ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เผยการใช้ IoT ช่วย
ต่อยอดระบบจัดการพลังงานสำหรับอาคาร
ให้ทันสมัย
หากให้มองศูนย์กลางหรือการเป็น ดิจิทัลฮับ ระบบจัดการพลังงานในอาคาร หรือ BEMS (Building Energy Management Systems) นับว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดในการทำให้อาคารมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น เนื่องจากอาคารที่สมาร์ท ก็จะช่วยให้การปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ทำได้ในแบบอัตโนมัติ เช่น เรื่องอุณหภูมิ ระบบอากาศหมุนเวียน รวมถึงระบบแสงสว่าง ทั้งนี้ การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า 27 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่อยู่ในอาคารรู้สึกมีความสุขมากขึ้น ในขณะที่เจ้าของอาคารสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์
จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ BEMS จะขึ้นแท่นผู้นำในรายงานของ Navigant Research ที่ว่า “ระบบการบริหารจัดการพลังงานในอาคาร” เป็น “เทคโนโลยีเสาหลักสำหรับอาคารอัจฉริยะ” ซึ่งเป็นหมวดของซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้สามารถแปลงข้อมูลที่ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไปเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ดำเนินการต่อได้
ข้อมูลดังกล่าวที่สามารถนำไปใช้งานได้ มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว สาเหตุเกิดจากการมาของ IoT หรือ Internet of Things บางคนเรียก Internet of Everything ไม่ว่าจะเรียกอะไรก็ตาม ความหมายของมันก็คือเครื่องกล หรืออุปกรณ์ที่พูดคุยกันได้ ลองคิดภาพตาม หากประชากรทุกคนบนโลกเชื่อมต่อกัน ก็จะทำให้มีประชากรที่ใช้อินเทอร์เน็ตรวมทั้งสิ้นถึง 7.3 พันล้านคนเลยทีเดียว
แต่จำนวนอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งเพื่อใช้ IoT นั้นมีจำนวนเป็น 2 เท่าของตัวเลขดังกล่าวไปแล้ว และคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 75 พันล้านชิ้น ภายใน 10 ปี ซึ่งนับเป็น 10 เท่า ของคนจำนวนผู้ที่อาศัยอยู่บนโลก ทั้งนี้ อุปกรณ์เหล่านี้บางตัวจะเป็นเซ็นเซอร์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของอุณหภูมิ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือข้อมูลอื่นๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการอาคารผ่านการผสานการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสมในเรื่องของการวิเคราะห์และควบคุมการใช้งาน
ข้อมูลเหล่านี้ทำให้สามารถรับรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น บริษัทแม่ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ในกรุงปารีส สามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 4 เท่า จากการผสานรวมระบบจัดการพลังงานในอาคาร หรือ BEMS เข้ากับขั้นตอนการดำเนินการทั้งเรื่องของการตรวจสอบและควบคุมการใช้พลังงาน ซึ่งการปรับปรุงนั้นขึ้นอยู่กับการนำข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์จำนวนกว่า 3,000 ตัว มาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพตั้งแต่ในระดับของตัวอุปกรณ์ไปจนถึงการบริการ
IoT ยังรวมถึงตัวเซ็นเซอร์ที่ตรวจจับการใช้อาคารและเรื่องของสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น เซ็นเซอร์ในการตรวจสอบการใช้พลังงาน ข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์เหล่านี้จะใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการประหยัดพลังงาน ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพด้านพลังงานสามารถปรับปรุงได้ จากการลดจำนวนชั่วโมงในการระบายอากาศ ในเวลาที่ไม่ได้มีการใช้ห้อง ผ่านการตรวจสอบในเรื่องของคาร์บอนไดออกไซด์ รวมถึงอุณหภูมิ, ความชื้น และ เซ็นเซอร์ด้านอื่นๆ ผลที่ได้ต่อมาก็คือ การสามารถปรับระบบระบายอากาศให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ใช้งานได้
แนวโน้มของการมีข้อมูลมากขึ้น พุ่งสูงก่อนที่จะเริ่มมี IoT เกิดขึ้นในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเกิดขึ้นมากมาย นับเป็นการเร่งให้เกิดข้อมูลมากยิ่งขึ้นไปอีก และด้วย IoT ที่จะเติบโตถึงสามเท่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ก็จะได้เห็นข้อมูลที่เติบโตไปในอัตราเดียวกัน
เทคโนโลยี BEMS ต้องเตรียมรับมือกับเรื่องนี้อย่างแน่นอน โดยสามารถดูตัวอย่างเรื่องการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือได้ที่ SmartStruxure สำหรับอาคารสำคัญและอาคารขนาดใหญ่ และ SmartStruxure Lite สำหรับอาคารขนาดกลาง และขนาดเล็ก #InnovationAtEveryLevel #EcoStruxure #IoT together #SchneiderElectricThailand
You must be logged in to post a comment.