ผลทดสอบตัวต้นแบบ AMD Zen รั่วไหล – Summit Ridge CPU เร็วกว่า Intel Core i5 4670K ในบททดสอบ AotS Benchmark

ผลทดสอบเบื้องต้น Zen processor ถูกเปิดเผย – แสดงให้เห็นประสิทธิภาพทาง IPC เหนือกว่า AMD FX-8350

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา, มีสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์. ตรงส่วนของ OPN (Order Part Number) หรือชิ้นส่วนหนึ่งของตัวต้นแบบ AMD’s Zen Engineering ได้ถูกเปิดเผยออกมา.เป็นรหัส 1D2801A2M88E4_32/28_N. โดยตัวเลขส่วนแรกนั้นมันเป็นของ Zen ES CPU ส่วนครึ่งหลังเป็น (32/28) แสดงให้เห็นตัว base clock เช่นเดียวกันกับ turbo clock. ก็หมายความว่า  base clock จะอยู่ที่ 2.8 Ghz และ turbo จะอยู่ที่ 3.2 Ghz. ยังไม่มีอะไรมายืนยันว่าย่านความถี่นั้นอัดถึงที่สุดหรือยังและอาจจะเร็วมากกว่านี้อีกหากมันได้ถูกผลิตออกมาเป็นตัวสินค้าที่สมบูรณ์แล้ว.

ด้วยข้อมูลที่ได้มานั้นเรามาดูกันว่าผลทดสอบที่ได้มาอยู่ในมือนี้จะเป็นอยางไร: การทดสอบ Zen ES. ด้วยการทดสอบโดย Ashes of the Singularity. เราสามารถยืนยันได้ว่าการทดสอบครั้งนี้เป็นของ Zen processor เหตุเพราะว่า:

  • มี่เลขรหัสพาร์ท/OPN Zen ถูกตรวจเจอ (1D2801A2M88E4_32/28_N),
  • มีเลขรหัสพาร์ท/OPN แต่ยังไม่ได้ถูกตรวจสอยว่าเป็นของ Zen แต่ดูเหมือนเลขรหัสมีการแก้ไข (2D2801A2M88E4_32/28_N)
  • และอาจจะมีสายพันธ์ Zen ถูกทดสอบด้วยกันถึง 2 เวอร์ขั่น ในบทความนี้จะเรียกว่า 1D และ 2D.
  • ข้อมูลทางด้านเทคนิคนั้นดูเหมือนจะเคยใช้และทดสอบกับตัวต้นแบบ Carrizo engineering ที่มาจาก AMD – มาก่อนและนี้อาจจะไม่ใช่ของใหม่เอี่ยมอ่องเลยเสียทั้งหมด.

และนี้คือผลทดสอบ:

za2 za3 za4 za5 za6 za7 za8 za9

เราได้เห็นตัวต้นแบบ Zen 1D ES มีประสิทธิภาพค่อนข้างใช้ได้เลย. จากการเซ็ตค่าของทั้ง 4 settings, ตัว CPU สามารถทำ CPU frame-rate ได้ที่ 58 frames per/ต่อ second. ในบททดสอบนี้กระทำร่วมกับ AMD Radeon RX 480, ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าการทดสอบนี้ยังไม่สะท้อนผลออกมาที่แท้จริงหรือแม่นยำพอควร. แต่เราสามารถทำการเปรียบเทียบได้โดยการเปลี่ยนเฉพาะตัว CPU ไล่ลงไปเรื่อยๆดั่งที่เห็นในรูป.

การทดสอบนั้นช่วงแรกๆจะยังคงไม่มีอะไรที่แตกต่างมากนักระหว่างเวอร์ชั่น 1D และ 2D. โดยทั้งคู่ยังคงทำความเร็ว clock ที่เท่าๆกันตามแบบฉบับที่ถูกออกแบบมาและมีสิ่งเดียวที่แตกต่างกันก็คือเวอร์ชั่น 2D นั้นประสิทธิภาพจะด้อยลงมาหน่อย. อาจจะมีหลายเหตุผลหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดเช่นนี้ได้ อาจจะเป็นเพราะว่าในเวอร์ชั่นนี้เป็นรุ่นที่ถูกลดทอนลงมาในด้านจำนวนแกน/core หรือตัวทดสอบอ่านค่าไม่ตรงหรืออาจจะเป็นเพียงแค่การปรับปรุงแก้ไขและนำมาทดสอบซึ่งจะไม่เหมือนการทดสอบด้วย AotS benchmark (หรือถูกทดสอบก่อนการเพิ่มประสิทธิภาพ). ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด, เพราะเหตุผลเหล่านี้, ในบทความนี้ขอกล่าวถึงเวอร์ชั่น 1D ในการเปรียบเทียบก็พอ.

ข้อเปรียบเทียบทางด้านประสิทธิภาพของ Zen ES (AotS Benchmark)

การทดสอบ Zen ในครั้งนี้ได้ผลสรุปที่การใช้ RX 480 graphics card เป็นตัวร่วมด้วย, ทางเราได้ข้อเปรียบเทียบและการตั้งค่า/configurations (RX 480 GPU + Standard 1080p) และได้เห็นข้อแตกต่างและนำมาเปรียบเทียบการทำงานของแต่ละ processors. จุดแรกเลยคุณจะสังเกตุเห็น Zen ES ทำความเร็ว clocked ได้ค่อนข้างต่ำ. ก็หมายความว่ามีสิ่งผิดปรกติตั้งแต่แรกเริ่มเลยสำหรับการทดสอบในครั้งนี้. อาจจะเป็นเพราะว่าทางเราไม่ได้ทำการเซ็ตค่าในด้าน clock rates เป็นเพราะว่าตัวข้อมูลของ AotS database นั้นไม่มีการบันทึกย่านความถี่ที่แน่นอน ณ ขณะที่ตัว CPU ถูกทดสอบ.

za10

และเราก็จะสามารถรู้ได้อย่างคร่าวๆว่าตัว Zen นั้นมีประสิทธิภาพขนาดไหนหากเทียบกับคู่แข่ง. แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือตัวต้นแบบของ Zen ES นั้นแรงกว่าคู่แข่งแน่นอน ถึงแม้ความเร็ว base clock จะอยู่ที่ 2.8 Ghz, แต่มันยังแรงกว่า Intel Core i5 4670k ที่มี base clock ที่ 3.4 Ghz. และมันยังเร็วกว่าถึง 38% หากเทียบกับ AMD FX-8350 และเร็วกว่าถึง 10% หากเทียบกับ i5 4670k. ถึงกระนั้นก็ตามการทดสอบในครั้งนี้, Zen ES 1D อาจจะช้ากว่าถึง 11% slower หากเทียบกับ Core i7 4790 (ซึ่งมี base clock ที่ 3.6 Ghz).

หากถึงเวลาที่ Zen เปิดตัว, และความเร็ว clock speeds ยังคงเดิมและเหมือนกับ FX 8350, ประสิทธิภาพก็น่าจะเทียบเคียงได้กับ Intel i7. และหากความเร็ว clock speed สามารถทะยานไปถึง 4.0 Ghz, ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 25% มากว่าความเร็ว clocks ในครั้งนี้, ก็จะเหนือกว่า Intel’s i7 CPUs ( i7 4790) ได้อย่างแน่นอน. อ้างอิงจากการอัพเดทล่าสุดของทาง AMD’s Lisa Su – Zen นั้นจะเปิดตัวและวางจำหน่ายในจำนวนที่จำกัดในช่วงแรกๆปลายปีนี้, และจะปล่อยได้เต็มที่ในต้นปี 2017. ในบทความนี้ได้เผยแพร่ภาพการทดสอบ รวมถึงเวอร์ชั่น 2D และนำ processors รุ่นอื่นมาทำการเปรียบเทียบด้วย.

ที่มาเครดิต

http://wccftech.com/amd-zen-es-benchmarks/

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า