คณะไอที ม.กรุงเทพชี้เรียนแบบนี้เงินดี ไม่ตกงาน

 

คณะไอที ม.กรุงเทพชี้เรียนแบบนี้เงินดี ไม่ตกงาน

เผยสายโปรแกรมเมอร์ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล ตลาดแย่งตัวกันวุ่น

เจาะเทรนด์อาชีพไอทีที่ทั่วโลกและไทยต้องการ ดีมานด์พุ่งทั้งสายโปรแกรมเมอร์ (Programmer) สายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) และสายวิทยาการข้อมูล (Data Science) ฐานเงินเดือนพุ่งทะลุเพดาน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชี้เป็นหนึ่งในกลุ่มงานดาวรุ่งที่สุดในศตวรรษที่ 21 เผยสานฝันนักเรียนที่ชื่นชอบด้านไอทีทั้งจากสายวิทย์และสายศิลป์ เข้ามาเรียนรู้เพื่อสร้างโอกาสในวงการไอทีโดยมหาวิทยาลัยช่วยสอนปรับฐานในทักษะต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียน มุ่งสร้างการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่ได้ลงมือทำจริงทั้งในและนอกห้องเรียนกับบริษัทชั้นนำของวงการ เพื่อความได้เปรียบในเชิงทักษะการประยุกต์ใช้ และคอนเนคชั่นของบัณฑิตเมื่ออกจบออกไป

เน้นการปฏิบัติและเรียนรู้จากตัวจริง เพื่อสร้างคนไอทีที่ทำงานได้จริง

 ดร.พัฒนพล เหรียญโมรา คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันอาชีพด้านไอทีทุกสาขามีความต้องการและขาดแคลนอย่างมากทั้งในระดับโลกรวมทั้งในประเทศไทยเองด้วย ทั้งนี้เพราะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ภาครัฐและเอกชนต่างมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ทำให้อาชีพด้านไอที มีความต้องการสูงในทุกตำแหน่งงาน และเป็นหนึ่งในทิศทางตลาดแรงงานที่จะช่วยทำให้แรงงานไทย หลุดพ้นจากกับดักความยากจน ตามแผนพัฒนาประเทศ  จึงเป็นตัวการันตีอย่างหนึ่งว่า นักเรียนที่เข้าเรียนต่อด้านไอที เมื่อเรียบจบไปแล้ว จะมีงานทำรองรับในทันทีจากบริษัทในประเทศและต่างประเทศ

อย่างไรก็ตามงานในสายไอทีเริ่มมีความต้องการโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถเฉพาะด้าน ตามปัญหาและความต้องการเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจารกรรมข้อมูลในโลกไซเบอร์ หรือเทรนด์การเก็บข้อมูลลูกค้า จัดทำฐานข้อมูลและนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาธุรกิจ ทำให้เกิดอาชีพโปรแกรมเมอร์สาขาใหม่ขึ้นมาก็คือ สาขาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อดูแลระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล และสาขาวิทยาการข้อมูล เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลสำหรับการนำมาวิเคราะห์และประโยชน์

ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงเปิด สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Data Science and Cybersecurity) ขึ้นมารองรับความต้องการของตลาดแรงงาน ควบคู่กับ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ที่มีแต่เดิมอยู่แล้ว โดยร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีชื่อเสียงในวงการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์อย่าง บริษัท T-Net ผู้ให้บริการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และบริษัท G-Able ผู้พัฒนาโซลูชันด้านไอทีสำหรับองค์กร เพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติกับมืออาชีพในวงการตัวจริง

 

 

เข้มข้นเพื่อสร้างคนไอทีระดับฟูลสแต๊ก ทำงานได้รอบด้านในคนเดียวกัน

นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัย ยังเปิดรับนักเรียนทุกสาย ทั้งเด็กสายวิทย์ และ สายศิลป์ ที่สนใจเข้ามาเรียนสาขาไอที โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนจบด้านสายศิลป์ แต่มีความสนใจด้านการเขียนโปรแกรม อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ ก็สามารถเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้อย่างแน่นอน เพราะเราออกแบบหลักสูตร ตั้งแต่ปูพื้นฐานความรู้ทุกอย่างที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม ระบบตรรกะความคิดในการเขียนโปรแกรม การเรียนภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากที่สุด ไปจนถึงการฝึกฝนผ่านการเรียน และการแข่งขันจนมีความชำนาญ ซึ่งจะทำให้เป็น นักพัฒนาโปรแกรมที่พัฒนาได้ทั้งส่วนหน้าบ้าน (Front End) และส่วนหลังบ้าน (Back End) หรือที่เรียกว่า Full Stack Developer ซึ่งเป็นระดับที่บริษัทไอทีทุกบริษัท พร้อมเสนอเงินเดือนที่สูงกว่าโปรแกรมเมอร์ทั่วไป เพื่อคว้าตัวไปร่วมงาน และที่ผ่านมาก็ได้มีบริษัทไอทีเข้ามาติดต่อ ขอตัวนักศึกษาไปทำงานระหว่างที่กำลังศึกษาเป็นจำนวนมากอีกด้วย

อย่างวิทยาการคอมพิวเตอร์(Computer Science) เป็นสาขาที่มุ่งเน้นการเป็นโปรแกรมเมอร์  ที่สามารถจะต่อยอดไปการทำงานในสายไอทีด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เขียนโปรแกรมใช้ภายในองค์กร พัฒนาระบบเว็บไซต์ หรืองานไอทีในสาขาต่างๆ สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานสำคัญที่นักศึกษาสามารถต่อยอดไปทำงานไอทีได้หลากหลาย และพร้อมปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของบริษัทและลูกค้าได้ในอนาคต

ส่วนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์(Cybersecurity)เป็นสายงานที่มีความต้องการแรงงานมาเป็นอันดับต้นๆ ของการประกาศรับสมัครงานด้านไอที แม้กระทั่งหน่วยงานกองทัพก็ยังต้องการบุคคลากรที่มีความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนาระบบป้องกันประเทศ เพื่อปกป้องระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศและข้อมูลประชาชน หากเกิดสงครามไซเบอร์ (Cyber warfare) ในอนาคต

สำหรับองค์กรบริษัททั่วไปก็มีความต้องการผู้ดูแลความปลอดภัยข้อมูลดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำคัญของบริษัท การดูแลระบบป้องกันการเจาะเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บรักษาข้อมูล จึงถือว่าความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นสาขาวิชาใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวมาไม่นาน แต่เป็นที่ต้องการของทุกบริษัท ทุกองค์กรอย่างมาก เพราะปัจจุบันข้อมูลของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล รูปภาพ บัญชีธนาคาร ข้อมูลด้านการแพทย์ ทุกอย่างถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ หรือเก็บไว้ในระบบคลาวด์ (เก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลออนไลน์) ซึ่งมักตกเป็นเป้าหมายการเจาะข้อมูลของแฮกเกอร์ เพื่อเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ไปขายต่อในตลาดมืด หน้าที่ของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คือการเป็นผู้ดูแลระบบและข้อมูลเหล่านี้ให้ปลอดภัย สามารถแก้ไขปัญหาเมื่อระบบตรวจจับได้ว่ากำลัง ถูกแฮกเกอร์บุกรุกนั่นเอง

ท้ายสุดคือวิทยาการข้อมูล (Data Science) ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งอนาคตที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น วิทยาศาสตร์แขนงที่สี่ ต่อยอดจาก วิทยาศาสตร์การทดลอง วิทยาศาสตร์ทฤษฎี และวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ เปรียบเสมือนเหมืองทอง และบ่อน้ำมัน ที่มีมูลค่ามหาศาล และทุกบริษัทยอมทุ่มทุนซื้อหรือพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่จะทำให้มีชัยเหนือคู่แข่ง

สาขาวิชานี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ ระบบทางวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อออกแบบระบบฐานข้อมูล และสร้างอัลกอริทึม มาประมวลผลฐานข้อมูลที่ได้มา เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) และ ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ซึ่งทำให้โปรแกรมเมอร์ด้าน Data Science เป็นที่ต้องการขององค์กรระดับโลก และมีเงินเดือนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับโปรแกรมเมอร์สาขาอื่นๆ

เปิดรับเด็กทุกสาย พร้อมช่วยปรับระดับพื้นฐานให้เรียนทันกัน 

ฮาริส เกิดภักดี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และตัวแทนนักศึกษาโครงการ Microsoft Learn Student Ambassadors เล่าถึงการเรียนในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ว่า “สาเหตุที่ผมอยากเรียนด้านการเขียนโปรแกรม เพราะเห็นว่าเป็นอาชีพที่มีความน่าสนใจ และผมเองก็อยากทำงานในสาขานี้ แต่ในช่วงที่เรียนจบ ม.ปลาย ติดปัญหาอยู่ที่ผมเรียนด้านสายศิลป์มาก่อน แต่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะกำหนดว่า คนที่จะเข้ามาเรียนสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้ จะต้องเรียนจบด้านสายวิทย์-คณิต เพราะจะมีส่วนที่ต้องใช้ความรู้ด้านวิชาคณิตศาสตร์อย่างแคลคูลัส ร่วมในการเขียนโปรแกรม ทำให้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่รับเด็กสายศิลป์เข้าเรียนสาขานี้

ผมจึงหาข้อมูลทางอินเทอร์เนต มาเดินเที่ยวชมงานโอเพ่นเฮาส์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ แล้วถามพี่ๆ ว่าผมเรียนสายศิลป์ผมจะเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ได้ไหม พี่ๆ ก็บอกว่าได้ อาจารย์ก็บอกว่าได้ ผมจึงตัดสินใจเรียนที่นี่ พอได้เรียนก็รู้สึกว่าคิดถูกแล้วที่เรียนที่นี่ เพราะหลักสูตรที่เรียนจะเริ่มสอนตั้งแต่พื้นฐาน สำหรับคนที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน จนเขียนโปรแกรมเป็น วิชาแคลลูลัส ที่ยากสำหรับผม อาจารย์จะสอนพื้นฐานให้เราและเลือกใช้เท่าที่จำเป็นสำหรับการเรียน แม้จะยากสำหรับเด็กสายศิลป์ แต่ก็พิสูจน์แล้วว่าเด็กสายศิลป์อย่างผมสามารถเรียนเป็นโปรแกรมเมอร์ได้จริงๆ เพราะปัจจุบัน ผมได้ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนนักศึกษาของโครงการ Microsoft Learn Student Ambassadors ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีความสามารถด้านไอทีที่สูงขึ้นและพร้อมส่งต่อความรู้แก่บุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมนอกห้องเรียนกับบริษัทระดับโลก ที่พี่ๆและอาจารย์ที่ ม.กรุงเทพ ชักชวนและช่วยสนับสนุน”

รู้ทันหัวขโมยในโลกไอที อาชีพที่ฮอตสุดๆ ระดับโลก

พีรณัฐ อุณหะนันทน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มุ่งเน้นวิทยาการข้อมูลและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และตัวแทนนักศึกษาโครงการ Microsoft Learn Student Ambassadors เล่าถึงเส้นทางการเรียนในสายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของเขาว่า “ปรกติผมทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมอยู่แล้ว เลยทำให้รู้ว่าในวงการไอทีมีความต้องการบุคลากร ในสาย ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สูงมาก เพราะทุกวันนี้มีปัญหาเรื่องการเจาะระบบขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การแฮกเว็บไซต์ธนาคาร หน่วยงานราชการ แต่ประเทศไทยกลับไม่มีบุคลากรทางด้านนี้อยู่เลย ผมจึงมองหามหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้โดยตรง

ตอนแรกผมมีตัวเลือกอยู่สองมหาวิทยาลัย แต่สุดท้ายที่เลือกมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เพราะที่นี่สามารถบริหารเวลาเรียน ควบคู่ไปกับการทำงานได้ง่ายกว่า และรุ่นพี่โปรแกรมเมอร์ที่ทำงานด้วยกันได้อ่านหลักสูตรและวิชาที่สอนก็เห็นตรงกันว่า มีการออกแบบหลักสูตรการสอนที่ยอมรับได้

การเรียนในสายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ นี้ โดยพื้นฐานทุกคนจะต้องเขียนโปรแกรมเป็น แต่เพิ่มเข้ามาคือเรียนรู้เรื่องการเจาะระบบ และการป้องกันระบบไปพร้อมๆ กัน เมื่อเรียนจบไปแล้วเรายังสามารถเลือกได้ว่า จะทำงานเป็นผู้ทดสอบระบบไอทีขององค์กร หรือเลือกทำงานในสายป้องกันระบบ อีกอย่างการเรียนที่นี่บรรยากาศการเรียนค่อนข้างดีอาจารย์เอาใจใส่ดูแลนักศึกษาดี เพื่อนๆ ก็ช่วยเหลือกันและมีกิจกรรมการแข่งขันหลายอย่าง อย่างเช่น การแข่งขัน Palo Alto Networks Capture The Flag, Capture the Future Competition 2022 ระดับอุดมศึกษาจากทั่วประเทศ จัดโดย บริษัท Palo Alto บริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Security ระดับโลก และได้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้าย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จะช่วยทำให้เราพัฒนาตัวเองเป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถสูงขึ้นอีกด้วย”

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า ความรู้ใน สาขาโปรแกรมเมอร์ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และวิทยาการข้อมูล มีความต้องการในตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศอย่างมาก เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับผู้ที่กำลังมองหาอาชีพ ที่จะไม่ถูก Digital Disruption กลืนกิน เฉกเช่นในยุคสมัยหนึ่ง ที่เราทุกคนเคยปรับตัวจากการใช้งานเครื่องมือในยุคแอนะล็อก จากเครื่องพิมพ์ดีด และกระดาษ มาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาทำงานแทนทั้งหมด คนที่ปรับตัวทำงานกับเครื่องมือ และความต้องการใหม่ๆ ได้ คือผู้ที่จะอยู่รอดไปสู่โลกในศตวรรษใหม่ได้อย่างมั่นคง

 

*******

Related articles

[HOW TO] เช็กก่อนใช้ไฟล์น่าสงสัยติดไวรัส ฟรี! ด้วยเว็บไซต์ Virustotal

เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยประสบพบเจอกับการถูกแฮ็ก Facebook หรืออีเมล โดยมีต้นตอมาจากการโหลดโปรแกรมเถื่อน หรือมีไฟล์ติดไวรัสแถมมาในเครื่อง จะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถเช็กไฟล์นั้นได้ และรู้ด้วยว่าไฟล์ติดไวรัสพวกนั้นทำอันตรายอะไรกับคอมเราได้บ้าง วันนี้แอดมีเว็บไซต์เช็กไฟล์ไวรัสมาแนะนำ นั่นคือ www.virustotal.com...

เผยผลทดสอบ AMD Fluid Motion Frames 2 (AFMF) เพิ่มเฟรมเรตในเกมได้สูงถึง 78%

ปัจจุบันฟีเจอร์ที่ช่วยเพิ่มเฟรมเรตในเกม นอกเหนือจากเทคโนโลยีอัปสเกลภาพอย่าง DLSS/FSR แล้ว ที่มาแรงในตอนนี้คือ Frame Generation ซึ่งล่าสุดทาง AMD...

เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับอัจฉริยะ MSI – EV Premium/EV Life วางจำหน่ายในประเทศไทยแล้ววันนี้!

MSI แบรนด์ชั้นนำระดับโลกในด้านการเล่นเกมระดับไฮเอนด์ กำลังมีส่วนร่วมในการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนอย่างจริงจัง ผลิตภัณฑ์ล่าสุด "EV Premium/EV Life" เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับอัจฉริยะสำหรับใช้ในบ้าน วางจำหน่ายแล้ววันนี้...

HOW TO: เข้าไบออสง่าย ๆ ไม่ต้องกดคีย์ลัด ด้วย Shortcut บน Windows !!

สำหรับใครที่กดคีย์ลัดเข้าไบออสไม่เคยจะทัน หรือโน้ตบุ๊กบางรุ่นเราก็ไม่รู้ปุ่มคีย์ลัดของมัน วันนี้แอดมีวิธีเข้าไบออสผ่านชอร์ตคัตบน Windows ง่าย ๆ ถ้าเผลอหลุดเข้ามาใน Windows ก็กดชอร์ตคัตไปได้เลยครับ เริ่มแรกบนหน้าเดสก์ท็อป...

Black Myth: Wukong การ์ดจอต้องแรงแค่ไหนถึงเอาอยู่

เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์แห่งปีอย่าง Black Myth: Wukong โดยตัวเกมจะมาในแนว RPG ที่ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่เราทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า