PR: แคนนอน เอาใจสายกล้อง APS-C เปิดตัวเลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM น้ำหนักเบาสุดเพียง 150 กรัม

 

ตอบโจทย์การถ่ายทิวทัศน์มุมกว้าง จับภาพวัตถุในที่แคบ

และการถือกล้องถ่าย Vlog ให้ได้มุมมองสวยโดนใจ

 

กรุงเทพฯ 7 พฤศจิกายน 2566 – แคนนอน (Canon) เปิดตัว RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM เลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษ (Ultra-wide-angle) รุ่นใหม่ที่พัฒนามาสำหรับกล้อง APS-C EOS R โดยมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา และยังมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ อย่าง EF-S และ EF-M มอบทางยาวโฟกัสเทียบเท่าฟูลเฟรมที่ระยะ 16-29mm จึงครอบคลุมมุมมองกว้างมากเป็นพิเศษ เหมาะสำหรับการบันทึกภาพการเดินทาง เซลฟี และการถ่ายภาพในที่แคบ

“เนื่องจากระบบ EOS R ของเราได้รับความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงมุ่งมั่นขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับกล้องในระบบ APS-C EOS R ที่มีราคาไม่แพง โดยเฉพาะเลนส์รุ่นนี้จะช่วยให้ผู้ใช้กล้อง APS-C EOS R สามารถถ่ายภาพได้ทั้งภาพมุมกว้างไปจนถึงระดับอัลตร้าไวด์ ซึ่งขยายขอบเขตการสร้างสรรค์ผลงานให้กว้างไกลดังใจต้องการ” นางสาวเนตรนรินทร์ จันทร์จรัสสุข ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์อิมเมจจิ้งอินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าว

 

เลนส์ขนาดจิ๋วเพื่อนักเดินทางและงานถ่าย Vlog

เลนส์ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM มีขนาดเพียง 44.9 มม. เมื่อหดเข้า และมีน้ำหนักราว 150 กรัม นับว่าเป็นเลนส์ที่สั้นและเบากว่าเลนส์ EF รุ่นอื่น ๆ ทั้งรุ่น EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM ประมาณ 40% (ซึ่งมีขนาดราว 72 มม. หนัก 240 กรัม) และกะทัดรัดพกพาง่ายกว่าเมื่อเปรัยบเทียบกับรุ่น EF-M11-22mm f/4.5-5.6 IS STM (ซึ่งมีขนาดราว 58.2 มม. หนัก 220 กรัม) ด้วยขนาดที่เล็กจึงทำให้สามารถถือถ่ายวิดีโอ Vlog ด้วยมือเปล่าได้นิ่งกว่า และด้วยมุมมองที่กว้างเป็นพิเศษ จึงสามารถเก็บภาพทั้งตัวบล็อกเกอร์และทิวทัศน์โดยรอบได้ในเฟรมเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้เซลฟี

คุณสมบัติน้ำหนักเบาและขนาดเล็กทำให้เลนส์ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM เป็นอุปกรณ์เสริมที่ยอดเยี่ยมในชุดกล้องของนักเดินทาง เพราะแทบไม่สร้างภาระเรื่องน้ำหนักในยามเดินป่าหรือเดินทางไกล แต่กลับช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ได้สวยงามอย่างน่าทึ่ง!

 

มอบภาพที่สวยคมชัดและนิ่งกว่าแม้ถ่ายในที่มืด

เลนส์ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM ให้ภาพที่คมชัดและนิ่งกว่าแม้ถ่ายในที่แสงน้อย ด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคัลในตัวเลนส์ (Optical IS) ช่วยลดการสั่นไหวของกล้องได้เทียบเท่ากับความเร็วชัตเตอร์สูงสุด 4 สต็อป[1] จึงลดโอกาสการเบลอของภาพแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับกล้องที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัว เช่น EOS R7 จะได้ค่ากันสั่นรวม (Coordinated Control IS) สูงสุดเทียบเท่า 6 สต็อป[2]

 

สำหรับงานถ่ายวิดีโอ ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคัลในตัวเลนส์ (Optical IS) จะทำงานร่วมกับระบบกันสั่นแบบ Movie Digital IS ในตัวกล้อง เพื่อให้ได้ฟุตเทจที่นิ่งและเป็นธรรมชาติเมื่อเดินถ่ายภาพ คุณจึงสามารถบันทึกการเดินทาง Vlog ของคุณได้โดยใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นที่สุด ระบบกันสั่นแบบ 3 ทาง (Three-way Coordinated Control IS) ที่ทำงานร่วมกับระบบกันสั่นในตัวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกันสั่นไหวให้ดียิ่งขึ้น

 

ประสิทธิภาพการโคลสอัปมุมกว้างอันโดดเด่น

ช่างภาพสามารถถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็กในระยะใกล้โดยยังสามารถเก็บรายละเอียดของฉากหลังได้ เนื่องจากเลนส์สามารถโฟกัสการถ่ายวัตถุใกล้สุดเพียง 0.14 ม. ในทุกช่วง และขยายได้สูงสุดถึง 0.23 เท่า เมื่อเปิดใช้ระบบออโต้โฟกัส โดยสามารถปิดออโต้โฟกัสได้ที่ระยะ 10mm เพื่อให้ถ่ายภาพได้ใกล้วัตถุมากยิ่งขึ้น (ระยะโฟกัสใกล้สุด 0.086 ม.) และได้ภาพแบบ Half-macro (ขยายสูงสุด 0.5 เท่า) โดยได้เอฟเฟกต์แบบ Centre Focus Macro ที่สวยงามโดดเด่น

คมชัดทุกรายละเอียดทั่วทั้งภาพ

แม้ตัวเลนส์มีน้ำหนักเบา แต่ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM กลับมอบคุณภาพของภาพที่ดีกว่าเลนส์ EF-S ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ระยะชัดหลังจุดโฟกัส (Back Focus) ที่สั้นของเมาท์ RF ยังช่วยให้สามารถกำหนดค่าเลนส์เพื่อปรับคุณภาพของภาพให้เหมาะสมที่สุดและลดองค์ประกอบของภาพให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งยังสามารถควบคุมแสงโกสต์ (Ghosting) ความคลาดเคลื่อนของสี และความเบลอของสีได้ดี โดยมอบรายละเอียดที่สวยงามได้อย่างคมชัดสม่ำเสมอจนถึงขอบภาพ

 

ระบบโฟกัสประสิทธิภาพสูง

ระบบออโต้โฟกัสขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ leadscrew-type STM (Stepping Motor) ซึ่งช่วยให้การเปลี่ยนโฟกัสราบรื่นในระหว่างการบันทึกวิดีโอ เลนส์ยังรองรับ Focus Breathing Correction (ระบบลดความผันผวนของมุมมองเมื่อเปลี่ยนโฟกัส) ซึ่งจะช่วยแก้ไขการเปลี่ยนแปลงมุมรับภาพที่น่ารำคาญจากการเคลื่อนไหวของจุดโฟกัสในระหว่างการถ่ายวิดีโอ

 

ข้อมูลเชิงเทคนิคของ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM

รุ่นเลนส์ RF-S10-18mm f/4.5-6.3 IS STM
ทางยาวโฟกัส 10-18 mm
รูรับแสงกว้างสุด f/4.5-6.3
ระยะโฟกัสใกล้สุด (เมตร) 0.14 (AF, f=10-18mm)

0.086 (MF, f=10mm)

กำลังขยายสูงสุด 0.23x (f=18 mm),

0.5x (f=10 mm)

โครงสร้างเลนส์ 12 elements in 10 groups
เส้นผ่าศูนย์กลางฟิลเตอร์ Ø49mm
กลีบรูรับแสง 7
ระบบป้องกันภาพสั่นไหว (CIPA Standard Correction Effect) มี (สูงสุด 4.0 สต็อป)
ระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบ Coordinated Control IS (ร่วมกับระบบกันสั่งในตัวกล้องที่ใช้งานร่วมกัน) มี (สูงสุด 6.0 สต็อป)
เส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวเลนส์สูงสุด ประมาณ 69 mm × 44.9 mm
น้ำหนัก ประมาณ 150 กรัม

[1] ทางยาวโฟกัส 18mm เมื่อใช้กับ EOS R10 แกน Yaw/Pitch

[2] ทางยาวโฟกัส 18mm เมื่อใช้กับ EOS R7 แกน Yaw/Pitch

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า