คุยแป้บ
ช่วงนี้กระเเสข่าวของซีพียูเจน 5 Broadwell ที่ทางอินเทลไทยแลนด์เปิดตัวไปกำลังมาเเรง หลายๆท่านก็ถกเถียงกันว่ามันจะเป็นซ็อคเก็ทอะไรจะใช้เเรมเจนที่เท่าไหร่ DDR3 รึ DDR4 ถึงจะใส่ได้และสุดท้ายบอร์ดรหัส H/Z8x และ H/Z97 จะใส่ได้มั๊ย วันนี้ว่างๆผมก็เลยจะมาช่วยวิเคราะห์และหาคำตอบจากแหล่งข่าวหลายๆแหล่งให้ฟังว่า เส้นทางของโรล่าจะต้องแหกขาให้อีกกี่คน เอ้ย ซีพียูอินเทลในเจนที่ 5 มันจะมายังไงและจะไปยังไงก่อนอื่นเราจะต้องมาทำความรู้จักพื้นฐานเเละโครงสร้างของ Intel ก่อนว่าการผลิตเเละการพัฒนานั้นมีที่มาที่ไปอะไรยังไงแบบไหนนะครับ
TickTock Development Model
โดยโมเดลที่ว่านี้มาจากแนวคิดของ Gordon Moore หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Intel โดยกฏนี้มีชื่อว่า Moore’s Law ซึ่งอธิบายถึงปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรที่เพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัวทุกๆสองปี ซึ่งสองปีที่ว่านั้นก็จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ Tick และ Tock มาจากเสียงของนาฬิกาเดินตามชื่อของมันสลับกันนั่นเอง
– Tock นั้นจะเป็นการพัฒนาแผงวงจรโดยรวมที่ทำให้มีความสามารถมากขึ้น ประหยัดพลังงานกว่าเดิม
– Tick นั้นจะเป็นการพัฒนาแผงวงจร (ทรานซิสเตอร์) ให้เล็กลง
Tock (Haswell) = New Manufacturing การพัฒนาแผงวงจรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Tick (Broadwell) = New Microarchitecture การลดขนาดของทรานซิสเตอร์ในวงจรลง (สถาปัตยกรรมที่เล็กลง)
ทีนี้คงพอจะนึกภาพ TickTock Development Model ออกกันแล้วนะครับ ตามที่เรารู้ๆกันมาหรือคงจะเคยผ่านตามาหลายๆคนคงจะเห็นว่าซีพียูของ Intel จะนำหน้าด้วย i3 , i5 , i7 (รุ่นล่างๆกว่านี้ผมขอไม่พูดถึงเพราะมันไม่อยู่ในประเด็นนะครับ) ตัวเลขตรงนี้คืออะไรทำไมต้องแบ่งแยกอะไรมากมาย เราลองมาดูกันว่าความหมายมันคืออะไร
วิธีอ่านรหัสให้เข้าใจง่ายๆตามสไตล์ลุงต้า
ถ้าพอรู้ความหมายเบื้องต้นเเล้วเรามาต่อกันที่เลขรหัสของซีพียูเลย ผมจะพูดถึงรหัสรุ่นของซีพียูอินเทลต่อเพราะว่ารหัสมันจะเป็นตัวเเจกแจงความหมายของซีพียูตัวนั้นว่าอยู่ในระดับไหนอะไรยังไง ยกตัวอย่าง บางคนเห็นรหัสเเล้วงงว่ามันคืออะไรว่ะ i3 4360 อะไรว่ะ i5 4690 แล้วก็ i7 4790k ทำไมคนถึงนิยมใช้นักหนา เเล้วตัวเลขพวกนี้มันคืออะไรมาดูกัน
เช่น i7 4790
i7 – คือ ซีพียู intel ระดับสูงสุด(ในระดับซ็อคเก็ทรหัสเดียวกัน)
4 – คือ รุ่นของซีพียู หรือที่เราเรียกว่า เจเนอเรชั่น หรือเรียกย่อๆว่า”เจน“นั่นเอง
790 – คือเลขบอกลำดับผลิตภัณฑ์ โดยตัวเลขที่มากกว่าจะมีประสิทธิภาพการทำงานสูงกว่า เช่น i7 4790 จะแรงกว่า i7 4770 เป็นต้น
อืมมมเเล้วตัวอักษรที่ตามหลังของเลชรหัสมันคืออะไร ทำไมบางคนถึงใช้แบบมีตัว K รึบางคนถึงไม่มีอะไรต่อท้าย อักษรที่พวกนั้นมันแปลว่าอะไร ผมขออธิบายง่ายๆแบบว่าอ่านปุ้บเข้าใจปั้บเลยละกันนะเพราะรู้ว่าหลายๆคนคงไม่ได้สนใจอะไรมากเพราะกุจะซื้ออ่ะเพราะกุมีเงิน ใช้รึไม่ใช้อีกเรื่อง 5555
ส่วนแรกเป็นพวกที่ใช้กับโนตบุค
– M ย่อมาจาก Mobile เป็น CPU สำหรับใช้ในโน๊ตบุ๊คหรืออุปกรณ์พกพา
– QM ย่อมาจาก Quad-Core Mobile หมายความว่า CPU สำหรับใช้ในโน๊ตบุ๊คที่มี 4 แกนสมอง
– U ย่อมาจาก Ultra Low Voltage เป็น CPU สำหรับโน๊ตบุ๊คที่เน้นการประหยัดพลังงาน แน่นอนครับว่าความเร็วจะสู้ รหัส M หรือ QM ไม่ได้
ส่วนที่สองเป็นพวกที่ใช้กับ PC
– K ย่อมาจาก Unlocked เป็น CPU ที่ปลดล็อคตัวคูณเหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการ Overclock ซึ่งประสิทธิภาพความเร็วตั้งต้นจะไม่ต่างกับตัวที่ไม่มี K ต่อท้าย
– T ย่อมาจาก Power optimized lifestyle เป็น CPU ที่ปรับลดความเร็วลงจากรุ่นปกติเพื่อการประหยัดพลังงาน
– S ย่อมาจาก Performance optimized lifestyle เป็น CPU ที่เน้นการประหยัดพลังงานเช่นเดียวกับรหัส T
– X ย่อมาจาก Extreme เป็น CPU รุ่นพิเศษที่ผลิตมาเพื่อเน้นประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดในทุกๆด้าน
ซ็อตเก็ทซีพียู
เรื่องหลักเรื่องสุดท้ายก็คือ ซ็อกเก็ตซีพียู หรือที่เราอาจจะเรียกว่าขาของซีพียูก็ได้ คือฐานรองเพื่อบรรจุซีพียูเข้ากับแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์ โดยซ็อกเก็ตในแต่ละรุ่นจะมีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่กับรุ่นของซีพียูที่ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกัน ดังนั้นเราจะไม่สามารถนำซีพียูที่ออกแบบมาเพื่อใช้กับซ็อกเก็ตแบบหนึ่งไปใช้ กับซ็อกเก็ตแบบอื่นได้ วิธีเรียกหรือกำหนดซ็อคเก็ทจะมาจากจำนวนขาของซีพียูที่มีนั่นเอง เช่น
– ซ็อคเก็ท 1155 ก็จะมาจากขาของซีพียูจำนวนทั้งหมด 1,155 ขา
– ซ็อคเก็ท 1150 มันก็จะมีขาของซีพียูเป็นจำนวนทั้งหมดที่ 1,150 ขานั่นเอง
เริ่มเข้าใจกันเเล้วนะครับเรื่องซ็อคเก็ท
แล้วมันจะยังใช้กับบอร์ดซ็อคเก็ท 1150 ได้มั๊ย???
ทีนี้ก็มาเข้าเรื่องกันหละ พอเข้าใจพื้นฐานเเล้วมันก็จะเข้าใจเรื่องเจน 5 ที่ผมกำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ได้ง่ายขึ้นเยอะว่ามั๊ย อิอิอิ มันต้องไปแบบเป็นขึ้นเป็นตอนนะจ๊ะหนูๆ 5555 ตอนนี้ซีพียูของอินเทลที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดจะเป็นเจนที่ 4 อย่าง Haswell และนับจากนนี้อีกไม่นานเกินรอซีพียูเจนที่ 5 จากทางอินเทลก็จะวางตลาดเเล้วช่วงกลางๆปีซึ่งโค้ดเนมของเจน 5 จะใช้ชื่อว่า Broadwell ซึ่งจะมาในซ็อคเก็ท 1150 อยู่ดีนั่นเอง หลายๆคนที่ใช้บอร์ดซ็อคเก็ท 1150 อยู่มีเฮ เพราะว่าอะไร??? เพราะว่าไม่ต้องซื้อบอร์ดใหม่นั่นเอง แล้วก็มันจะตัดคำถามที่หลายๆคนสงสัยว่าแล้วเรื่องหละจะใช้แรม DDR3 เหมือนเดิมใช่มั๊ย? ก็ถ้าในเมื่อเจน 5 มันใช้กับบอร์ดรหัส H/Z8x และ H/Z97 ได้แล้วทำไมมันจะใช้เเรม DDR3 ไม่ได้หละจริงเปล่า อิอิอิ
บทสรุปสุดท้ายของซีพียูเจนที่ 5 อย่าง Broadwell ในตอนนี้
ถ้าถามผมว่าติ่นเต้นมั้ยกับการมาของเจนที่ 5 ผมจะบอกว่าไม่ตื่นเต้นก็ไม่ได้ แต่ ผมก็ไม่ได้รู้สึกที่จะต้องตื่นเต้นขนาดที่ว่าจะต้องไปอยากได้มันมาใส่ในเบ้าของเมนบอร์ดผมมากถึงขนาดนั้นนั่นก็เพราะว่าซีพียูที่ผมใช้ในตอนนี้มันก็ยังเเรงไปได้อีกหลายปี(ตอนนี้ผมใช้ i7 4770K)โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนให้มันยุ่งยากในการถอดโน่นนี่นั่นเพื่อใส่ใส่เจ้าเจน 5 เข้าไปเลยเทคโนโลยีใหม่ทำให้เราสามารถไปสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น ดีขึ้น สะดวกขึ้นก็จริง แต่เทคโนโลยีเก่าที่ถูกก้าวข้ามไปแค่วันเดียว อาทิตย์เดียว เดือนเดียว รึ ปีเดียว ถ้ามันยังใช้งานได้ดี ผมว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปวิ่งตามเพื่อให้เราเป็นคนไม่ตกเทรนด์ขนาดนั้น เทคโนโลยีเกิดขึ้นทุกวันเเละการที่เราจะก้าวตามมันให้ทัน มันก็มีตั้งมากมายหลายวิธีมากกว่าที่จะใช้เงินซื้อก็ได้
นับจากวันนี้จนถึงวันที่ Broadwell จะมา ผมก็จะยังคงมีความสุขอยู่กับเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Haswell อยู่ต่อไป สวัสดีครับผม 😉
เรียบเรียงโดย : ลุงต้า
กระเเสข่าว ซีพียูเจน 5 Broadwell อินเทล เปิดตัว กำลังมาเเรง ซ็อคเก็ทอะไร เเรมเจนเท่าไหร่ DDR3 DDR4 บอร์ดรหัส H/Z8x H/Z97 ใส่ได้มั๊ย cpu intel haswell
You must be logged in to post a comment.