การ์ดจอปัจจุบันนับวันจะแรงขึ้นทุกที, ความต้องการในด้านระบายความร้อนถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆก็ว่าได้. และสำหรับระบบทำความเย็นที่มาจากค่ายโมต่างๆหรือเวอร์ชั่น custom coolers ถือว่าทำหน้าที่ได้ดีไม่น้อย, หากเทียบกับของที่แถมมาให้กับทางโรงงานนั้นถือว่าอาจจะไม่พอ; เหตุผลเดียวที่มันจำเป็นก็เพราะเพื่อให้การทำงานให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มที่ชอบ overclock (ซึ่งกระทำได้ยากหากไม่เข้าใจ). การแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับทางด้านอุณภูมินั้นอย่างแรกที่คิดถึงก็คือรอบหมุนพัดลมซึ่งต้องมีองค์ประกอบมาเกี่ยวข้องด้วยทั้งทางด้านเสียงรบกวนและประสิทธิภาพที่ดีด้วย (จำนวน FPS). ในบทความนี้เรานำเสนอ MSI Afterburner utility ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น.
หากยังไม่เคยใช้, เราแนะนำหามาใส่เอาเวอร์ชั่นล่าสุดจากเว็ป MSI. และใส่ทางเลือกเพิ่มไปอีกหน่อยด้วย Kombuster หากวางแผนทดสอบความเสถียรของตัว GPU.
จะเห็นได้ว่า UI นั้นค่อนข้างจะเข้าใจง่ายแต่เอาเข้าจริงๆก็ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงเช่นกันกว่าทุกอย่างจะลงตัว.
ก่อนที่จะเลือก fan profile หรือรูปแบบการทำงานของพัดลม, ขอแนะนำว่าให้เลือกการเริ่มใช้งาน Afterburner กับ Windows. และกดไปที่ “Fan” tab เพื่อเริ่มใช้งาน.
คุณจะเห็นเส้นกราฟของพัดลมอยู่ในตำแหน่ง default fan curve/อุณภูมิปรกติ. ค่าเส้นตรงหรือ vertical numbers หมายถึงรอบหมุนส่วนเส้นแนวนอนหรือ horizontal numbers หมายถึงอุณภูมิ. ส่วนค่ากราฟ default curve จะเป็นค่าเฉลี่ยซึ่งเป็น 1:1 ratio ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึง thermal throttling หรือการระบายที่ไม่เพียงพอ เหตุเพราะรอบหมุนของพัดลมนั้นเร็วไม่พอต่อการระบายความร้อนที่เกินมา. หากลากจุดกลับมานิดหน่อยก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้. หากคุณกดระหว่างสองจุดซึ่งกินไปทางซ้ายหน่อยบนกราฟ ซึ่งมันจะเป็นตำแหน่งใหม่ที่กำหนดขึ้นมาและสามารถปรับแต่งให้มันดีมากขึ้น.
เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับขั้นตอนนี้ว่าคุณจะทนฟังเสียงรบกวนได้มากขนาดไหนกับรอบหมุนพัดลมที่สมควรที่จะเป็น. และหากคุณติดตั้งหรือ installed Kombuster ขึ้นมา, จะเป็นตัวช่วยและทดสอบว่าระดับเสียงรบกวนนั้นมันขนาดไหน. หากว่าเสียงรบกวนนั้นมันมากเกินไป คุณสามารถที่จะถอยกลับได้. ทางเราส่วนใหญ๋จะไมทำให้ถึง “100 เปอร์” point ที่จุด default temperature/หรืออุณภูมิปรกติ เหตุเพราะหากกำหนดรอบหมุนพัดลมให้ทำงานเต็มที่เสียงรบกวนจะดังเกินไป.
หลังจากเป็นที่พอใจแล้วสำหรับรูปแบบหรือ profile ใหม่ที่คุณสร้างขึ้นมา, ก็กด “OK” และ save ค่าเซ็ตติ่งของคุณเอาไว้ให้เป็น หนึ่งในห้ารูปแบบหรือ profiles ที่แสดงอยู่ทางด้านล่างขวาของหน้าหลัก UI.
สำหรับ Afterburner นี้ฟังค์ชั่นการใช้งานถือว่าใช้ง่ายเข้าใจเร็วสำหรับการควบคุมตัวพัดลม. สำหรับ utility นี้มันยังช่วยในด้านการแสดงสถานะการทำงานของตัว GPU ซึ่งจะนำเสนอทางด้านสถิติในการใช้งานได้อย่างดีเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบรวมถึงทางด้าน overclocking ด้วย. หรือแม้กระทั้งการทดสอบประสิทธิภาพหรือจำนวนของ FPS, ถึงแม้มันจะไปสร้างปัญหาให้กับ overlays ตัวอื่นเช่น ของทาง Steam และ Origin. ถึงแม้คุณจะไม่ใช้อ๊อฟชั่นที่มีมาให้ทั้งหมดก็ตาม, แต่สำหรับ afterburner น่าจะเป็นตัวซอร์ฟแวร์ที่มาช่วยการปรับแต่ง GPU cooling ได้ไม่มากก็น้อย.
ที่มาเครดิต/Sources:
http://www.pcgamer.com/how-to-customize-gpu-cooling-using-msi-afterburner/?utm_content=buffer1d486&utm_medium=social&utm_source=facebook&utm_campaign=buffer-maxpcfb
You must be logged in to post a comment.