โดยปรกติ, การทำ overclock และปรับปรุงใส่ผงชูรสสักนิดเพื่อให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพนั้นก็สามารถทำกันได้. ใน AMD Blog ได้เปิดเผยเกล็ดเล็กๆอันนี้มาให้ลองดูกัน, อย่างแรกต้องมี motherboard BIOS รุ่นล่าสุด, เอาตัวช่วยการติดตั้งระบบปฏิบัตการ์ณออกหรือ clean OS installs help, ซื้อ memory ที่รองรับความเร็วได้สูงๆและดีเลย์น้อยหรือ latency (ต้องรองรับการใช้งานร่วมได้ดีกับเมนบอร์ด) และเปลี่ยน Windows 10 power plan.
AMD ยังได้แชร์ผลลัพท์ออกมาให้ดูหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงต่างๆและสามารถไปเพิ่มประสิทธิภาพในการเล่นเกมส์ระดับ 1080p. อย่างที่เราได้เกริ่นเอาไว้เบื้องต้น, ตัวที่จะมีผลมากที่สุดก็คือตัวซอร์ฟแวร์และการปรับแต่ง memory. แต่ overclocking นั้นแน่นอนกว่า:
AMD Ryzen™ processor นั้นเป็นอะไรที่ใหม่หมดจดและเป็นหลักแนวคิดใหม่รวมถึงโครงสร้างใหม่ที่เกมส์เมอร์ทั้งหลายอาจจะไม่ชินกับมันมาก่อน, และหากมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแบบอย่างที่เคยทำกันมาอาจจะทำให้ไม่ดีเท่าที่ควรและไม่เสถียรเพียงพอ. ในบทความนี้เราได้ลำดับขั้นตอนออกมาเพื่อให้ผู้ที่เป็นเจ้าได้ทำตามและสามารถรีดประสิทธิภาพออกมาได้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ แน่นอนว่าต้องเสถียรและไม่แย่ไปกว่าเดิมโดยเฉพาะพีซีเครื่องใหม่ของคุณ.
อัพเดท Firmware
ต้องแน่ใจว่าคุณนั้นใช้ UEFI ROM รุ่นล่าสุดกับเมนบอร์ดของคุณ.
- สำหรับ ROMs รุ่นล่าสุดแน่นอนต้องรองรับการใช้งานร่วมกับ Windows 10 อยู่แล้วในด้านประสิทธิภาพของ application.
- ROMs ที่ใหม่กว่าสามารถให้ฟังค์ชั่นที่ดีกว่า/ให้เมนบอร์ดทำงานอย่างเสถียรและตัวเลือกใน UEFI menu options มีครบเครื่องมากขึ้น.
เกี่ยวกับ Memory
AMD Ryzen processors นั้นอยากจะกล่าวตรงนี้ว่ามันชอบ RAM ที่ครบ/แรง/เร็ว เสียมากกว่า, แต่ก็ต้องแน่ใจว่าคุณเซ็ตอัพมันได้ถูกต้องก่อนที่จะลงมือกระทำขั้นตอนต่อไป.
- AMD Ryzen™ processor นั้นมันไม่มี memory dividers (ตัวหาร-เช่น หาก ram เซ็ตมาที่ 333 และ cpu fsb เป็น 666, ฉนั้นค่าเฉลี่ยหรือ ratio ก็จะเป็น 1:2) สำหรับ DDR4-3000 หรือ DDR4-3400. หากผู้ใช้จะเลือก memory clocks ที่สูงๆก็ควรหันไปหา 3200 หรือ 3500 MT/s.
- ร่านขาย Memory ส่วนใหญ๋มักจะมีเมนบอร์ดที่เรทเอาไว้กับ 32GB (4x8GB) kits ที่ 3200 MT/s มาให้เลือกอยู่พอสมควร.
- ต้องมั่นใจว่าคุณโปรแกรม BIOS timings ไว้อย่างที่แนะนำมาจากทางผู้ผลิต (CAS/tRCD/tRP/tRAS/tRC/CMD) และ voltages/แรงดัน ตาม DRAM packaging หรือจากโรงงาน.
- เพื่อให้มั่นใจและไม่ผิดพลาด, AMD Ryzen™ processor อาจจะเด้งกลับไปที่ DIMM’s JEDEC SPD หรือคาตัวเก่าที่เป็นมาตรฐานเดิม นั้นก็คือกลับไปที่“safe” timings นั้นเองหากการทำ overclock นั้นถูกสรุปเอาว่าไม่เสถียรหรือไม่ปลอดภัย. DIMMs ส่วนใหญ่แล้วจะถูกโปรแกรมเอาไว้และให้บู๊ธที่ DDR4-2133 หรือไม่นั้นก็ถูกกำหนดไว้โดย BIOS, และต้องมั่นใจว่าสิ่งที่คุณจะทำต่อไปสำหรับ overclock นั้นเป็นไปในอย่างที่คุณคาดการ์ณเอาไว้ก่อนที่จะทำการทดสอบประสิทธิภาพ. และควรที่จะใช้ CPU-Z ในวินดอร์เพื่อการยืนยัน.
- สำหรับความเร็วที่แรงกว่า DDR4-2667 ขึ้นไป, ต้องอ้างอิงหรือเทียบกับผู้ผลิตเมนบอร์ดเจ้านั้นๆกับ QVL list/Qualified Vendors List memory/รายชื่อที่ได้รับการยอมรับ. แต่ละเจ้าผู้ผลิตเมนบอร์ดจะมีความเร็วเฉพาะเจาะจงสำหรับรุ่นนั้นๆไม่ว่าจะเป็นทางด้าน speeds, modules, และขีดความสามารถ/capacities สำหรับเมนบอร์ด, และมันจะช่วยให้การเลือก memory นั้นกระทำได้ง่ายและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น (ไม่ใช่อันไหนสวยก็ยัดเข้าไป). ขอย้ำว่าเป็นสิ่งควรทำและสำคัญมากกับการนำมาเทียบเคียงกับรายชื่อเพื่อผลลัพท์ที่ดีที่สุดและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป.1
- ทางเรามีการทดลองและได้ผลลัพท์ที่ดีสำหรับความเร็วตั้งแต่ 2933, 3200, และ 3500 MT/s rates ที่ขนาด 16GB kits เป็นของ Samsung “B-die” memory chips. และยี่ห้อก็เป็นของ:
- Geil EVO X – GEX416GB3200C16DC [16-16-16-36 @ 1.35v]
- G.Skill Trident Z – F4-3200C16D-16GTZR [16-18-18-36 @ 1.35v]
- Corsair CMK16GX4M2B3200C16 VERSION 5.39 [16-18-18-36 @ 1.35v]
- ล่าสุด, ทางทีมพัฒนาของทาง AMDs ซึ่งยังคงทำงานอย่างไม่ย้อท้อสำหรับ AM4 platform ใหม่นี้, ทาง AMD จะเพิ่มตัวเลือกที่สามารถมารองรับการกระทำ overclocked memory configurations ด้วยกับตัว memory multipliers ที่สูงขึ้น. ทางเราจะอัพเดทถึงปัญหาและตัวเมนบอร์ดต่อไปเรื่อยๆ, ไม่ว่าจะเป็นสินค้าตัวไหนและแบรนด์ไหนที่จะเลือกเพื่อสามารถรองรับการใช้งานที่มีความเร็วให้ได้สูงขึ้นมากขึ้นกว่าปัจจุบันที่อยู่แค่ DDR4-3200 โดยที่ไม่ต้องไปยุ่งหรือปรับแต่ง refclk adjustments/reference clock. ต้องกล่าวว่าสำหรับ AMD Ryzen™ processors สามารถมอบประสิทธิภาพที่ดีในระดับ prosumer, workstation, และ gaming workloads, และการอัพเดทนี้จะไปเพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพที่พึงจะเป็นออกมาเพื่อให้กลุ่มที่ชอบเล่นของแรงๆนั้ทำ overclocked memory ได้สะดวกและราบรื่นขึ้น.
- ข้อมูลอย่างเป็นทางการของ AMD’s DRAM configurations ที่รองรับการใช้งานร่วมสามารถหาอ่านได้ด้านล่างนี้เพื่อการอ้างอิง:
ควรตรวจสอบเรื่อง Power Plan
ต้องแน่ใจว่า Windows 10 ถูกเซ็ตไปที่ High Performance power plan เพราะมันเป็นกุญแจที่สำคัญสองประเด็นด้วยกัน:
- Core Parking OFF ( คือการปิด core ที่ไม่ไช้ทำให้ cpu เย็นลง ประหยัดไฟขึ้น และ performance สูงขึ้นเนื่องจาก cache เกิดการ hit สูงขึ้น): Idle CPU cores จะทำงานทันทีสำหรับ thread scheduling. การกระทำเช่นนี้จะทำให้มีการใช้พลังงานที่ต่ำลง. และจะทำให้เกิด latency หรือดีเลย์มากยิ่งขึ้น หาก un-parking หรือไแกนที่ไม่ได้ปิดต้องรองรับปริมาณงานที่มามากหรือการประมวลผลที่แตกต่างและหลายประเภท.
- Fast frequency change/เปลี่ยนย่านความถี่: AMD Ryzen™ processor สามารถเปลี่ยน voltage/แรงดันและย่านความถี่ของมันเองภายใน 1ms โดย “Zen” architecture. ตรงกันข้าม, Balanced plan ( ให้ประสิทธิภาพ (Performance) การทำงานอย่างเต็มที่เมื่อคุณต้องการ แต่ประหยัดพลังงานเมื่อไม่ได้ใช้งานคอมพิวเตอร์) อาจจะใช้เวลามากกว่าสำหรับการเปลี่ยนแปลง voltage และfrequency เหตุเพราะ มีซอร์ฟแวร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยใน power state changes.
สำหรับตอนนี้ ทางเราแนะนำว่าสำหรับเกมส์และ applications ที่มีความซับซ้อนสูงอาจจะต้องพึ่งหรือเซ็ตไปที่ High Performance plan. และอาทิตย์แรกของเดือนเมษาที่จะถึงนี้ทาง AMD อาจจะมีตัวอัพเดทออกมาสำหรับ AMD Ryzen™ processors ที่สามารถเพื่มประสิทธิภาพทางด้าน Balanced plan (เกี่ยวกับพลังงานโดยตรง) เพื่อแก้ไขตรงจุดบกพร่องและให้สอดคล้องกับรุ่นที่จะใช้หรือ desktop PC.
ข้อควรสังเกตุและผลกระทบ
ต้องมั่นใจว่าจะไม่มีอุปกรณ์การตรวจสอบหรือตัวสังเกตุการ์ณมายุ่งเกี่ยวด้วยหากประสิทธิภาพยังเป็นหัวข้อที่จำเป็นหรือยังไม่ดีพอเช่น background CPU temperature/ตรวจจับอุณภูมิ/ หรือ frequency monitoring tools/ตรวจย่านความถี่. ซอร์ฟแวร์ที่วัดค่าเกี่ยวกับประสิทธิภาพหรือ Real-time performance measurement tools สามารถไปลดประสิทธิภาพได้ไม่มากก็น้อย, โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความละเอียดของมอนิเตอร์ที่ใช้นั้นเพิ่มขึ้น (>1 sample/sec).
Overclocking!
Overclocking เป็นการรีดประสิทธิภาพออกมาโดยที่ไม่ต้องหาซื้อมาเพิ่มเติมได้มาอย่างฟรีๆจากระบบตัวเดิม. เพราะเหตุนี้ AMD Ryzen processor ทุกตัวจึงมาในรูปแบบ unlocked สำหรับ overclocking.2
ยกตัวอย่างเช่น AMD Ryzen 7 1700 processor. มันมี base clock ที่ 3.0GHz, มีสอง-แกน boost clock ที่ 3.7GHz, และทุกแกน boost clock ที่ 3.1GHz, และ 2-core XFR clock ที่ 3.75GHz. มีหลายคนกล่าวว่า ทุกแกนนั้นสามารถ overclocks ได้ที่ประมาณ 3.9GHz, ซึ่งได้เพิ่มขึ้นถึง 25% มากกว่าประสิทธิภาพเดิมที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งใดๆของตัว CPU.
เอาทุกอย่างมายำรวมกัน
มาดูกันว่าหลังจากที่ได้ปรับแต่งทุกอย่างที่กล่าวมานั้นจะมีผลลัพท์เป็นอย่างไร, เรานำเอา Windows 10-ตัวล่าสุดใหม่แกะกล่องมาใช้เป็นพื้นฐานระบบพร้อมกับสเป็คดังต่อไปนี้:
- AMD Ryzen™ 7 1800X (8C16T/3.6-4.0GHz)
- 16GB G.Skill (2×8) DDR4-3200
- Clocked to 2133MT/s: 15-15-15-35-1t
- Clocked to 2933MT/s: 14-14-14-30-1t
- ASUS Crosshair VI Hero (5704 BIOS)
- 1x AMD Radeon™ RX 480 GPU (Radeon Software 17.2.1)
- Windows 10 Anniversary Update (Build 14393.10)
สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ ทางเราใส่เกมส์ F1™ 2016 เข้าไปในยังระบบและได้รู้ภายหลังว่าตัวเกมส์นั้นยังสร้าง CPU topology map (hardware_settings_config.xml/ความสามารถในการหาความสัมพันธ์และสร้างเป็น Map Topology เพื่อให้ผู้ดูแลเข้าใจโครงสร้างของระบบแอพพลิเคชั่น ทำให้การหาปัญหาของระบบว่าเกิดขึ้นที่ส่วนไหนสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น) หลังจากติดตั้งเกมส์เสร็จ. ไฟล์นี้สามารถบ่งบอกได้ว่าจะมีกี่แกนและ threads ใน system’s processor มาให้ใช้. ตัวไฟล์เซ็ตติ่งนี้จะอยู่ใน Steam™ Cloud และดูเหมือนจะถูกตรวจสอบทุกเครื่องพีซีที่ติดตั้ง F1™ 2016 เข้าไปจาก Steam account (แม้จะเป็นบัญชีเดียวกัน). สรุปได้ว่า: หากผู้ใช้นั้นมี 4-core processor แต่ไม่ใช่ SMT, และหากมีการใช้เกมส์นั้นซ้ำและนำไปติดตั้งกับ AMD Ryzen™ PC, ตัวเกมส์ก็ยังจะ re-sync หรือตรวจสอบอยู่ดีกับ cloud และเชื่อว่าระบบหรือฮาร์ดแวร์ที่ใส่เข้าไปก็ยังคงเป็น quad core CPU ตัวเก่าดังเดิมอยู่ดี.
จะมีก็เพียงเกมส์ที่ไม่เคยนำไปใช้หรือติดตั้งที่ไหนมาก่อนที่จะสามารถสร้างหรือมี topology map อันใหม่ที่สามารถบ่งบอกสถานะว่าสิ่งที่ใส่เข้าไปนั้นมันเป็นสถาปัตยกรรมตัวใหม่หรือ architecture ของ AMD Ryzen™ processor. เพราะฉนั้นสิ่งที่ควรทำอันแรกและตัวแรกที่เราได้สังเกตุเพื่อให้ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นสะอาดไร้ประวิติเก่าๆมาเจือปนก็คือ ทุกอย่างต้องใหม่หมดจริงๆเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าการประมวลผลการคำนวณที่สะอาดจริงๆ! แต่ก็ยังมีติดติ่งมาอีกนั้นแหละ. เรายังได้สังเกตุเห็นว่าสำหรับ topology map ตัวใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็ยังเห็น Ryzen™ เป็น 16-core processor, มากกว่าที่จะเป็น 8-core processor พร้อมด้วย 16 threads. ถึงกระนั้นก็ตาม, ประสิทธิภาพที่ได้มาก็ดีขึ้นหลังจากที่ได้การอัพเดทจากตัว topology map, และประสิทธิภาพก็เพิ่มขึ้นจากตรงนี้ไปอีกหลังจากเรามีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นจากที่กล่าวเอาไว้ด้านบนเข้าไปยังระบบทั้งหมด.
หลังจากทุกอย่างที่ทำกันแบบ-ต้องแก้ไขด้วยตัวเอง-ไม่ใช่ระบบทำ, เราได้ตั้งคำถามเอาไว้ว่า: “เราสามารถแก้ไขไฟล์ตัวนี้ได้หรือไม่?” คำตอบก็คือ-ได้! ขั้นตอนสุดท้าย, เราทำการแก้ไขหรือ configured F1™ 2016 ให้ไปใช้ 8 physical CPU cores/แกนจริงแทน, แทนที่จะเป็น 16 และมันก็หาเจอจนได้จาก default/ค่าแรกเริ่ม. เชื่อหรือไม่-ประสิทธิภาพกลับเพิ่มสูงขึ้นไปอีก! หลังจากที่พยายามมาถึงจุดนี้ทั้งหมดที่กล่าวมา, สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากเดิมมากถึง 35.53%.
ในภาพด้านล่างนี้จะสามารถอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นทั้งหมดทั้งวันที่เราได้ปรับแก้กันมา: configuration matters.
ที่มาเครดิต/Sources:
http://www.guru3d.com/news-story/amd-gives-pointers-on-how-to-improve-ryzen-1080p-game-performance,5.html
You must be logged in to post a comment.