พาชม: บูธ GIGABYTE ส่งท้ายด้วยเมนบอร์ดหลายรุ่น และเปิดตัวแรม AORUS RGB DDR4

สำหรับบูธสุดท้ายในงาน Computex 2018 จะเป็นของบูธ GIGABYTE ซึ่งได้มีการเปิดตัวเมนบอร์ดใหม่หลายรุ่น รวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เพื่อเพิ่มตัวเลือกให้กับผู้ใช้งานครับ

Mainboard

อันดับแรก เราจะมาดูเมนบอร์ด ที่มีการจัดแสดงโชว์ในงานกันนะครับ

Z370 AORUS Ultra Gaming 2.0-OP

ตัวแรก เป็นเมนบอร์ดชิปเซต Z370 ที่มีจุดขายในเรื่องการ Built-in Intel Optane 32 GB มาในตัวเมนบอร์ดด้วยเลย ซึ่งเป็นการขายบันเดิลที่ค่อนข้างคุ้มค่า รวมถึงมีชิปเสียงคุณภาพสูง ทำให้มั่นใจได้กับการเอนเตอร์เทนครับ

 

Z370 AORUS Gaming 7-OP

บอร์ดรุ่นนี้ ก็แถม Intel Optane 32GB มาให้ด้วยเช่นกัน คุณสมบัติของบอร์ดจะคล้ายกับด้านบน แต่จะมีชิปทางด้านเสียง และเน็ตเวิร์คที่คุณภาพสูงกว่าครับ

 

X299 AORUS Gaming 7 PRO

ส่วนเจ้าตัวนี้ จะเป็นชิปเซต X299 สำหรับซีพียูกลุ่ม Core-X โดยจะไม่มี Intel Optane มาให้ แต่ก็ทดแทนได้ด้วยชิปเสียงคุณภาพสูง รวมถึงมีไฟ RGB ที่สามารถควบคุมได้ RGB Fusion ครับ

 

B360 AORUS Gaming 3 Wifi

บอร์ดรุ่นเล็กลงมาหน่อย ในชิปเซต B360 จะมีจุดเด่นในเรื่องของการมีตัวรับไวไฟอยู่ภายใน และมีสล็อตใส่ M.2 Drive ได้ 2 ช่องครับ

 

GIGABYTE C621-SD8

สำหรับเมนบอร์ดรุ่นนี้ จะใช้ซ็อกเกต LGA 3647 ซึ่งออกแบบมาสำหรับซีพียู Xeon เพื่อใช้งานทางด้านเซิร์ฟเวอร์ อีกทั้งยังมีซ็อกเกตใส่ซีพียูถึง 2 ช่องครับ

 

DDR4 RAM

AORUS RGB DDR4

สำหรับแรมที่มีโชว์ในงาน ได้ถ่ายมารุ่นเดียวคือ AORUS RGB  DDR4 ซึ่งมี Heat spreader ดีไซน์เฉพาะจาก AORUS รองรับการปรับไฟ RGB ด้วยซอฟต์แวร์ RGB Fusion ครับ

 

Power Supply

AORUS AP850GM

PSU รุ่นนี้ ได้ถูกออกแบบภายใต้แบรนด์ AORUS เป็น PSU 850 วัตต์ ที่รองรับมาตรฐาน 80+ Gold และมีโครงสร้างแบบ Full modular ทำให้เราสามารถถอดเปลี่ยนสายไฟได้ตามต้องการครับ

 

Mini-PC

GIGABYTE BRIX VR

เป็น Mini-PC รูปทรงลูกบาสก์แนวตั้ง มีฟังก์ชันครบครัน และจุดเด่นในการรองรับเครื่องเล่น VR ด้วยพลังจากการ์ดจอ GTX 1060 6GB แต่ขัดใจนิดหนึ่ง สำหรับซีพียูที่ดันเลือกใช้ Core i7-7700HQ ซึ่งมันเป็นซีพียูกลุ่ม Mobile อะ น่าจะใส่รุ่นเดสก์ทอปมาให้ผมจะปลื้มมากๆ เลย

 

Docking

GIGABYTE RX 580 Gaming Box

เป็นกล่อง External GPU ที่นำมาใช้ต่อแยก ในกรณีที่โน้ตบุ๊ค หรือ Mini-PC ของเรา ต้องการประสิทะภาพในการประมวลผลกราฟฟิก โดยเฉพาะการเล่นเกม มันจึงมาพร้อมกับการ์ดจอ Radeon RX 580 8GB พร้อมเชื่อมต่อด้วยพอร์ต Thunderbolt 3 ครับ

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลิ้งค์นี้ เลยครับ

 

Graphics Card

AORUS GeForce GTX 1080 8G

ปิดท้ายกันด้วยการ์ดจอรุ่น AORUS GeForce GTX 1080 8G ซึ่งเป็นการ์ดจอ 3 พัดลม มีการเลือกใช้พัดลม WINDFORCE และออกแบบ back plate โดยใช้ทองแดง ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนที่ดีขึ้นกว่าเดิมครับ

แต่แหม กลัวว่าเดี๋ยวมันจะร้อน เอาไปจุ่มน้ำหน่อยละกัน (เป็นของเหลวที่ไม่นำไฟฟ้านะครับ ไม่ใช่น้ำจริงๆ) แล้วเราไปเล่นเกมแบบ 3 จอกันเลย

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า