ปลดล๊อก AMD Radeon RX 460 เพียงแค่แฟรช Bios 1 Click – จาก 896 ไปเป็น 1024 Stream Processors, แรงเพิ่ม 12.5%

ปลดล๊อก AMD Radeon RX 460 เพียงแค่แฟรช Bios 1 Click – จาก 896 ไปเป็น 1024 Stream Processors, แรงเพิ่ม 12.5%

ผู้ที่ใช้ Radeon RX 460 graphics card ตอนนี้มีข่าวดีมาเสนอ. ผู้เขียนบทความจาก overclocking.guide, der8auer, ได้กระทำปลดล็อคหรือ unlock การ์ดจอ Radeon RX 460, และมีประสิทธิภาพเพิ่มเติมแบบไม่ต้องเสียตังค์มาให้อัพเกรดกัน.

AMD Radeon RX 460 BIOS Unlock เพิ่มจำนวนแกนเป็น 1024 Stream Processors และประสิทธิภาพการบู๊ธเพิ่มขึ้นอีก 12.5%

Radeon RX 460 เป็นการ์ดจอเวอร์ชั่น desktop เพียงตัวเดียวที่มาจาก Polaris 11 GPU architecture. ตัวการ์ดจะมี 896 stream processors ซึ่งค่าการประมวลผลจะอยู่ที่ 2 TFLOPs. ทาง AMD ทำ clocked ชิปตัวนี้ที่ 1090 MHz core และ 1200 MHz boost clocks พกพา 2 GB GDDR5 model พร้อมด้วย 128-bus interface และทำ clock speeds 7 GHz และมี 112 GB/s bandwidth. RX 460 ยังมีอีกรุ่นที่เป็น 4 GB variants ซึ่งมีราคาที่สูงกว่าเวอร์ชั่น 2 GB.

และเนื่องจากตัวการ์ดนั้นแชร์ GCN 4.0 architecture เดียวกัน, เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ 2.8เท่าของทางด้านประสิทธิภาพ/perf per/ต่อwatt หากเทียบกับ GCN ในรุ่นที่แล้วเช่น Radeon R7 360. Radeon RX 460 มาพร้อม Display Port 1.3 / 1.4 HDR capabilities หรือความสามารถการรองรับ.

AMD Polaris GCN 4.0 GPU Lineup:

ด้วยการอัพเดท firmware อย่างง่ายๆ, ตัวการ์ดสามารถปลดล็อคได้หรือ unlocked เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพทางด้านกราฟฟิกหรือ shaders ได้ไม่ยาก. ในกรณีของ RX 460, ตัว stream processors สามารถเปลี่ยนจาก 896 ไปเป็น 1024. Polaris 11 GPU นี้โดยปรกติก็มีมาอยู่แล้ว 1024 stream processors เรียงกันแบบ 16 compute units. แต่ใน Radeon RX 460 มีเพียง 14 compute units เพื่อประโยชน์ทางด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น. หากใครก็แล้วแต่ที่อยากได้ประสิทธิภาพที่สูงมากขึ้นทางด้านกราฟฟิกย่อมที่จะถูกใจแน่นอน.

AMD Radeon RX 460 อัพเดท Firmware Update สามารถ Unlocks หรือปลดล็อคไปเป็น Polaris 11 Chip แบบเต็ม– และนี้คือผลที่ได้จากการเปลี่ยนแปลง

การ์ดที่ถูกปลดล็อคหรือ unlocked card สามารถได้จำนวนเพิ่มขึ้นอีก 128 ของ stream processors และอีก 8 TMUs ต่างหาก. ผลที่ได้ก็คือจะมีจำนวนทั้งหมด 64 TMUs และ 1024 stream processors. ประสิทธิภาพที่ได้มาก็อย่างที่เห็นในภาพด้านล่าง ได้เพิ่มมาอีก 12.5% แบบฟรีๆ.

จากการทดสอบการ์ดจอทั้งหลาย, ASUS Radeon RX 460 STRIX เพิ่มขึ้น 10% ในด้านประสิทธิภาพในเกมส์ Witcher 3 หากเทียบกับรุ่นที่ถูกล็อคเอาไว้. และผลก็เป็นแบบเดียวกันในบททดสอบ, 3DMark Firestrike ซึ่งเพิ่มขึ้นมาอีก 9% ในด้านประสิทธิภาพ.

วิธีปลดล็อค Radeon RX 460 Graphics Card

ทาง Overclocking.Guide ได้นำเสนอมาเพียงสองรุ่น, สำหรับ ASUS RX 460 STRIX OC และ Sapphire RX 460 Nitro OC สามารถกระทำได้โดยไม่มีปัญหาตามมา. แต่ถึงยังไง, ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะยังไงก็ไม่ได้กระทำมาจากโรงงาน เสี่ยงเอาเอง.

เตือน:  ปัญหาอาจจะเกิดขึ้นได้หากทำการล้างหรือ flashตัว BIOS จากการ์ดของคุณ. นอกเหนือไปจากนั้น ไม่แน่เสมอไปว่าการ์ดทุกตัวจะสามารถปลดล็อคได้และคุณอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อการ์ดได้ เสี่ยงเอาเอง/Flash at your own risk!

ด้านล่างเป็นลิงค์สำหรับ BIOS firmware. หรือเข้าไปหาจากต้นทางได้จากที่นี้ here.

อันดับแรก ให้ทำ backup ตัวต้นฉบับหรือ original BIOS file ก่อนหากคุณต้องการให้มันกลับมาเป็นสภาพเดิม (run “backup bios.bat”). คุณยังสามารถเก็บหรือ save ตัว BIOS กับไฟล์เวอร์ชั่นล่าสุดจากทาง TechPowerUp’s GPU-Z.

เสร็จแล้วก็ run “flash unlocked bios.bat” เพื่อล้างหรือ flash ตัว bios. จะกินเวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น.

หลังจากนั้นก็ restart คอมใหม่และก็จะได้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาทันที 10% แบบฟรีๆโดยผ่านทาง Overclocking.Guide

สิ่งที่ได้มากล่าวได้ว่าเยี่ยม. ถึงแม้จะเสี่ยงเสียหน่อยต่อการทำ flashing, แต่การ์ดจอสมัยนี้มีตัว firmware solutions ที่ดีๆเพื่อป้องกันการเสี่ยงแบบนี้อยู่แล้ว. เราได้ทำการทดสอบ  Radeon RX 460 Nitro OC ในรีวิวของเรา และตัวการ์ดสามารถทำงานได้อย่างปรกติ. และเนื่องจากการปลดล็อคการ์ดจอกระทำได้ง่ายมาก, เราจึงมีข้อสงสัยว่าทำไมทาง AMD ถึงต้องล็อคมันเอาไว้ด้วย. และเหตุผลน่าจะเกี่ยวกับความล่าช้าของ Polaris 11 แต่ด้วย 14 nm FinFET นั้นได้ออกมาทำตลาดก็นานพอสมควรแล้ว ไม่แน่เราอาจจะได้เห็น Polaris 11 แบบเต็มประสิทธิภาพจากทาง AMD เร็วๆนี้ก็ได้.

ที่มาเครดิต/Sources:

http://wccftech.com/amd-radeon-rx-460-polaris-11-unlock/

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า