[เรื่องน่ารู้] ส่วนประกอบสำคัญในการ์ดจอที่ควรรู้จัก เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อ

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมีบทความดีๆ สำหรับผู้ที่อยากประกอบคอมพิวเตอร์ใหม่มาให้อ่านกัน ซึ่งในครั้งนี้เป็นวิธีการอ่านสเปคของการ์ดจอ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการเลือกซื้อ หรือใช้ในการเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

เรามาเริ่มต้นกันด้วยข้อมูลสำคัญที่อยู่ใน GPU-Z กันดีกว่า ข้อมูลในส่วนนี้ ผมคิดว่าน่าจะเพียงพอที่ทำให้เพื่อนๆ เข้าใจถึงสเปคการ์ดจอได้พอสมควรแล้วล่ะ (ไม่ได้เรียงตามลำดับก่อนหลังนะครับ แต่จะกล่าวถึงส่วนที่สำคัญก่อนเป็นอันดับแรก)

ชิปกราฟิก

  1. สถาปัตยกรรมของชิปประมวลผล

อ้าว เปิดมาอย่างแรกก็ไม่มีข้อมูลใน GPU-Z ซะงั้น อย่าเพิ่งงงนะครับ สถาปัตยกรรมของชิปกราฟิก อันนี้เพื่อนๆ อาจจะต้องเช็คข้อมูลจาก Nvidia, AMD หรือบริษัทพาร์ทเนอ ว่าชิปกราฟิกในการ์ดจอของเรามันมีสถาปัตยกรรมอะไร

อย่างไรก็ตาม การ์ดจอที่วางขายอยู่ในตอนนี้ (สมมุติว่ามันยังวางขายตามปกตินะ) จะมีสถาปัตยกรรมดังนี้ครับ

Nvidia 700 series = Kepler แต่มีบางส่วนใช้ Fermi หรือ Maxwell

Nvdia 900 series = Maxwell

Nvidia 1000 series = Pascal

AMD 400 series = Polaris

AMD 500 series = Polaris

AMD Vega series = Vega 10

** อันนี้เป็นข้อมูลคร่าวๆ นะครับ จริงๆ มันอาจมีการเรียกโค้ดเนมที่แตกต่างกัน เช่น Polaris 10/11/12 แต่โดยรวมจะอยู่ในการออกแบบ GCN 4th gen **

ความสำคัญของสถาปัตยกรรมชิปกราฟิก จะอยู่ที่โครงสร้างในการออกแบบ สถาปัตยกรรมที่ใหม่กว่า จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และกินไฟน้อยลง

  1. GPU Clock

GPU Clock คือความเร็วของชิปกราฟิกในการ์ดจอ เมื่อเทียบกับซีพียูมันก็คือค่าสัญญาณนาฬิกา อย่างเช่น 3.0 / 3.5 GHz ในซีพียูนั่นแหละ ซึ่งถ้าการ์ดจอมีค่า GPU Clock สูงมากเท่าไร ความเร็วและประสิทธิภาพในการประมวลผลก็จะมากขึ้นด้วย (แต่ก็อาจจะกินไฟมากขึ้นด้วยนะ)

 

แรมการ์ดจอ

  1. Memory Type

มาดูทางด้านของแรมกันบ้าง เริ่มต้นกันที่ประเภทของแรม สำหรับการ์ดจอที่อยู่ในตลาดตอนนี้ น่าจะมีเหลืออยู่แค่ DDR3, GDDR5, GDDR5X และ HBM2 ซึ่งแรมแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป

อย่างเช่นแรม GDDR5X ก็จะมีความเร็วและแบนด์วิดธ์ที่มากกว่า GDDR5 และ DDR3 ส่วน HBM2 ก็เป็นแรมประเภท High memory bandwidth ที่มีบัสแรมกว้างและมีแบนด์วิดธ์สูงกว่าแรม GDDR ทั่วไปครับ

ส่วนวงเล็บข้างหลัง มันคือชื่อผู้ผลิตแรมนะครับ อย่างของผมเป็นแรมของ Hynix สำหรับนักขุดเหมือง Cryptocurrency อาจพิจารณาในส่วนนี้ด้วย เพราะมันมีความเกี่ยวข้องกับกำลังในการขุดครับ

  1. Memory Clock

อันนี้จะคล้ายๆ กับ GPU Clock ครับ ความเร็วของแรม จะเป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการส่งผ่านข้อมูลของแรมว่าใน 1 วินาที จะมีทำได้กี่ครั้ง อย่างการ์ดจอผมมีความเร็วแรม 1750 MHz หมายความว่าใน 1 วินาที แรมสามารถส่ง-รับข้อมูลได้ 1,750,000,000 ครั้ง!

เพระฉะนั้น ถ้าแรมเร็วมาก ก็จะยิ่งทำให้การส่งข้อมูลได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าเราปรับความเร็วแรมเพิ่ม โดยไม่ปรับ GPU Clock ด้วย อาจเกิดอาการคอขวดได้ เพราะมันทำงานไม่สัมพันธ์กัน อย่าลืมพิจารณาตรงจุดนี้ด้วยนะครับ

3. Bus Width

หรือเรียกอีกอย่างว่า Memory Interface หมายถึงจำนวนข้อมูลที่แรมสามารถรับเข้าหรือส่งออกผ่านบัส ใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา ยิ่งมีบัสสูง แสดงว่าสามารถส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้ใน 1 ครั้ง

ยกตัวอย่างเช่น แรมการ์ดจอผมมีความเร็วที่ 1750 MHz และมีบัสกว้าง 256 บิต หมายความว่า แรมสามารถส่งข้อมูลขนาด 256 บิต ผ่านบัสได้ 1,750,000,000 ครั้ง ใน 1 วินาที หรือคิดเป็นวินาทีละ 56 GB (ไม่รู้คำนวณถูกไหม เพื่อนๆ ไปเช็คอีกทีนะ 555)

  1. Memory Bandwidth

มาถึงส่วนสำคัญของแรมกันแล้ว Memory Bandwidth เป็นตัวบ่งบอกประสิทะฺภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างแรม และชิปกราฟิก ถ้ามีแบนด์วิดธ์ในอัตราที่สูง หมายความว่าการ์ดจอมีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดี

ในการคำนวณ Memory Bandwidth จะใช้ข้อมูล Memory Clock, Bus Width และ Memory type โดยใช้สูตร

Memory Bandwidth = (Memory Clock (MHz) x Bus width) / 8 (เพื่อเปลี่ยนค่าจากบิต เป็น ไบต์) x ตัวคูณตามประเภทของแรม

ซึ่งตัวคูณตามประเภทของแรม มีดังนี้

HBM1 / HBM2: 2

GDDR3: 2

GDDR5: 4

GDDR5X: 8

อย่างเช่นการ์ดจอผม มี Memory Bandwidth = (1750 x 256) /8 x 4 = 224 GB/s

แรมจะมีความเกี่ยวของกับเรื่องของการจัดเก็บ Texture ต่างๆ ของเกม อีกทั้งยังมีความสำคัญในการลบรอยหยัก ใครที่มีแรมเร็วๆ บัสกว้างๆ แบนด์วิดธ์เยอะๆ ก็จะได้เปรียบในด้านนี้ครับ

  1. ขนาดของแรม

ในส่วนนี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาเหมือนกันนะครับ ใช้แนวคิดเดียวกับแรมคอมพิวเตอร์ ถ้าแรมยิ่งเยอะ มีแนวโน้มที่การประวลผลกราฟิกจะทำได้ดีกว่า หรืออย่างน้อบ มันก็ทำให้การ์ดจอสามารถใช้แรมที่มีอยู๋ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่รบกวนแรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ (ถ้าแรมการ์ดจอไม่พอ มันจะไปใช้แรมเครื่องมาช่วยเสริม)

ในปัจจุบันผมคิดว่า ในการเล่นเกม การ์ดจอควรจะมีแรมอย่างน้อยสัก 4 GB ขึ้นไป เพื่อให้สามารถเล่นเกมได้อย่างไม่มีสะดุด จริงๆ แรม 2 GB มันก็พอนะครับ สำหรับใครที่ไม่ได้เล่นเกมหนักๆ หรือเน้นเล่นแค่พวก CS:GO แต่ถ้าจะเล่น GTA อะไรแบบนี้ ก็แนะนำให้ 4 GB ขึ้นไปจ้า

** หากเพื่อนๆ อยากทราบข้อมูลของแรมแต่ละประเภทที่ใช้ในการ์ดจอ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “[เรื่องน่ารู้ของการ์ดจอ] เปรียบเทียบแรมการ์ดจอทั้ง 5 แบบ พร้อมคุณสมบัติที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน” **

 

ส่วนประกอบอื่นๆ

นอกจากส่วนประกอบที่ผมกล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีรายละเอียดยิบย่อยอีกเล็กน้อย เอาเป็นว่าให้รู้จักว่ามันคืออะไรก็พอ

  1. ROPs

Render Output Unit(s) หรือ Raster Operations Pipeline เป็นส่วนที่ช่วยในการจัดพิกเซลของภาพที่ถูกประมวลผลแล้ว ให้มีความสวยงาม และมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานลดรอยหยักของภาพด้วย

  1. Shaders

อันนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของแสงและเงาครับ

  1. Texture Fillrate

เป็นตัวเลขที่บ่งบอกจำนวนของพื้นผิวและพิกเซล ที่ถูกเรนเดอร์ออกมาใน 1 วินาที หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความสามารถในการวาดภาพของการ์ดจอนั่นเอง

  1. Pixel Fillrate

อันนี้จะคล้ายๆ กับทางด้านบน เป็นความสามารถในการใส่เม็ดพิกเซลลงบนภาพ ซึ่งค่านี้เป็นค่าที่นิยมพูดถึงในการดูสเปคการ์ดจอสมัยก่อน แต่ตอนนี้มันไม่ค่อยมีบทบาทเท่าไรแล้วล่ะ

ทีนี้ในการเลือกการ์ดจอ บางครั้งเราต้องรู้จักเรื่องระบบระบายความร้อนในการ์ดจอด้วยนะครับ เพราะความร้อนจะส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของชิปกราฟิก เพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องเกี่ยวกับระบบระบายความร้อนของการ์ดจอได้ที่ “[เรื่องน่ารู้ของการ์ดจอ] มารู้จักระบบระบายความร้อนประเภทต่างๆ ที่ใช้กับการ์ดจอกันเถอะ

สำหรับบทความในวันนี้ น่าจะช่วยให้เพื่อนๆ สามารถเลือกซื้อการ์ดจอที่ถูกใจได้แล้วนะครับ ยังไงตอนนี้ก็ขอให้ราคาการ์ดจอรีบลงมาหน่อย เราจะได้ประกอบคอมกันอย่างสบายใจเนอะ ^^

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.gamersnexus.net/guides/717-gpu-dictionary-understanding-gpu-video-card-specs

Related articles

HOW TO: เข้าไบออสง่าย ๆ ไม่ต้องกดคีย์ลัด ด้วย Shortcut บน Windows !!

สำหรับใครที่กดคีย์ลัดเข้าไบออสไม่เคยจะทัน หรือโน้ตบุ๊กบางรุ่นเราก็ไม่รู้ปุ่มคีย์ลัดของมัน วันนี้แอดมีวิธีเข้าไบออสผ่านชอร์ตคัตบน Windows ง่าย ๆ ถ้าเผลอหลุดเข้ามาใน Windows ก็กดชอร์ตคัตไปได้เลยครับ เริ่มแรกบนหน้าเดสก์ท็อป...

Black Myth: Wukong การ์ดจอต้องแรงแค่ไหนถึงเอาอยู่

เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับเกมฟอร์มยักษ์แห่งปีอย่าง Black Myth: Wukong โดยตัวเกมจะมาในแนว RPG ที่ได้แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไซอิ๋ว” ที่เราทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี...

MSI โชว์แรม DDR5 CAMM2 ปฏิวัติวงการคอม – แรงกว่า, ประหยัดไฟกว่า, ซ่อมง่ายกว่า ไม่ขวางทางลม !!

จากการเปิดตัวไปในงาน Computex 2024 แรมชนิดใหม่ DDR5 CAMM2 กำลังเข้ามาปฏิวัติวงการประกอบคอม ซึ่งทาง MSI...

Windows ติดบั๊ก ทำให้ AMD Ryzen แรงลดลง หากไม่เข้าถึงสิทธิ์ Admin

พักหลังที่ Windows 11 เริ่มเสถียร ก็ไม่ค่อยมีบั๊กที่ทำให้ซีพียูหรือการ์ดจอแรงลดลงแล้วนะครับ แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าจะมีการค้นพบบั๊กใหม่ ที่กระทบต่อความแรงของซีพียู AMD Ryzen...

6 สิ่งที่ควรรู้ ก่อนตัดสินใจซื้อ AMD Ryzen 9000 Series – จัดเลยไหมหรือรอต่อไป ??

ก่อนหน้านี้เราน่าจะได้เห็นผลทดสอบของ Ryzen 9000 Series กันไปบ้างแล้ว และน่าจะมีแผนอัปเกรดในอนาคต เดี๋ยววันนี้แอดจะพาไปดูเรื่องที่ควรรู้ก่อนซื้อซีพียูรุ่นใหม่จากค่าย AMD กันครับ Single-Core...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า