แนะนำ 5 โปรแกรมเช็คสเปค PC ยอดนิยมที่คุณควรมีติดเครื่อง

ด้วยความที่หลายคนชื่นชอบการเปิด On-Screen Display (OSD) เพื่อดูความแรงของสเปคคอมที่จะมาใหม่ บทความในวันนี้ผมจัดมาให้เลยโปรแกรมวิเคราะห์สเปค สำหรับเครื่อง Windows 10 PC

CPU-Z

โปรแกรมสุดมาตรฐานที่อยู่คู่คอมมานานกว่า 20 ปี สามารถดูข้อมูลได้ทั้ง ซีพียู, แคช, เมนบอร์ด, แรม, การ์ดจอ แถมยังมีส่วนให้ทำ Benchmark และ Stress test สำหรับซีพียูอีกด้วย

ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้นะครับคือการดูข้อมูลซีพียู, ดูรุ่นเมนบอร์ดและไบออสในหน้า Mainboard, ดูบัสแรมและค่า CL ปัจจุบันหลังการปรับ XMP ในหน้า Memory (บัสแรมในส่วน Frequency อย่าลืมเอาคูณ 2 ด้วยนะ) และทำ Benchmark และ Stress test เพื่อเทียบความแรงซีพียูแบบพื้นฐาน

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.cpuid.com/softwares/cpu-z.html

GPU-Z

อันนี้จะคล้าย ๆ กับ CPU-Z เพียงแต่มันใช้ดูสเปคของการ์ดจอเสียมากกว่า ภายในโปรแกรมจะประกอบไปด้วยการให้ข้อมูลของการ์ดจอ, การวัดเซนเซอร์การทำงาน และรายละเอียดเชิงลึก นอกจากนี้ยังสามารถทำ Stress test ได้อีกเล็กน้อย (แต่ไม่ค่อยนิยมสักเท่าไรนัก)

ทีนี้สำหรับคนที่ซื้อการ์ดจอราคาถูกจากอินเทอร์เน็ต แล้วกลัวว่าจะได้การ์ดจอของปลอมนะครับ ตัวโปรแกรม GPU-Z จะมีฟังก์ชันตรวจจับการ์ดจอย้อมแมว ที่แบบว่าเอาการ์ดรุ่นเก่าสเปคเน่า ๆ มาลงไบออสรุ่นใหม่หลอกไดรเวอร์ หากเป็นการ์ดจอของปลอมจริง GPU-Z จะเตือนดังภาพด้านล่างนี้

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.techpowerup.com/gpuz/

ฝากนิดนึงนะครับ สำหรับใครที่ดาวน์โหลด CPU-Z และ GPU-Z จากเว็บฝากไฟล์ของไทย อย่าลืมอัปเดตโปรแกรมหลังดาวน์โหลดด้วยนะ เดี๋ยวเจอปัญหาโปรแกรมเก่าเกินแล้วมันไม่รู้จักอุปกรณ์ใหม่ ๆ จะบ่นว่าอุปกรณ์ของปลอมกันวุ่นไปหมด

HWinfo

โปรแกรมเช็คสเปคครอบจักรวาลอีกหนึ่งตัว จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ

System summary – หน้าสรุปสเปคโดยรวม

Full report – หน้ารายงานข้อมูลข้องอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในเครื่องเรา คล้ายการเปิด Device management ใน Windows แต่ให้รายละเอียดที่อ่านง่ายกว่า

Active sensor – รวบรวมข้อมูลของเซนเซอร์จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งซีพียู, การ์ดจอ, เมนบอร์ด, แรม, พัดลม, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและอื่น ๆ สรุปรวมยาวลงมาเป็นลิสต์ให้เราได้ดูการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.hwinfo.com/

HWMonitor

เจ้าตัวนี้ทำออกมามีหน้าที่เดียวคือ การตรวจจับเซนเซอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งซีพียู, การ์ดจอ, เมนบอร์ด, แรม, พัดลม, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและอื่น ๆ เหมือนถอดตัว Active sensor ใน HWinfo มาอีกทีครับ

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.cpuid.com/softwares/hwmonitor.html

AIDA64

สุดท้ายคือโปรแกรมที่ผมและพี่นพใช้กันบ่อย ๆ คือ AIDA64 มันจะมีความคล้ายกับ HWinfo เลย แต่แตกต่างกันที่ในส่วนของ AIDA64 จะมีมาพร้อม Benchmark ในตัว ซึ่งสามารถทดสอบได้ทั้ง ความเร็ว HDD/SSD, ความเร็วของแรมและแคช, ความแรงของการ์ดจอ รวมถึงความเสถียรของระบบที่เราจะเห็นพี่นพใช้บ่อย ๆ เพื่อทดสอบระบบหลัง OC

ทีนี้ข้อจำกัดสำคัญเลยของ AIDA64 คือ มันไม่ฟรี ในตอนแรกคุณจะสามารถใช้งานได้ฟรี 30 วัน หลังจากนั้นจะถูกปิดกั้นการมองเห็นข้อมูลบางส่วน หรือบางคนอาจจะเจอข้อความ “Trial version” ปิดกั้นการมองเห็นข้อมูล (จนบางคนมาฟ้องผมว่าอุปกรณ์เสีย ซึ่งจริง ๆ มันไม่ใช่นะ มันแปลว่าเวอร์ชันทดลอง) แล้วค่าใช้จ่ายซื้อขาดก็ค่อนข้างแพงคือ $39.95 (ราว 1,300 บาท) ใช้ได้ 3 เครื่อง เอาเป็นว่าถ้าใครจำเป็นต้องใช้ตัวเต็มจริง ๆ อาจจะหารกันซื้อ 3 คน ตกคนละ 433 บาทครับ

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.aida64.com/downloads/ZWMwYzE5OWQ=

ของแถม MSI Afterburner

สุดยอดโปรแกรมตรวจจับอุปกรณ์ขณะเล่นเกมที่สร้างความปวดหัวให้กับชาว Extreme IT มาค่อนข้างเยอะ กับคำถาม “ร้อนไหม”, “ทำไมได้เปอร์เซ็นต์แค่นี้” และอื่น ๆ อีกมากมาย เจ้าตัวนี้แหละ เพื่อน ๆ จะสามารถเปิดการตรวจจับการทำงานของซีพียู, การ์ดจอ, แรม, แคช หรือการใช้ดิสก์ในระหว่างเล่นเกมได้

จริง ๆ ผมว่ามันมีประโยชน์นะ ในแง่การวิเคราะห์ FPS และหาความผิดปกติของอุปกรณ์กรณีที่เล่นเกมแล้วกระตุก แต่ถ้ามันเล่นลื่น ๆ แล้ว อย่าไปเปิดมันเลย พลีสสส

เพื่อน ๆ สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ https://www.msi.com/page/afterburner

เอาล่ะที่นี้ใครสนใจก็ไปตามหาดาวน์โหลดกันมาได้เลยนะครับ ส่วนในครั้งหน้าผมจะพาไปดูโปรแกรมสำหรับทำ Benchmark ค้นหาความแรง PC ของเพื่อน ๆ กัน

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า