 8 memory channels และ 128 lanes สำหรับค่า bandwidth I/O ที่สูงๆ. แต่ละ EPYC processor สามารถรองรับได้ 16 DIMMs สำหรับขนาดความจุมากถึง 2 TB memory และสำหรับ 2P หรือ Dual socket platform จะมาพร้อมจำนวนแกน 64 cores, 4 TB memory และ 128 PCI Express lanes.

AMD ไม่เพียงจะท้าชนกับ Intel ในด้าน single socket platform เท่านั้นแต่ยังเล่นไปถึงกลุ่ม 2 socket อีกด้วย. และ Epyc 1S platform จะสามารถนำเสนอทางด้านประสิทธิภาพได้ดีกว่ามากถึง 50 เปอร์เซนต์หากเทียบกับ Intel 2S solution. และมันยังใช้พลังงานที่น้อยกว่า.

ประสิทธิภาพและราคาทางเราทำตารางเปรียบเทียบมาให้ดู เครดิตจากทาง Videocardz.

สำหรับในบททดสอบที่นำเสนอโดยทาง AMD แน่นอนว่า EPYC นั้นยอดเยี่ยมและยังสามารถนำเสนอได้พอๆกับ 2 socket Xeon configurations หรือมีราคาที่ถูกกว่าพร้อมทั้งการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถที่ดีกว่าทางด้าน I/O. ชิปทุกตัวหรือรุ่นของ EPYC 7000 series ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแต่จะดีมากยิ่งขึ้นหากนำมันมาเปรียบเทียบกับ Skylake-SP ซึ่งน่าจะเป็นคู่ชกที่ตรงรุ่นเสียมากกว่าสำหรับ Naples / EPYC platform.

ทาง AMD ยังกล่าวอีกว่ามันยังมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าถึง 14% ในด้านแกนหากเทียบกันระหว่าง Naples platform กับทาง Intel (เทียบกันเป็นชั้นๆ) . สำหรับทาง Intel, singular rack จะมีจำนวนแกนที่ 4704 cores แต่ทาง AMD Zen ที่เป็น Naples Rack จะมี 5376 cores.

และยังดีกว่าถึง 14% ทางด้าน VM (Virtual Machines/เครื่องจำลอง) per/ต่อ socket. ส่วนด้าน Memory bandwidth ก็ดีกว่าถึง 33% เพราะ AMD มี 8 channels ส่วนทาง Intel Purley platform นั้นมาแค่ 6 channels per socket. Intel platform นั้นรองรับการทำงาน 24 DIMMs ส่วนของทาง AMD รองรับได้มากถึง 32 DIMMs. ทาง AMD ยังท้าทางด้านราคาอีกว่า บริษัทที่เป็นองกรณ์ใหญ่ๆจะได้ราคาที่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไปได้ดีกว่า.

สิ่งที่กำลังจะมาสำหรับ Intel และ AMD Server Platform:

AMD EPYC series จะมาต่อกรกับ Intel Skylake-SP platform ในปีนี้ 2017 และตามมาด้วย Cascade Lake-SP ในปี 2018. ทาง AMD วางแผนเอาไว้ว่าจะนำเสนอ Rome server ซึ่งจะมาจาก Zen 2 cores ใหม่ในปี 2018 เช่นกันและจะมาพร้อมจำนวนแกน 48 core chip รหัสชื่อ “Starship”. ทาง AMD คาดเอาไว้ว่าในวันที่ 20 ที่จะถึงเดือนนี้จะปล่อย EPYC 7000 series ออกมาพร้อมด้วย Naples platform.

ที่มาเครดิต/Sources:

http://wccftech.com/amd-epyc-7000-series-server-cpu-family-specifications-price-performance-leak/

Related articles

Extreme History: ATi เคยชนะ NVIDIA ด้วยนะ รู้หรือไม่ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้น !!

ตลอดเวลา 20 ปี การ์ดจอ NVIDIA ครองส่วนแบ่งการตลาดการ์ดจอมาโดยตลอด เราเห็นจากกราฟได้เลยว่าค่ายแดง AMD/ATi ไม่สามารถสู้ได้เลย แต่ถ้าย้อนกลับไปช่วงต้นปี...

รีวิวสอบ CompTIA CySA+ เกือบหลับแต่กลับมาได้ พร้อมแชร์แหล่งเรียนรู้ ใครอยากสอบต้องดู

ก่อนหน้านี้ผมเคยสอบ CompTIA Security+ ไปแล้ว (ย้อนอ่านได้ที่ ลิงก์นี้) ด้วยความที่สนใจสาย Blue Team...

การเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรองสำหรับ iPhone 16

การใช้งาน iPhone 16 ที่หลากหลาย ทั้งการเดินทางไกล เที่ยวต่างประเทศ วิ่งเทรล เดินป่า หรือใช้งานในออฟฟิศและชีวิตประจำวัน...

ADATA และ XPG ร่วมมือกันขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Unite for Victory รวมใจเพื่อชัยชนะ”

บริษัท ADATA เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำแบรนด์ด้านหน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล พร้อมด้วยแบรนด์เกมมิ่ง XPG ยินดีประกาศการจัดสัมมนาคู่ค้า...

[HOW TO] เช็กก่อนใช้ไฟล์น่าสงสัยติดไวรัส ฟรี! ด้วยเว็บไซต์ Virustotal

เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยประสบพบเจอกับการถูกแฮ็ก Facebook หรืออีเมล โดยมีต้นตอมาจากการโหลดโปรแกรมเถื่อน หรือมีไฟล์ติดไวรัสแถมมาในเครื่อง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเช็กไฟล์นั้นได้ และรู้ด้วยว่าไฟล์ติดไวรัสพวกนั้นทำอันตรายอะไรกับคอมเราได้บ้าง วันนี้แอดมีเว็บไซต์เช็กไฟล์ไวรัสมาแนะนำ นั่นคือ www.virustotal.com...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า