ทดสอบ “ชุดน้ำ vs ฮีตซิงก์ลม” กับ Ryzen 9 7950X คุมความร้อนไหวหรือไม่ ??

AMD Ryzen 7000 Series ซีพียูรุ่นใหม่ที่มาพร้อมความแรงแบบก้าวกระโดด พร้อมเปลี่ยนไปใช้โหนดการผลิตที่มีขนาดเล็กลง ช่วยให้ประหยัดพลังงานได้มากขึ้น แต่เนื่องจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นด้วยส่งผลให้ซีพียูร้อนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะตัวท็อปอย่าง Ryzen 9 7950X ครับ

ดังนั้น ในบทความนี้แอดจะพาไปดูผลทดสอบเทียบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ระบายความร้อน ด้วยชุดน้ำ, ฮีตซิงก์ลมพรีเมียม และฮีตซิงก์ทั่วไป ว่าจะสามารถระบายความร้อนได้ดีแค่ไหนจากทาง Techpowerup ไปดูกันเลยครับ

สำหรับอุปกรณ์ความร้อนที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ Arctic Liquid Freezer II 420 mm ชุดน้ำปิด, Noctua NH-U14S ฮีตซิงก์ลมพรีเมียม และ AMD Wraith Spire ตัวแทนของฮีตซิงก์ทั่วไป ส่วนการทดสอบจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มด้าน Workstation จะมีโปรแกรม Blender, Cinebench, Visual Studio C++ Compile, Adobe Photoshop และ MP3 Encode ส่วนกลุ่ม Gaming จะมีเกม Counter-Strike Global Offensive, Cyberpunk 2077, DOOM Eternal และ Far Cry 6

ความร้อน

ในภาพรวมความร้อนของซีพียู Ryzen 9 7950X ตัวซีพียูจะพยายามจำกัดให้ไม่เกินที่ 95 องศาเซลเซียส ซึ่งปรากฏว่า ในการเล่นเกมนั้นชุดน้ำปิดจะลดความร้อนได้ดีที่สุด ในขณะที่ Noctua รอบพัดลมต่ำ (20%) และ Wraith Spire โดนอัดเต็มที่ 95 องศาเซลเซียสครับ สำหรับการทดสอบด้าน Workstation นั้น ยังไง ๆ ซีพียูก็จะถูกรีดประสิทธิภาพออกมาแบบสุด ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น มันจึงแตะที่ 95 องศาเซลเซียสทุกอุปกรณ์ระบายความร้อน

 

ความเร็ว

ในด้าน CPU Scaling จะดูการไต่ Clock speed ในอุปกรณ์ระบายความร้อนแต่ละตัว รวมถึงในจำนวน Thread การประมวลผลที่แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่า Ryzen 7000 คราวนี้สามารถคงระดับของความเร็วใส่ Single-thread ได้ดีมาก กราฟเพิ่งจะตกเมื่อใช้ฮีตซิงก์ลม AMD Wraith Spire

แต่ถ้าใช้งานทั้ง 32-thread ชุดน้ำปิดและฮีตซิงก์ลมพรีเมียมที่รอบพัดลม 40% จะช่วยรักษาระดับความเร็ว 5.0 GHz ได้ ถ้าหลังจากนั้นก็จะร่วงอยู่ที่ 4 GHz ลงไปครับ

 

ความแรง

ด้านประสิทธิภาพความแรงจะให้ชุดน้ำเป็นตัวหลัก แล้วนำอุปกรณ์ระบายความร้อนอื่นเป็นตัวเทียบ ในแผนภูมิแรกเป็นการเทียบระหว่างชุดน้ำกับฮีตซิงก์พรีเมียม จะเห็นว่าในการทำงานด้าน Workstation ด้วยฮตซิงก์พรีเมียม ความแรงจะลดลงไปตามรอบพัดลมที่ต่ำลง แต่ถ้าเปิดรอบแรง ๆ จนสุด ก็จะได้ประสิทธิภาพไม่ต่างจากชุดน้ำเท่าไร

ส่วนการเล่นเกมนั้น โดยรวมไม่ค่อยต่างกันนะครับสำหรับชุดน้ำกับฮีตซิงก์พรีเมียม แต่จะมีแค่ Far Cry 6 720p ที่จะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจน

ถัดมาเป็นชุดน้ำกับฮีตซิงก์ทั่วไป ด้าน Workstation นั้นแตกต่างกันพอสมควร ยิ่งรอบพัดลมต่ำยิ่งทำความแรงได้น้อย ส่วนการเล่นเกม จะเห็นว่าถ้าเลือกใช้ความละเอียดสูง ๆ ภาระส่วนใหญ่ในการประมวลผลจะตกอยู่กับการ์ดจอ แต่ถ้าความละเอียดต่ำ (ซึ่งนิยมใช้เวลาจะทดสอบประสิทธิภาพของซีพียูล่วน ๆ ในการเล่นเกม) จะพบว่าฮีตซิงก์ทั่วไปจะด้อยกว่าชุดน้ำราว 10%

ดังนั้น ข้อสรุปในวันนี้ ถ้าอยากจะจัดซีพียูตัวแรงอย่าง Ryzen 9 7950X หรือ Ryzen 9 7900X ก็แนะนำให้ซื้อชุดน้ำปิดจะอุ่นใจกว่า (แถมอาจจะมีราคาใกล้เคียงกับฮีตซิงก์พรีเมียมดี ๆ สักตัวเลยก็ได้นะ) หากใช้ฮีตซิงก์ลมแบบทั่วไป ประสิทธิภาพการระบายความร้อนอาจจะไม่ดีเท่า และมีผลต่อความแรงของซีพียูด้วยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Techpowerup

Related articles

สรุปงาน CES 2025 – ปีนี้ AMD เปิดตัวอะไรเด็ด ๆ บ้างไปดูกันเล้ยยย !!

งาน CES 2025 ปีนี้ หลายคนให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอยากเห็นเทคโนโลยีน่าตื่นเต้นจากหลาย ๆ ค่าย และในบทความนี้แอดจะพาเพื่อน...

ดูดวงปีใหม่ 2025 แบบฉบับคน IT ด้วย AI ทั้งอ่านไพ่ทาโรต์และวิเคราะห์ Birth Chart

อีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะปีใหม่แล้ว วันนี้แอดมีเรื่องน่าสนุก ๆ และหลายคนน่าจะชื่นชอบมาฝาก คือ การดูดวง 55555 แต่สำหรับชาว Extreme...

พลังดิบยังจำเป็นอยู่ไหม? เมื่อการ์ดจอยุคใหม่ใช้เทคโนโลยี AI เพิ่มประสิทธิภาพกันมากขึ้น

ช่วงหลัง ๆ นี้เราพูดถึงเรื่อง Upscaling กันมากขึ้น ด้วยการมาถึงของ AI ที่ช่วยเพิ่มความละเอียดให้กราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในวงการคอมพิวเตอร์ที่...

รู้จักซีรีส์ของโน้ตบุ๊ก ASUS: Strix / Zephyrus / Flow / TUF ต่างกันยังไง

ใกล้สิ้นปีน่าจะมีของลดราคากันเยอะนะครับ และใครที่กำลังจะซื้อโน้ตบุ๊ก ASUS เครื่องใหม่มาเล่นเกม แต่มันมีหลายรุ่นเหลือเกิน ทั้ง ROG Strix, ROG...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า