Intel® Core™ processors (14th Gen) และการ์ดจอ Intel® Arc™ graphics คอมโบสุดคุ้ม ตอบโจทย์ทั้งการเล่นเกมและการทำงาน

เวลาที่เราจะซื้อคอมพิวเตอร์สัก 1 เครื่อง หลาย ๆ คนมักจะคาดหวังประสิทธิภาพที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่เรื่องการเล่นเกมแต่ยังรวมถึงการทำงาน เช่น การตัดต่อวิดีโอ, งานกราฟิก หรือการไลฟ์สตรีม เป็นต้น

ซึ่งแน่นอนว่าร้านคอมมักแนะนำให้เลือกซีพียูและการ์ดจอแยกจาก Intel แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? วันนี้แอดจะพาไปดูว่าซีพียู Intel® Core™ processors (14th Gen) รุ่นใหม่ล่าสุด และการ์ดจอ Intel® Arc™ graphics มีจุดเด่นอะไรบ้างที่ทำให้คอมทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ

Intel® Core™ processors (14th Gen) ซีพียูที่เร็ว แรง ที่สุดในโลก

โครงสร้างใหม่ ขุมพลังความแรง

Intel ยกเครื่องโครงสร้างภายในของซีพียูใหม่ทั้งหมด โดยมาพร้อมแกนประมวลผล 2 ประเภท ให้ทำงานประสานกันอย่างลดตัว ทั้งในด้านความแรงและการจัดการพลังงาน แบ่งออกเป็น Performance Core (P-Core) และ Efficient Core (E-Core) มีคุณสมบัติ ดังนี้

– Performance Core (P-Core) >> แกนใหญ่ เน้นประสิทธิภาพ เหมาะกับการประมวลผลหนัก ๆ เช่น การเล่นเกม, งานตัดต่อ เป็นต้น และรองรับ Hyper-threading

– Efficient Core (E-Core) >> แกนเล็ก จิ๋วแต่แจ๋ว เน้นทำงานเบา ๆ การประมวลผลไม่หนัก ช่วยให้คอมไม่ร้อนมากจนเกินไป แต่เมื่อต้องการการประมวลผลขั้นสุดก็สามารถทำงานร่วมกับแกนใหญ่ได้อย่างลงตัว

เล่นเกมและสตรีมได้แรงกว่าที่เคย

Intel ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในซีพียูเพื่อการเล่นเกมตลอดกาล และในIntel® Core™ processors (14th Gen) ถูกปรับความแรงเพิ่มขึ้น 18% บูสต์ Clock Speed ได้สูงสุด 6.0 GHz จากการทดสอบประสิทธิภาพในการเล่นเกมฟอร์มยักษ์ ได้ผลลัพธ์ดังนี้

– ได้ FPS มากขึ้นถึง 23% ในเกม Starfield เมื่อใช้ Intel® Core™ i9-14900K

– ได้ FPS มากขึ้นถึง 22% ในเกม Total War: Warhammer III

นอกจากเล่นเกมได้แรงขึ้นแล้ว การไลฟ์สตรีมเกมก็ทำได้ดีไม่แพ้กัน ใน Intel® Core™ processors (14th Gen) มาพร้อมแกนประมวลผลสูงสุดถึง 24 Cores/32 Threads จำนวนแกนขนาดนี้คือเวิร์กสเตชันขนาดย่อม ๆ เลยนะครับ ดังนั้น ใช้ไลฟ์สตรีมเกมได้สบาย ๆ ไม่ต้องกังวลว่าการเล่นเกมจะดึงพลังซีพียูไปในระหว่างการสตรีม เพราะแกนประมวลผลเรามีให้ใช้เกินพอเลยแหละ

อัปเกรดการเชื่อมต่อแรงขึ้นอีกขั้น

ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายผ่าน Wi-Fi กันมากขึ้น ซึ่ง Intel® Core™ processors (14th Gen) รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 7 ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 5.8 Gbps (แรงกว่า Wi-Fi 6 ราว 2.4 เท่า) รวมถึงรองรับมาตรฐาน Bluetooth 5.4 ด้วย ส่วนใครที่ใช้ Wi-Fi 6/6E ทาง Intel ก็ยังใช้งานได้เช่นกันครับ

และสำหรับสายทำงานนั้น การส่งข้อมูลปริมาณมาก ๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่ง Intel® Core™ processors (14th Gen) รองรับการเชื่อมต่อพอร์ต Thunderbolt เวอร์ชันล่าสุด ที่ให้ความเร็วในถ่ายโอนข้อมูลสูงสุดถึง 40 Gbps เลยทีเดียว

 

Intel® Arc™ graphics การ์ดจอเพื่อการเล่นเกมและการทำงาน

ถ้าจะใช้คำว่า “เป็นทุกอย่างให้คุณแล้ว” ก็คงไม่ผิดนัก เพราะ Intel® Arc™ graphics ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดตัว แถมยังมีราคาคุ้มค่า ไม่ว่าจะสายเกมมิ่งหรือสายครีเอเตอร์ การ์ดจอ Intel® Arc™ graphics ถือว่าตอบโจทย์การทำงานได้ทั้งสองสายเลยครับ

จุดเด่นของ Intel® Arc™ graphics

Intel Xe Super Sampling >> เรียกสั้น ๆ ว่า Intel XeSS เป็นฟีเจอร์อัปสเกลภาพเกม ให้สามารถเรนเดอร์จากภาพความละเอียดต่ำให้กลายเป็นภาพความละเอียดสูงโดยไม่เสียเฟรมเรต

Ray Tracing >> ฟีเจอร์ช่วยเรนเดอร์แสงและเงาในเกมให้สมจริงมากขึ้น

Variable Rate Shading/Mesh Shading >> มาตรฐานการเรนเดอร์เกมยุคใหม่ รับประกันอนาคตที่สดใสของการเล่นเกม

Intel Deep Link >> เมื่อจับคู่ซีพียูและการ์ดจอจาก Intel รุ่นที่รองรับ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลได้อย่างเต็มที่

Intel Xe Media Engine >> ชุดคำสั่งที่รองรับการทำงานของกลุ่มครีเอเตอร์ ทั้งการตัดต่อวิดีโอ, ภาพนิ่ง, สตรีมมิ่ง หรือการทำงาน 3D (AV1 / HEVC / H265 / H264 / VP9) โดยสามารถใช้งานได้ตั้งแต่การ์ดจอรุ่นเล็กอย่าง Intel® Arc™ A380 ในราคาเริ่มต้นเพียง 6,000 บาท !!

การ์ดจอ Intel® Arc™ graphics มีรุ่นใดบ้าง

การ์ดจอแยกของ Intel จะมีทั้งรุ่นในโน้ตบุ๊กและเดสก์ท็อป แบ่งออกเป็น 3 ซีรีส์ ได้แก่ Intel® Arc™ A3xx, A5xx และ A7xx Series โดยรุ่นที่วางขายในไทยจะมีIntel® Arc™ A380, A750 และ A770 ครับ ซึ่งมีแบรนด์การ์ดจอที่ทำการ์ดออกมาขาย ดังนี้

  • การ์ดจอ ASRock VGA Intel® Arc™ A770 Phantom Gaming D OC 8GB GDDR6 256-bit ราคา 13,900 บาท
  • การ์ดจอ ASRock VGAIntel® Arc™ A750 Challenger D OC 8GB GDDR6 256-bit ราคา 11,500 บาท
  • การ์ดจอ Intel® Arc™ A750 Graphics 8GB GDDR6 256-bit ราคา 9,290 บาท
  • การ์ดจอ ASRock VGA Intel® Arc™ A380 Challenger ITX OC 6GB GDDR6 96-bit ราคา 5,690 บาท

* ราคาอาจแตกต่างกันไปตามโปรโมชันและร้านที่จัดจำหน่าย

นี่ล่ะครับจุดเด่นของคอมที่เลือกใช้ซีพียูและการ์ดจอจาก Intel เชื่อว่ามีไม่น้อยที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเน้นสายเกมมิ่งจ๋า ๆ หรือเน้นทำงาน ถ้าจัดเซต Intel ทั้งชุด บอกเลยว่าได้ทั้งเล่นเกมและทำงานเลยครับ

และตอนนี้ใกล้ถึงงานคอมมาร์ตแล้ว เรามีโปรโมชันพิเศษเมื่อซื้อคอมที่ใช้ซีพียู Intel® Core™ processors ทุกรุ่นภายในงาน หรือใครอยากทดลองเล่นก่อนตัดสินใจซื้อ ก็เข้ามาได้เลยที่งานคอมมาร์ต วันที่ 30 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคมนี้ ที่ไบเทค บางนา Hall 98-99 บูธ Intel (B4/1)

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า