[Extreme History] Intel 4 Cores/8 Threads ยุครุ่งเรืองค่ายฟ้า ก่อนการมาถึงของ Ryzen

ถ้าไม่มี AMD Ryzen ค่าย Intel ก็อาจทำซีพียู 4 Cores/8 Threads ตลอดไป นี่อาจจะเป็นคำพูดติดตลกที่เราได้เห็นกันบ่อย ๆ ในวงการ IT จากที่ก่อนหน้านี้ Intel ครองตลาดซีพียูมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งการมาถึงของ AMD Ryzen ได้ทำให้บัลลังก์สั่นคลอนจน Intel ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเลยทีเดียว

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่า คือ การเพิ่มแกนประมวลผลให้กับซีพียู Intel Core Series ทั้งที่ก่อนหน้านี้ Intel ใช้จำนวนแกนประมวลผลเหมือนกัน (เกือบ) ทั้งหมด สำหรับซีพียูตัวท็อปตระกูล Core i7 ระดับผู้ใช้งานทั่วไป โดยมีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads มานานถึง 9 ปี !!

เรื่องราวจะเป็นอย่างไร พบกับบทความ Extreme History ตอน “Intel 4 Cores/8 Threads ในตำนาน ก่อนการมาถึงของ Ryzen”

4 Cores/8 Threads คือ ผู้นำด้านการเล่นเกม

จริง ๆ ถ้าย้อนไปในสมัย Intel Core 2 Series ในซีพียูกลุ่ม Core 2 Quad จะใช้แกนประมวลผล 4-Core แต่ยังไม่รองรับเทคโนโลยี Hyperthreading ทำให้มีแกนประมวลผลทั้งหมด 4 Cores/4 Threads ในช่วงเวลานั้นถือว่าล้ำยุคมาก ๆ แล้วนะครับ

แต่เมื่อ Intel เปิดตัว Intel Core I Series และประเดิมด้วย Intel Core i7-920 เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2551 เป็นชิปสถาปัตยกรรม Nehalem ขนาดโหนด 45nm และมีชื่อโค้ดเนม Bloomfield มาพร้อมแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads

ในปีเดียวกัน Intel เปิดตัวซีพียู Core i7 มาอีก 2 รุ่นนะครับ คือ Core i7-965 Extreme และ Core i7-940

และถึงแม้ Core i7-920 จะเป็นน้องเล็กสุดในแถว แต่เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เปิดตัวมาก่อนเพียง 1 เดือน อย่าง AMD Phenom X4 9950 (เปิดตัวตุลาคม 2551) ทาง Core i7-920 ก็ยังทำประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้ดีกว่าครับ และนี่คือก้าวสำคัญของ Intel ในการเปิดศักราชสู่ซีรีส์ Core i และทำออกมาได้ดีจน Anandtech ถึงกับเรียกมันว่า “The Dark Knight”

 

เมื่อคู่แข่งสู้ไม่ได้ ทำให้เราไม่ต้องผลักดันตัวเอง

แม้ AMD จะออกซีพียูรุ่นใหม่ก็แล้ว หรือเปลี่ยนสถาปัตยกรรมเป็น Bulldozer ก็แล้ว (ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นหลุมดำของ AMD เลยก็ว่าได้ครับ ใครอยากรู้อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ลิงก์นี้) แต่ก็ไม่สามารถสู้จ้าวตลาดอย่าง Intel ได้

ประกอบกับในช่วงเวลานั้น เกมส่วนใหญ่ยังไม่ถูกปรับแต่งให้รองรับแกนประมวลเยอะ ๆ ได้ดีเท่าที่ควร ส่วนมากจะอยู่ที่ 2-Core เก่ง ๆ ก็ได้สัก 4-Core ทำให้ Intel รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มแกนประมวลผลลงไป แต่เน้นที่ความเร็ว Clock speed และ IPC ดีกว่า

หลังจากนั้น Intel ก็ทยอยเปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ ๆ ออกมา เรียงตามลำดับ ดังนี้

  • Intel Sandy Bridge 45nm ตัวท็อป Core i7-2600K (มกราคม 2554) และ Core i7-2700K (ตุลาคม 2554)

  • Intel Ivy Bridge 22nm ตัวท็อป Core i7-3770K (เมษายน 2555)

  • Intel Haswell 22nm ตัวท็อป Core i7-4770K (มิถุนายน 2556) และ Core i7-4790K (มิถุนายน 2557)

 

  • Intel Broadwell 14nm ตัวท็อป Core i7- 5775C (มิถุนายน 2558) ซีรีส์นี้มาไวไปไว บางคนไม่นับรุ่นเลย

  • Intel Skylake 14nm ตัวท็อป Core i7-6700K (สิงหาคม 2558)

  • Intel Kaby lake 14nm ตัวท็อป Core i7-7700K (มกราคม 2560)

และแน่นอนว่าทุกรุ่น มีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads ครับ

 

Ryzen เงามืดใกล้เข้ามา

ช่วงเวลาของ Intel 4 Cores/8 Threads ดำเนินมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2560 จนกระทั่ง AMD ยกเครื่องสถาปัตยกรรมซีพียูใหม่ทั้งหมด จากรถไถแก่ ๆ มาเป็นสถาปัตยกรรม Zen ประเดิมด้วย Ryzen 7 1700 และ 1800X ที่มาพร้อมแกนประมวลผลสูงถึง 8 Cores/16 Threads เทียบแล้วมีแกนประมวลผลเท่ากับ Intel Core i7-7820X ที่เป็นซีพียู Workstation เลยทีเดียว

การมาของ Ryzen ทำเอา Intel อึ้งกันไปพอสมควร ด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้าน Multithread ซึ่งในเวลานั้น มีหลายเกมที่นักพัฒนาเริ่มปรับให้เกมรองรับแกนประมวลผลซีพียูได้เยอะขึ้น จึงกลายเป็นข้อดีของ Ryzen โดยปริยาย

ถึงแม้ Intel จะได้เปรียบในด้านความแรง Single-thread หรือความแรงต่อ Core แต่แรงแค่แกนเดียวมันหากินอะไรได้น้อยลง สุดท้าย Intel จึงต้องเพิ่มแกนประมวลผลในซีพียูรุ่นถัดไป คือ Intel Core i7-8700K ที่มาพร้อมแกนประมวลผล 6 Cores/12 Threads

และนี่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสิ้นสุดยุคทองของซีพียู 4 Cores/8 Threads ลงในที่สุด หากลองติดตามดูจากผลสำรวจของ Steam ในปี 2020 มีซีพียู 4-Core ถูกใช้งานมากถึง 50% แต่ล่าสุดเหลืออยู่เพียง 19% ในขณะที่ซีพียู 6-Core ขึ้นมาเป็นที่นิยมแทนครับ

 

เกร็ดน่ารู้: Core i7 6 Cores/12 Threads หลงยุค “Gulftown”

ในช่วงเวลาปี 2553-2554 ทาง Intel ได้เปิดตัวซีพียู Core i7 ที่ใช้ชื่อโค้ดเนม Gulftown ชิป 32nm ในตอนนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 4 รุ่น คือ Core i7-970, Core i7-980, Core i7-980X และ Core i7-990X ซึ่งทุกรุ่นจะมีแกนประมวลผล 6 Cores/12 Threads แต่จะต่างกันที่ Clock speed ครับ

โอเคถ้ามองแค่นี้หลายคนน่าจะพอนึกออกว่า รุ่นที่ลงท้ายด้วย X น่าจะเป็นซีพียูกลุ่ม Enthusiastic หรือกลุ่มผู้ใช้ด้าน Workstation แต่ทำไมถึงมีรุ่น Core i7-970 และ Core i7-980 เหมือนเป็นรุ่นธรรมดาทั่วไปโผล่มาด้วยล่ะ ??

เท่าที่แอดได้ไปสืบค้นข้อมูลมา จริง ๆ เจ้า Core i7-970 และ Core i7-980 ถูกจัดให้เป็นกลุ่มซีพียูสำหรับผู้ใช้ทั่วไปนี่แหละ แต่เหมาะกับค้นที่เน้นคอมประสิทธิภาพสูงหน่อย ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า Intel เคนทำซีพียูรุ่นธรรมดาที่มีแกนมากกว่า 4-Core ออกมาด้วยนะ แต่ทำไมไม่ทำต่อก็ไม่รู้ แล้วย้ายพวกแกนเยอะ ๆ ไปไว้ในกลุ่ม Extreme Edition ที่เป็นซีพียู Workstation แทน

Related articles

5 เว็บไซต์ ทดสอบความแรง CPU/GPU เชื่อถือได้ เช็กก่อนเลือกซื้อกันได้เลย !!

สำหรับใครที่วางแผนจะประกอบคอมเครื่องใหม่ แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อซีพียูหรือการ์ดจอตัวไหนดี วันนี้แอดมีเว็บไซต์ที่ทำการทดสอบฮาร์ดแวร์พวกนี้ไว้ให้เราเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น มีเว็บไหนบ้างไปดูกันเลยครับ Techpowerup เว็บนี้ผมชอบดูมาก เพราะทำกราฟออกมาอ่านเข้าใจง่าย และมีการทดสอบที่หลากหลาย ทั้งการใช้งานทั่วไป, การเล่นเกม, การใช้พลังงาน,...

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า