Cloud Computing คือบริการระบบคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ที่ผู้ใช้จะสามารถมีคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์เจ๋ง ๆ เป็นของตนเองได้ โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เพียงแค่ติดต่อไปยังผู้ให้บริการเพื่อจัดสรรทรัพยากรตามที่ระบุ ระบบก็จะพร้อมใช้งานในเวลาเพียงไม่กี่นาที
รู้จัก Amazon Web Services (AWS) และ Amazon EC2
ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการระบบ Cloud อยู่หลายราย โดยมี Amazon Web Services (AWS) เป็นผู้นำในตลาด บริการที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Amazon Elastic Compute Cloud หรือ Amazon EC2 ซึ่งเป็นบริการ “คอมพิวเตอร์จำลอง” หรือ Virtual machine โดยระบบของ EC2 จะถูกแบ่งทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, SSD แม้กระทั่งการ์ดจอที่ใช้ในการประมวลผล ซึ่งถ้าใครเคยลงเล่นพวกอีมูเลเตอร์ต่าง ๆ จะรู้ดีว่านี่มันคือระบบ VMWare เลยนี่นา
ใช่แล้วครับ Amazon EC2 ใช้หลักการเดียวกันกับ VMWare โดยจะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ จัดแบ่งทรัพยาการให้หลายเป็นคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ อีกหลายเครื่อง เพื่อให้ลูกค้านำคอมพิวเตอร์จำลองนี้ไปใช้งานอย่างอื่น เช่น การทำเซิร์ฟเวอร์ในองค์กร หรือทำเซิร์ฟเวอร์เกม เป็นต้น
การที่ Amazon Web Services จะขึ้นเป็นผู้นำด้าน Cloud Computing ได้นั้น ต้องอาศัยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง ที่มีทรัพยากรมากพอจะรองรับผู้ใช้บริการจำนวนมากได้ และนั่นจึงเป็นเหตุให้ Amazon เลือกใช้ซีพียู AMD EPYC ซีพียูเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงพร้อมความคุ้มค่าเกินราคา !!
AMD EPYC คืออะไร?
หลาย ๆ คนอาจจะรู้จัก AMD ในฐานะซีพียูในตระกูล Ryzen/Threadripper แต่นั่นคือฮาร์ดแวร์สำหรับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป แต่ในตลาดเซิร์ฟเวอร์และ Data center นั้นก็มีซีพียูของตนเองเหมือนกัน โดยค่าย AMD ใช้ชื่อว่า EPYC พ้องเสียงกับคำว่า Epic ซึ่งแปลว่ามหากาพย์ บ่งบอกถึงความเจ๋ง ความเท่ และประสิทธิภาพอันทรงพลังของซีพียูตัวนี้ครับ
AMD EPYC ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบ System-on-Chip (SoC) ที่รวมเอาทั้งหน่วยประมวลผล, ระบบจัดการการเข้าออกของข้อมูล และระบบความปลอดภัยไว้ในชิปเดียวกัน จึงให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลสูง เหมาะกับงานที่มีเวิร์คโหลดเยอะ มีการเข้าออกข้อมูลจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา
ฟีเจอร์เด่นของ AMD EPYC
ปัจจุบันซีพียู EPYC รุ่นล่าสุดมีแกนประมวลผลสูงถึง 64 Cores ด้วยกระบวนการผลิตขนาด 7nm ทำให้สามารถเพิ่มความเร็วได้สูงสุดถึง 1.25 เท่า แต่ใช้พลังงานเพียงครึ่งหนึ่งในการทดสอบเดียวกัน ส่วนการรองรับด้านอื่น ๆ EPYC รองรับหน่วยความจำแรม DDR4 บัส 3200 MHz แบบ 8-Channel ได้สูงสุดถึง 4TB และที่สำคัญยังรองรับเลน PCIe 4.0 รุ่นใหม่ล่าสุดถึง 128 เลน !! เรียกได้ว่าประสิทธิภาพเหลือล้น ไม่ว่าจะแบ่งทรัพยากรให้กับระบบ Cloud มากแค่ไหน ผู้ใช้ก็สามารถใช้งานได้อย่างราบลื่นไม่มีสะดุด
ยังไม่หมดแค่นี้นะครับ เพราะ AMD EPYC ยังรองรับการเชื่อมต่อแบบ 2 ซีพียูในเครื่องเดียว เรียกว่า 2P configuration เนื่องจากตัวซีพียูจะมีเลน PCIe 4.0 เพื่อให้ซีพียูทั้ง 2 ตัวสามารถเชื่อมต่อและส่งข้อมูลหากันได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าเดิม EPYC จะมีแกนประมวลผลสูงสุดถึง 64 Cores/128 Threads แล้ว แต่เมื่อเชื่อมต่อกันแบบ 2P configuration จะได้แกนประมวลผลมากถึง 128 Cores/256 Threads !!
ด้านความปลอดภัย ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญของซีพียูในกลุ่มเซิร์ฟเวอร์และ Data center ซึ่งภายใน EPYC SoC แต่ละชุดจะมีหน่วยประมวลผลด้าน Security แยกออกมาโดยเฉพาะ ใช้ในการจัดการทำ Secure Boot Process เพื่อตรวจสอบเฟิร์มแวร์ต่างๆ ว่าเชื่อถือได้ก่อนใช้งาน อีกทั้งยังมี Memory Encryption เข้ารหัสข้อมูลบนแรม แยกสำหรับ Virtual machine แต่ละเครื่องเพื่อเสริมความปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่ให้แต่ละ SoC บนเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ต่างเครื่องกัน สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างปลอดภัย และรองรับการย้าย Virtual machine ข้ามเครื่องได้อย่างมั่นใจ โดยข้อมูลจะถูกเข้ารหัสตลอดเวลาด้วยที่ Key ลับเฉพาะ เพราะฉะนั้นผู้ใช้บริการ Amazon Web Services มั่นใจได้เลยว่าจะได้รับทั้งประสิทธิภาพและความปลอดภัย ในการใช้งาน Virtual machine อย่างแน่นอนครับ
ความคุ้มค่ามาเป็นอันดับ 1
จุดเด่นสำคัญที่ทำให้ Amazon เลือกใช้ซีพียู EPYC ในการขับเคลื่อนบริการ Amazon Web Services นอกเหนือจากประสิทธิภาพที่ดีแล้ว ยังมีเรื่องของความคุ้มค่าด้วย คุ้มค่าอย่างไรเดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟังครับ
ก่อนหน้านี้ในการออกแบบระบบของ AWS ทาง Amazon ได้เลือกใช้ซีพียู x86 จากค่ายอื่นที่มีแกนประมวลผลต่อ 1 ซีพียูไม่มาก ทำให้การออกแบบระบบที่ต้องการแกนประมวลผลสูง ๆ ในระดับ 32-48 Cores จะต้องใช้ซีพียูถึง 2 ตัวด้วยกัน ลองคิดดูว่าค่าใช้จ่ายจะมากขึ้นขนาดไหน ?
และเมื่อคุณสามารถใช้ซีพียูเพียงตัวเดียวได้ในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน มันก็ช่วยลดการใช้พลังงานลงได้อีกและเสียค่าไฟน้อยลง จากข้อมูลของ Amazon AWS เผยว่าเมื่อใช้ AMD EPYC แล้ว ทำให้เซิร์ฟเวอร์นั้นมีราคาถูกลงถึง 10% เลยทีเดียว
แต่การมาถึงของซีพียู AMD EPYC ซึ่งตัวท็อปสุดจะมีแกนประมวลผลมากถึง 64 Cores/128 Threads ทำให้ Amazon เลือกออกแบบระบบได้อย่างหลากหลายและคุ้มค่ากว่า ใช้ซีพียูเพียงแค่ตัวเดียวก็สามารถสร้างระบบได้เทียบเท่าซีพียู 2 ตัว แถมยังนำไปแบ่งทรัพยากรเพื่อสร้าง Virtual machine ได้หลาย ๆ เครื่องด้วยครับ
พูดถึงเรื่องทรัพยากรแล้วก็เป็นอีกจุดเด่นที่ผมได้กล่าวเอาไว้ข้างต้น เนื่องจากรองรับแรมขนาดสูงสุด 4TB จึงสามารถจัดสรรแรมส่วนนี้ไปยังผู้ใช้บริการได้ในจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเลน PCIe 4.0 มากถึง 128 เลน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อย่างหน่วยความจำ SSD และการ์ดจอเพื่อการประมวลผลเฉพาะด้าน ซึ่ง PCIe 4.0 นี้ ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพทางด้านความเร็วเหนือกว่า PCIe 3.0 เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพโดยรวมที่ผู้ใช้บริการจะได้รับก็จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้นจะเห็นได้ว่านี่คือมหากาพย์แห่งซีพียูเซิร์ฟเวอร์ในตำนานจาก AMD ที่มอบประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด พ่วงมาด้วยความคุ้มค่าที่ขนาดเจ้าตลาดด้าน Cloud Computing อย่าง Amazon Web Services ยังเลือกใช้ เพราะฉะนั้น มั่นใจได้เลยว่าเมื่อคุณได้สัมผัสกับประสบการณ์จาก EPYC แล้ว คุณจะต้องบอกว่ามันคือสุดยอดซีพียูเซิร์ฟเวอร์แห่งยุคเลยครับ
You must be logged in to post a comment.