PR : อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จัดงาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good ส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จัดงาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good

ส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ผู้พัฒนาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตรียมตบเท้าเข้าร่วมงาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good

งานแฮกกาธอนประจำปี โดยใช้ AWS Cloud สร้างโซลูชันนวัตกรรม

 

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส จำกัด (Amazon Web Services Inc.: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com จัดงานให้ความรู้และแฮกกาธอน (hackathon) ประจำปีในชื่อ AWS Hackdays 2019: Hack for Good โดยมีเป้าหมายในการสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชนผู้พัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีโดยใช้เทคโนโลยีของ AWS ทั้งนี้ งาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good จะจัดผ่านทางออนไลน์ใน 6 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย ผู้เข้าร่วมงานจะได้รับเชิญให้สร้างโซลูชันเกี่ยวกับ 4 หัวข้อ ได้แก่ HealthTech, AgriTech, Smart City และ FinTech

 

ในงาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good บรรดาผู้สร้างในภูมิภาคจะนำนวัตกรรมมาแสดง พร้อมด้วยการสาธิตทักษะต่างๆ ทั้ง ปัญหาประดิษฐ์ และ แมชชีน เลิร์นนิ่ง (Artificial Intelligence & Machine Learning) อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และ Modern Applications โดยผู้เข้าร่วมงานจะสามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ของ AWS เช่น Amazon Sagemaker เพื่อใช้ในการสร้าง ฝึกฝน และนำโมเดล Machine Learning (ML) คือ Amazon Polly มาสร้างแอปพลิเคชันที่พูดได้ (speech-enabled applications) และ Amazon Lex เพื่อสร้างแชทบอท รวมถึงบริการ AWS IOT, AWS Data Analytics และ Modern Applications เช่น Serverless Technologies, Micorservices และ Continuous integration กับ Continuous deliver (CI/CD)  การเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ของ AWS นับเป็นการสนับสนุนผู้พัฒนาในการสร้างโซลูชันที่ทำงานบนคลาวด์ ที่มีส่วนในการสร้างผลลัพธ์ที่ดีทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและสังคมทั่วภูมิภาค และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้พัฒนารุ่นถัดไปอีกด้วย

 

“ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีคลาวด์ ช่วยให้ผู้พัฒนาทั่วโลกออกแบบ และพัฒนาโซลูชันที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน  ตัวอย่างเช่น PetaBencana ของอินโดนีเซีย ใช้เทคโนโลยี IoT ของ AWS ในการมอนิเตอร์ระดับน้ำและแชร์ข้อมูลในช่วงเวลาวิกฤติให้กับผู้พักอาศัยในกรณีที่เกิดอุทกภัย  ทั้งนี้บริษัท Sunday Insurance ในประเทศไทย ก็นำอัลกอริทึมด้านแมชชีน เลิร์นนิ่งมาใช้ในการนำเสนอนโยบายด้านการประกันในวงกว้างยิ่งขึ้นสำหรับลูกค้า ครอบคลุมทั้งในเรื่องของสินทรัพย์และการครอบครองทรัพย์สิน อีกทั้งของพรีเมียมที่ให้คุณค่ามากขึ้นเฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย ที่ AWS เราหวังที่จะช่วยให้สมาชิกของชุมชนผู้พัฒนา สามารถควบคุมพลังแห่งเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลกระทบในเชิงบวกเพื่อโลกที่มีคุณภาพยิ่งขึ้น  AWS Hackdays 2019: Hack for Good ช่วยให้บรรดาผู้สร้างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าถึงเครื่องมือและบริการต่างๆ บนแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมที่สุด และลงลึกมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยให้คนเหล่านี้สามารถพัฒนาโซลูชันล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาจริงได้ ช่วยให้องค์กรดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น หรือช่วยให้เราใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น” นิค วอลตัน กรรมการผู้จัดการ AWS ประจำภาคพื้นอาเซียน กล่าว

 

นับเป็นครั้งแรกที่งาน AWS Hackdays 2019: Hack for Good จะรวมส่วนที่เป็นออนไลน์เข้ามาด้วย ซึ่งผู้ร่วมงานสามารถส่งโซลูชันเข้าร่วมในออนไลน์แฮกกาธอนได้  โดย 5 ทีมของแต่ละประเทศจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมงาน Demo Days ในแต่ละประเทศเพื่อนำเสนอโครงการในรอบสุดท้ายต่อคณะกรรมการตัดสินที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจาก AWS และผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ จากองค์กรสตาร์ทอัพและที่อยู่ในสายนวัตกรรม  สำหรับเดดไลน์การส่งผลงานสำหรับออนไลน์ แฮกกาธอนในประเทศไทยคือวันที่ 14 มีนาคม 2562

 

ทีมผู้ชนะในแต่ละประเทศ จะเป็นตัวแทนประเทศนั้นๆ เพื่อไปแข่งขันต่อกันในรอบสุดท้ายในงาน AWS Hackdays 2019 ที่ประเทศสิงคโปร์ในวันที่ 10 เมษายน 2019  การตัดสินผู้เข้ารอบจะดูจากความคิดริเริ่ม ความสร้างสรรค์ ความสามารถ และผลกระทบที่ได้ รวมถึงแอปพลิเคชันที่นำเสนอนั้นสามารถทำงานร่วมกับบริการจาก AWS ได้ดีแค่ไหน ทีมผู้ชนะการแข่งขันรอบสุดท้าย AWS Hackdays 2019 Grand Finale ที่ประเทศสิงคโปร์จะได้รับรางวัลเป็นการเดินทางฟรีค่าใช้จ่าย (ไม่ว่าจะเป็น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าที่พัก และบัตรเข้าร่วมงาน re:Invent) เพื่อเดินทางไปร่วมงาน AWS re:Invent 2019 ที่ลาสเวกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาชั้นนำระดับโลกเพื่อการเรียนรู้ สำหรับชุมชนคลาวด์ทั่วโลก

 

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ AWS Hackdays หรือลงทะเบียนเข้าร่วมงานแฮกกาธอน สามารถเข้าไปดูได้ที่ https://aws.agorize.com/en/

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า