AMD ออกแพชต์ความปลอดภัย อุดช่องโหว่ร้ายแรงในซีพียู Ryzen/Threadripper ทุกรุ่น

ตั้งแต่การตรวจพบช่องโหว่ซีพียูทั้ง Meltdown และ Spectre ทำให้การตรวจสอบความปลอดภัยของซีพียูรัดกุมมากขึ้น และล่าสุด AMD เผยข้อมูลเกี่ยวกับช่องโหว่ที่พบในซีพียู Ryzen และแนะนำให้ผู้ใช้ทำการอัปเดตแพตช์ด้วยครับ

ช่องโหว่นี้จะส่งผลให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และดาวน์โหลดข้อมูลที่อยู่ในส่วนของ Windows memory pages และทำการโจมตีด้วยการในลักษณะเดียวกับ Meltdown และ Spectre โดยช่องโหว่นี้ค้นพบโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัย Kyriakos Economou ซึ่งซีพียูที่ได้รับผลกระทบมีดังนี้

  • 2nd Gen AMD Ryzen Mobile Processor with Radeon Graphics
  • 2nd Gen AMD Ryzen Threadripper processor
  • 3rd Gen AMD Ryzen Threadripper Processors
  • 6th Generation A-series CPU with Radeon Graphics
  • 6th Generation A-Series Mobile Processor
  • 6th Generation FX APU with Radeon™ R7 Graphics
  • 7th Generation A-Series APUs
  • 7th Generation A-Series Mobile Processor
  • 7th Generation E-Series Mobile Processor
  • A4-Series APU with Radeon Graphics
  • A6 APU with Radeon R5 Graphics
  • A8 APU with Radeon R6 Graphics
  • A10 APU with Radeon R6 Graphics
  • 3000 Series Mobile Processors with Radeon Graphics
  • Athlon 3000 Series Mobile Processors with Radeon Graphics
  • Athlon Mobile Processors with Radeon Graphics
  • Athlon X4 Processor
  • Athlon 3000 Series Mobile Processors with Radeon Graphics
  • Athlon X4 Processor
  • E1-Series APU with Radeon Graphics
  • Ryzen 1000 series Processor
  • Ryzen 2000 series Desktop Processor
  • Ryzen 2000 series Mobile Processor
  • Ryzen 3000 Series Desktop Processor
  • Ryzen 3000 series Mobile Processor with  Radeon Graphics
  • Ryzen 3000 series Mobile Processor
  • Ryzen 4000 Series Desktop Processor with Radeon Graphics
  • Ryzen 5000 Series Desktop Processor
  • Ryzen 5000 Series Desktop Processor with Radeon Graphics
  • AMD Ryzen 5000 Series Mobile Processors with Radeon Graphics
  • Ryzen Threadripper PRO Processor
  • Ryzen Threadripper Processor

จะเห็นได้ว่า Ryzen ทุกรุ่นโดนโจมตีผ่านช่องโหว่นี้หมด Ecomomou ให้ความเห็นว่าเพราะช่วงหลังมานี้ AMD มีส่วนแบ่งการตลาดของซีพียูเพิ่มขึ้น จึงตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์มากขึ้น ซึ่งทาง AMD ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมส่งแพตช์อัปเดตออกมาแล้วครับ

แพตช์นี้จะสามารถติดตั้งผ่าน Windows update โดยใช้ชื่อแพตช์ว่า AMD PSP driver 5.17.0.0 หรือเพื่อให้แน่ใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้จาก ลิ้งก์นี้ จากนั้นเลือกหัวข้อ Chipset >> เลือกชิปเซต ถ้าโน้ตบุ๊ก เลือก Laptop, ถ้าเดสก์ทอป เลือก AM4, ถ้า Threadripper 1000/2000 เลือก TR4, Threadripper 3000/5000 เลือก sTRX4 หรือ sWRX8 ตามเมนบอร์ด >> ดาวน์โหลด Chipset driver

จากนั้นแตกไฟล์ Zip แล้วกดติดตั้ง AMD Chipset Software อย่าลืมเลือกหัวข้อ AMD PSP Driver ด้วย จากนั้นกด Install ก็เรียบร้อยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wccftech

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า