ลองใช้ Coollaboratory Liquid Pro กับฮีตซิ้งค์ลมธรรมดา จะลดความร้อนได้แค่ไหน ไปดูกัน!

ต้องขอโทษที่ผลัดไปหลายวัน พอดีติดกิจกรรมรับน้องใหม่ แต่วันนี้ว่างแล้ว เพื่อไม่ให้เสียเวลา เรามาดูกันเลยครับว่า Coollaboratory Liquid Pro เมื่อนำมาใช้กับฮีตซิ้งค์แบบพัดลมธรรมดาจะเป็นอย่างไรบ้าง

ก่อนอื่นเรามาดูเจ้าตัว Coollaboratory Liquid Pro ซึ่งในส่วน Thermal compound จะเป็นโลหะเหลว มีค่า Thermal conductivity อยู่ที่ 80 W/mK (ใครอยากรู้ว่าค่า Thermal conductivity มีความสำคัญอย่างไร เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่)

ในแพคเกจก็จะประกอบไปด้วย ตัว Coolaboratory Liquid Pro บรรจุในหลอดฉีด แล้วก็อุปกรณ์ทำความสะอาดซีพียูและฮีตซิ้งค์ (กระดาษชุบแอลกอฮอล์, ใยขัดผิวหน้าสัมผัส และสำลีก้าน)

ก่อนจะใช้งาน ต้องทำความสะอาดผิวสัมผัสของกระดองซีพียูและฮีตซิ้งค์ โดยเพื่อนๆ อาจจะใช้กระดาษชุดแอลกอฮอล์ที่แถมมาเช็ดออกก็ได้ แต่ผมว่ามันไม่พอ ก็เลยเอาสำลีชุบในแอลกอฮอล์เช็ดแผลที่มีอยู่ แล้วเช็ดทั้งกระดองซีพียู และหน้าสัมผัสของฮีตซิ้งค์ให้สะอาด

บางคนอาจจะใช้ใยขัดผิวหน้าสัมผัสช่วยก็ได้ แต่ผมไม่ได้ใช้ กลัวว่าเดี๋ยวขัดไปมามันจะมีฝุ่นเกาะ

ทีนี้ต้องจำไว้ว่า ก่อนจะลงโลหะเหลว ต้องแน่ใจว่าที่ผิวกระดอง และผิวสัมผัสฮีตซิ้งค์ไม่มีเศษอะไรติดอยู่ โดยเฉพาะซิลิโคนเก่า เพราะมันจะส่งผลต่อการระบายความร้อนครับ

จากนั้น เราหยดโละหะเหลวลงไปก่อนส่วนหนึ่ง แล้วเอาหัวเข็มเขี่ยๆ ให้โลหะเริ่มกระจายตัวออก ถ้ายังไม่ทั่วก็ใช้สำลีก้านที่แถมมา หรือถ้าใครมีก็เอามาช่วยปาดเพิ่มให้มันเรียบบาง และอยู่ทั่วผิวกระดอง (ผมมือใหม่ไปนิด ปาดเละมาก ตอนเอาลงเครื่องก็ปาดต่ออีกให้เรียบๆ ขึ้น)

*** สำคัญมาก เราจะไม่ใช้โลหะเหลว กับซิ้งค์ที่มีหน้าสัมผัสเป็นอะลูมิเนียม ยกเว้นว่ามีการชุบนิกเกิลหรือทองแดงเท่านั้น

อีกอย่างหนึ่งคือ เราต้องมั่นใจว่าตัวโลหะเหลวที่ทามันไม่เยอะเกินไป เพราะถ้าหากเราวางฮีตซิ้งค์ลงไปแล้วมีโลหะเหลวส่วนเกินไหลออกมาโดนบอร์ด บอร์ดจะเสียทันที

 

สำหรับการทดสอบนี้ ผมใช้งานซีพียู Ryzen 5 1600 และฮีตซิ้งค์ ID-COOLING SE-214C โดยในตอนแรกได้ Overclock CPU ไปที่ 3.8 GHz ดันไฟไปที่ 1.36V จากนั้นจึงใช้ CPU-Z ทำ Stress CPU วัดผลได้ ดังนี้

ถัดมาใช้โปรแกรม AIDA64 ทำ Stability test แล้วลองดูความร้อนสูงสุดที่โปรแกรม Coretemp นะครับ

 

ต่อมาได้เปลี่ยนไปที่ 3.9 GHz ดันไฟไปที่ 1.38V ซึ่งเมื่อครั้งที่ยังใช้ซิลิโคน ถ้าผมดันมาที่ความเร็วนี้ คอมจะค้าง แต่ตอนนี้คอมยังสามารถใช้งานได้ตามปกตินะครับ แต่เดี๋ยวเรามาดูความร้อนกัน เริ่มต้นที่ทำ Stress CPU ในโปรแกรม CPU-Z

จากนั้นจึงต่อด้วย AIDA64

จากความร้อนทั้งหมด ผมได้นำมาทำเป็นกราฟ โดยจะเลือกใช้อุณหภูมิสูงสุด ที่วัดได้จากโปรแกรม Coretemp ดังนี้ครับ

CPU-Z ได้ผลต่าง 8 องศาเซลเซียส

AIDA64 ได้ผลต่าง 13 องศาเซลเซียส

สรุปแล้วมันก็ช่วยให้เย็นลงได้จริงนะครับ อย่างน้อยก็สัก 5-10 องศาเซลเซียส ซึ่งคิดว่าถ้านำมาใช้กับโซลูชั่นระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพดี ก็น่าจะช่วยได้เยอะเลยทีเดียว

Related articles

[HOW TO] แก้ปัญหาเกม The Sims เด้งหลุด สำหรับ PC หรือโน้ตบุ๊กที่มี iGPU

เกมในตำนานกลับมาให้เราได้เล่นกันอีกครั้ง กับ The Sims และ The Sims 2 เรียกความรู้สึกสมัยเด็กกับคอมพิวเตอร์ยุค...

รู้จัก DeepSeek: AI น้องใหม่แซงหน้า GPT – ร่วมมือกับ AMD ผนวกเข้ากับ AMD Instinct

พี่จีนทำโลกตะลึงอีกแล้ว ด้วยการเปิดตัว DeepSeek ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่มีประสิทธิภาพสูงเทียบเคียงกับเจ้าตลาดอย่าง OpenAI ChatGPT แถมยังใช้ต้นทุนในการพัฒนาที่ต่ำกว่าหลายเท่า...

สรุปงาน CES 2025 – ปีนี้ AMD เปิดตัวอะไรเด็ด ๆ บ้างไปดูกันเล้ยยย !!

งาน CES 2025 ปีนี้ หลายคนให้ความสนใจเป็นพิเศษ เพราะอยากเห็นเทคโนโลยีน่าตื่นเต้นจากหลาย ๆ ค่าย และในบทความนี้แอดจะพาเพื่อน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า