UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง ต่างกันอย่างไร – จะเลือกใช้แบบไหนดี !?

หากบ้านใครอยู่ในพื้นที่ที่มีไฟตกหรือไฟกระชากบ่อยครั้ง ก็คงเคยเจอกับปัญหาเล่นเกมอยู่แล้วคอมดับ เล่นยังไม่จบเกม หรือยังไม่ทันได้เซฟงาน อุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่จำเป็นอย่างมากคือ UPS หรือเครื่องสำรองไฟที่เปรียบเสมือนการต่อชีวิตให้กับคอมพิวเตอร์ในช่วงที่ไฟดับ เพราะสามารถช่วยซื้อเวลาให้คุณเซฟงานหรือเซฟเกมจนกระทั่งปิดคอมได้ทัน ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายของงานที่สำคัญได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยยืดอายุการใช้งานคอมของคุณไม่ให้พัง จนเสียค่าซ่อมราคาแพงจากปัญหาไฟตกบ่อยหรือไฟดับอีกด้วยครับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี UPS อยู่มากมายในท้องตลาด มีหลากหลายราคาให้เลือกซื้อ ซึ่งหลักการง่าย ๆ อย่างหนึ่งในการเลือกซื้อ UPS ที่เหมือนกับ PSU (อุปกรณ์จ่ายไฟในคอมที่นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด) คือการเลือกซื้อเครื่องที่มีราคาสูงกว่าในระดับหนึ่ง แน่นอนว่ามันต้องมีฟีเจอร์อะไรบ้างที่เหนือกว่าเครื่องราคาถูกอยู่แล้ว และวันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันว่า UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง มีความแตกต่างกันอย่างไรและควรเลือกแบบไหนให้เหมาะกับคุณ

เรียนรู้รูปแบบของ UPS

แต่ก่อนที่จะไปเทียบประสิทธิภาพของ UPS เรามาเรียนรู้กันสักนิดว่ามันมีแบบใดบ้าง ปัจจุบันในหนังสือคอมพิวเตอร์มักกล่าวถึง UPS ทั้ง 3 แบบ ได้แก่

– Standby หรือ Offline: เป็น UPS ที่ราคาถูกที่สุด เน้นการใช้งานทั่วไปในอุปกรณ์ที่ไม่ได้ต้องการความแม่นยำในการจ่ายไฟฟ้าสักเท่าไร ลักษณะการจ่ายไฟคือ ในช่วงที่ไฟฟ้าปกติ ไฟฟ้าจากในบ้านทางหนึ่งจะวิ่งตรงผ่านเข้าไปในคอม ส่วนอีกทางหนึ่งจะวิ่งเข้ามาชาร์จแบตภายใน UPS และเมื่อถึงไฟดับ จะเกิดการสลับมาใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ซึ่งจังหวะที่สลับนี้จะกินเวลาสับเปลี่ยนประมาณ 20-100 มิลลิวินาที คอมที่กินไฟมาก ๆ อาจจะไม่สามารถใช้งาน UPS แบบนี้ได้เพราะมีช่วงของการสลับไฟยาวเกินไป แถมฟีเจอร์ยังน้อยที่สุดด้วย

 

– Line-Interactive: จะมีความคล้ายกับแบบ Standby แต่เพิ่มส่วนของ Inverter ที่ฉลาดขึ้นมาช่วยในการจัดการไฟ ไฟฟ้าจากในบ้านส่วนหนึ่งจะวิ่งเข้ามาเลี้ยงที่คอมโดยตรง และจะมี Inverter ส่งไฟไปชาร์จแบตเอาไว้ด้วย เมื่อไฟดับ Inverter จะจัดการสลับไฟจากแบตส่งมาที่คอมแทน ซึ่งระยะเวลาในการสลับแบตนั้นจะอยู่ประมาณไม่เกิน 10 มิลลิวินาทีเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเพียงพอกับคอมพิวเตอร์ เว้นเสียแต่ว่ามีอุปกรณ์ที่ต้องรับไฟตลอดเวลาก็อาจจะไม่เพียงพอครับ

 

– True On-line หรือ Double Conversion: ระบบนี้มีการจ่ายไฟที่เหมือนกับไฟบ้านปกติมากที่สุด โดยไฟบ้านที่เข้ามาใน UPS จะถูกแปลงจากกระแสสลับเป็นกระแสตรง (AC to DC) ไฟส่วนหนึ่งจะถูกส่งไปชาร์จแบต แล้วไฟอีกส่วนหนึ่งจะถูกแปลงจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ (DC to AC) ก่อนที่จะเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งการแปลงสองชั้นแบบนี้จะช่วยกรองสิ่งรบกวนต่าง ๆ ช่วยให้การจ่ายไฟได้นิ่งเรียบยิ่งกว่าไฟบ้านจริง ๆ เสียอีก

และเมื่อไฟตัดไฟจากแบตเตอรี่ซึ่งเดิมวิ่งเข้าออกอยู่แล้ว ก็จะวิ่งเข้าไปแทนที่ไฟบ้านที่โดนตัดออกทันที ส่งผลให้ไฟที่วิ่งเข้าเลี้ยงคอมมีความราบลื่นที่สุดเมื่อเทียบกับ UPS สองแบบก่อนหน้านี้ แถมยังรองรับฟีเจอร์การป้องกันต่าง ๆ มากที่สุดในนี้ด้วย

 

การส่งกระแสไฟ

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือรูปแบบการส่งสัญญาณไฟฟ้า ปกติแล้วอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มักจะรับกระแสไฟในรูปแบบ Sine wave ซึ่งปัจจุบัน UPS จะมีการส่งกระแสไฟอยู่ด้วยกัน 2 แบบที่นิยม คือแบบ Simulated sine wave และแบบ Pure sine wave เปรียบเทียบได้จากรูปทางด้านล่าง

Simulated sine wave ถูกออกแบบมาเพื่อเลียนแบบการส่งกระแสไฟฟ้าเหมือน Sine wave ธรรมชาติ แต่จะเห็นว่าในบางช่วงนั้นจะมีช่องโหว่ของกระแสไฟเกิดขึ้น ซึ่งหากเกิดไฟดับ ไฟกระชาก หรือไฟตกขึ้นมา UPS อาจส่งกระแสไฟฟ้าไปยังคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ หรืออาจส่งโหลดไปมากจนทำให้อุปกรณ์เสียหาย

ในขณะที่ UPS แบบ Pure sine wave พูดง่าย ๆ คือมันมีการส่งกระแสไฟฟ้าเหมือนการต่อไฟบ้านเข้าคอมพิวเตอร์โดยตรง เหมาะกับอุปกรณ์ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนของไฟฟ้าอย่างมาก โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีฟีเจอร์ Active PFC เช่น PSU ในปัจจุบันส่วนมากจะมีฟีเจอร์นี้มาให้ หากจะใช้ UPS ควรเลือกแบบ Pure sine wave (จริง ๆ ผมคิดว่ามันจำเป็นต้องใช้เสียด้วยซ้ำ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอุปกรณ์ภายในเครื่อง) ซึ่งเป็นจุดที่ Simulated sine wave ให้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม UPS แบบ Pure sine wave จะมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับแบบ Simulated sine wave ครับ

 

UPS ราคาถูก vs. ราคาแพง

สำหรับรุ่นที่ผมนำมาทดสอบนั้น รุ่นราคาถูกคือ CyberPower VP1600ELCD ซึ่งเป็น UPS แบบ Line-interactive, simulated sine wave

 

 

ส่วนรุ่นราคาแพงคือ CyberPower OLS1000E เป็น UPS แบบ True on-line, pure sine wave

จะเห็นว่ารุ่นราคาถูก VP1600ELCD สามารถเก็บไฟฟ้าได้ 960W ในขณะที่ OLS1000E สามารถเก็บไฟฟ้าได้ 900W บางคนอาจจะบอกว่า เอ๊ะ รุ่นราคาถูกมันจุไฟได้เยอะกว่า น่าจะเก็บจ่ายไฟได้เยอะกว่านานกว่าสินะ !! จริงหรือเปล่า ไปดูได้จากคลิปด้านล่างนี้เลยครับ

ในการนำ UPS แบบ Line-interactive มาใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ไฟที่จะจ่ายได้จะอยู่ที่ราว ๆ 50-70% ของความจุ W ที่มี (เมื่อนำ VP1600ELCD มาคำนวณแล้ว จะจ่ายไฟที่ราว ๆ 480W-670W) ในขณะที่ UPS แบบ True-online จะจ่ายได้ราว 80% ขึ้นไปเลยทีเดียว (เมื่อนำ OLS1000E มาคำนวณแล้ว จะจ่ายไฟที่ราว ๆ 720W ขึ้นไป)

CyberPower VP1600ELCD

เพราะฉะนั้น เมื่อประเมินแล้ว CyberPower OLS1000E จ่ายไฟได้ใกล้เคียงกับสเปกที่ระบุไว้มากกว่า เพราะเป็น UPS แบบ True-online, pure sine wave นอกจากนี้ UPS แบบ True-online ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาเกี่ยวไฟฟ้าได้เหนือกว่า UPS แบบ Line-interactive แน่นอนว่าฟีเจอร์เหล่านั้น CyberPower VP1600ELCD ให้ไม่ได้ครับ

CyberPower OLS1000E

แต่อย่างที่ผมได้บอกไว้ข้างต้นว่าราคาของ UPS ทั้งสองรุ่นนั้นมีความแตกต่างกันเกือบครึ่งหนึ่งเลย โดย CyberPower OLS1000E จะมีราคาอยู่ที่ 14,000 บาท ส่วน CyberPower VP1600ELCD จะมีราคา 8,500 บาท หลายคนก็อาจจะรู้สึกรักพี่เสียดายน้องว่าสุดท้ายแล้วจะเลือกตัวไหนดี True-online ก็อยากใช้ แต่จะกระทบกับเงินในกระเป๋าเกินไป ดังนั้น ผมมีแนวทางเลือกประมาณนี้ครับ

– ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณใช้ PSU แบบ Active PFC และ/หรือ มีสเปกที่ค่อนข้างแรง การ์ดจอกินไฟเยอะ ๆ อย่าง GeForce RTX 3080/3090, Radeon RX 6800XT/6900XT แนะนำให้เลือก UPS แบบ True-online, pure sine wave อย่างเจ้า CyberPower OLS1000E

– ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณสเปกธรรมดา ๆ เน้นการดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม DOTA 2 หรือ The Sims การเลือก UPS แบบ Line-interactive, simulated sine wave อย่าง CyberPower VP1600ELCD ก็ถือว่าอยู่ในช่วงราคาที่สมเหตุสมผลครับ

 

บทสรุป: เลือก UPS ที่ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุดสำหรับคุณ

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังมองหา UPS คู่ใจกับเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ ยังไงก็อยากให้เพื่อน ๆ เลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคอมของตนเอง โดยพิจารณาทั้งในเรื่องคุณสมบัติของ UPS, ฟีเจอร์ในการป้องกันไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ, สเกลและความสำคัญของอุปกรณ์ชิ้นต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเรื่องของราคา และแน่นอนว่าถ้าจะเลือก UPS ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมม ในราคาคุ้มค่านั้น อย่าลืมมองหา UPS จาก CyberPower กันนะครับ

Related articles

5 เว็บไซต์ ทดสอบความแรง CPU/GPU เชื่อถือได้ เช็กก่อนเลือกซื้อกันได้เลย !!

สำหรับใครที่วางแผนจะประกอบคอมเครื่องใหม่ แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อซีพียูหรือการ์ดจอตัวไหนดี วันนี้แอดมีเว็บไซต์ที่ทำการทดสอบฮาร์ดแวร์พวกนี้ไว้ให้เราเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น มีเว็บไหนบ้างไปดูกันเลยครับ Techpowerup เว็บนี้ผมชอบดูมาก เพราะทำกราฟออกมาอ่านเข้าใจง่าย และมีการทดสอบที่หลากหลาย ทั้งการใช้งานทั่วไป, การเล่นเกม, การใช้พลังงาน,...

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า