หนึ่งในภารกิจสำคัญ จากความร่วมมือระหว่าง AISและ GCที่มุ่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลยกระดับและสร้างต้นแบบองค์กรที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในทุกมิติตามแนวคิด ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลคือการสร้างความตระหนักรู้ประชาชนเข้าใจถึงการบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้อง ผ่านโครงการ Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ ที่ได้ชวนนิสิต นักศึกษา มหาวิทยาลัยชั้นนำ 11 แห่งจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าร่วมการแข่งขันเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste + และพลาสติกใช้แล้วผ่าน GC YOUเทิร์นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จากการแข่งขันทำให้โครงการฯ สามารถรวบรวมรวมพลาสติกใช้แล้วและขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้มากกว่า 6 แสนชิ้น ภายในระยะเวลาเพียงแค่2 เดือนเท่านั้น โดยน้องๆ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ชนะ คว้าทุนการศึกษาและถ้วยรางวัล Upcycling ที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วไปครองได้สำเร็จ
นางสายชล ทรัพย์มากอุดมหัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และธุรกิจสัมพันธ์ AISกล่าวว่า “ภายใต้นโยบายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประเด็นเรื่อง สิ่งแวดล้อม คืออีกหนึ่งภารกิจสำคัญที่เราให้ความสำคัญ ผ่านโครงการคนไทยไร้ E-Wasteที่วันนี้เราได้สร้างพลังเครือข่ายของ Green Partnership เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน จนนำมาสู่การเป็น HUB of e-waste หรือศูนย์กลางด้านองค์ความรู้และจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ซึ่งการทำงานร่วมกับ GC ในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญที่เราจะร่วมกันส่งต่อพลังไปยังเครือข่ายกลุ่มมหาวิทยาลัยให้มีความเข้าใจจนสามารถนำไปบริหารจัดการทั้งพลาสติกใช้แล้ว และ E- Waste ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพราะภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือนจากการจัดโครงการฯน้องๆ จากมหาวิทยาลัยต่างๆ สามารถเก็บรวมรวมขยะให้เข้าสู่กระบวนการมากถึง 6 แสนชิ้น นับเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงพลังของการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่จะเข้ามาใช้ศักยภาพร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน”
ขณะที่ ดร.ชญาน์จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืน บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GCกล่าวว่า “GC และ AIS ได้ร่วมดำเนินโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” ในรูปแบบการแข่งขันและได้รับเกียรติจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ11 แห่ง ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการนำพลาสติกใช้แล้วและขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เรามุ่งหวังที่จะเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมของอาจารย์ นิสิต-นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ให้สามารถนำแนวคิดด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นรูปธรรม ความร่วมมือในครั้งนี้สามารถลดปริมาณพลาสติกใช้แล้วประเภทขวด PET ใส ไปสู่หลุมฝังกลบได้กว่า 598,043 ขวด ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 12.33ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าหรือเท่ากับปริมาณการปลูกต้นไม้ 1,298 ต้น สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเก็บกลับเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธีได้ถึง 5,796ชิ้นต้องขอขอบคุณทั้ง 11 มหาวิทยาลัยและแสดงความยินดีกับผู้ชนะ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป”
สำหรับโครงการ Green University ทิ้งเทิร์น ให้โลกจำ เป็นกิจกรรมการแข่งขันเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste + และพลาสติกใช้แล้วผ่าน GC YOUเทิร์น ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีมหาวิทยาลัย11 แห่งเข้าร่วมโครงการฯ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
น้องๆจากทุกมหาวิทยาลัยได้ลงไปส่งต่อจิตสำนึกผ่านการสื่อสาร การทำกิจกรรมภายใน ร่วมกับ บุคลากร หรือแม้แต่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้เห็นถึงปัญหาหากขยะไม่ได้เข้าสู่กระบวนการจัดการที่ถูกต้อง งานนี้น้องๆ ทั้ง 11 มหาวิทยาลัยสามารถรวมพลาสติกใช้แล้วและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้ถึง 603,839ชิ้น ซึ่งจะถูกนำไปรีไซเคิลและเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีตามมาตรฐานที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สามารถรวบรวมพลาสติกใช้แล้วและขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้สูงสุด คว้าทุนการศึกษาและพร้อมถ้วยรางวัล Upcycling ที่ผลิตจากพลาสติกใช้แล้วไปครองได้สำเร็จ
สามารถติดตามข้อมูลโครงการและภาพความประทับใจได้ทางGC YOUเทิร์นFacebook
You must be logged in to post a comment.