[How To] มาทำฟาร์มเหรียญ Chia (XCH) กัน พร้อมแนะนำวิธีตั้งค่าแบบละเอียดยิบ

สำหรับในบทความนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดูวิธีการขุดเหรียญ Chia (XCH) โดยละเอียด อย่างให้ทุกคนที่เข้ามาอ่าน อ่านให้ครบทุกขั้นตอนนะครับ เพราะถ้าข้ามขั้นตอนไหนไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาในการดำเนินการได้

ทำความรู้จักเหรียญ Chia

ในส่วนแรกนี้อยากให้รู้สึกก่อนว่าเหรียญ Chia คือ Cryptocurrency แบบใด เพราะมันมีความแตกต่างไปจาก Bitcoin หรือ Ethereum หากเข้าใจที่มาของมัน เพื่อน ๆ ก็จะเข้าใจกลไกในการรับเหรียญได้ง่าย ๆ เลยครับ

Chia ถูกให้นิยามไว้ว่าเป็นการทำฟาร์ม (Farming) ในขณะที่ Bitcoin จะเรียกว่าขุดเหมือง (Mining) ซึ่งการได้มาของเหรียญจากการฟาร์มนั้นจะแตกต่างไปจากการขุดเหมือง โดยการขุดเหมือง Bitcoin/Ethereum จะเน้นการประมวลผลเยอะ ๆ หากประมวลผลได้เยอะ แรง และเร็ว ก็จะได้รับเหรียญมากขึ้นและเร็วขึ้นด้วย

แต่การทำฟาร์ม Chia นั้น เป็นการจัดเก็บข้อมูลลงในพื้นที่ว่าง เหมือนการหว่านเมล็ดเพื่อรอให้ต้นไม้เติบโต เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมมันก็จะทำกำไรให้คุณได้นั่นเอง นี่คือหลักการของ Chia ครับ

ทีนี้ในการทำงานของ Chia จะใช้กระบวนการที่เรียกว่า Proof-of-Space-Time จะขออธิบายคร่าว ๆ ให้ง่ายที่สุดนะครับ ตอนเราทำฟาร์ม เมล็ดจะถูกเรียกว่า Plot ส่วน HDD/SSD เปรียบเสมือนแปลงเกษตรว่าง ๆ รอการหว่านเมล็ด โปรแกรมของ Chia จะทำการบรรจุ Plot ลงใน HDD/SSD เมื่อ Plot โตเต็มที่ก็จะมีการเก็บเกี่ยวไว้ในโรงเรือน เพื่อรอแลกเป็นเหรียญ Chia นั่นเองครับ

แต่ไม่ใช่ว่า Plot ทุกอันที่เก็บมาจะเอามาแลกได้ ในการแจกจ่ายเหรียญ Chia จะมีการตรวจหาว่า Plot ไหนที่มีค่าใกล้เคียงกับที่ต้องการมากที่สุด ถ้าได้ตามต้องการแล้วเจ้าของ Plot จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเหรียญ Chia เหมือนการคัดเกรดของต้นไม้ ถ้าได้สเปกตามที่ต้องการก็จะนำไปขายได้ ซึ่ง Plot ในที่นี้ก็เหมือนกันครับ

นั่นแสดงว่าการเก็บ Plot ไว้จะเหมือนการซื้อล็อตเตอรี่เก็บไว้ หากระบบพบว่า Plot ที่เราขุดได้คือสเปกที่ใช่ คุณก็จะได้เหรียญ Chia เป็นของรางวัล และ Plot เหล่านี้จะสามารถนำมาใช้ได้นาน 5-10 ปี (ไม่ฟันธงแต่เห็นหลายเว็บแนะนำมาอย่างนี้) หรือใครจะมองว่าคล้ายสลากออมสินก็ได้ ซื้อเยอะมีโอกาสถูกรางวัล กรณีนี้ก็เช่นกันยิ่งมี Plot เยอะ ยิ่งเพิ่มโอกาสในการได้รับเหรียญ Chia

 

สเปกเครื่องที่ใช้ในการฟาร์ม

จริง ๆ จะใช้เครื่องสเปกไม่แรงมากก็ได้นะครับ แต่มันอาจจะต้องใช้เวลาในการ Plot นานหน่อย เพราะในระหว่างการลงข้อมูล Plot ให้ HDD/SSD จะใช้ซีพียูและแรมด้วย เพราะฉะนั้น แนะนำแบบนี้ ซีพียูขั้นต่ำ 6-Core และแรมขั้นต่ำ 16GB จะช่วยลดโหลดในการทำงานของเครื่องได้ดีกว่า (แต่ซีพียู 4-Core แรม 8GB ก็ฟาร์มได้นะครับ)

ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างและบรรจุ Plot ผมแนะนำอย่างนี้ SSD ใช้สร้าง Temporary plot หรือ Plot ชั่วคราว เนื่องจากมันมีความเร็วมากกว่าจึงสร้างพล็อตได้เร็วกว่า (หว่านเมล็ดลงไปแล้วโตเร็วกว่า) ส่วน HDD ใช้ในการเก็บพล็อตสุดท้ายที่รวบรวมเสร็จแล้ว (ผลผลิตจากการปลูกต้นไม้ จะนำมาเก็บพกไว้ในโรงเรือน) จำตรงนี้ไว้ให้ดี ๆ นะครับ เพราะมันสำคัญตอนสร้างฟาร์ม

 

ติดตั้งโปรแกรม Chia

เริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ใช้ในการฟาร์มสำหรับ Windows ตามลิ้งก์นี้ https://download.chia.net/latest/Setup-Win64.exe เมื่อติดตั้งเรียบร้อยจะได้หน้าต่างดังภาพด้านล่างนี้

ให้เราคลิกที่ Create a new private keys เพื่อสร้างคีย์คำศัพท์ทั้งหมด 24 ตำแหน่ง ซึ่งอาจจะเลี่ยนเป็นคำที่เราจำได้ง่ายทั้ง 24 ตัว หรือจะใช้ค่าเดิมที่เขาให้มา อย่าลืมแคปภาพหรือจดเก็บไว้กันลืมด้วยนะครับ เมื่อได้แล้วให้กด Next

จะเข้าสู่หน้าต่างของโปรแกรม เริ่มต้นการฟาร์มด้วยการสร้าง Plot โดยคลิกไปที่เมนู Plots แล้ว Add a plot แล้วอ่านหัวข้อถัดไปได้เลยครับ

 

สร้าง Plot เตรียมทำฟาร์ม

สาเหตุที่ต้องแยกออกมาเพราะตรงนี้จะค่อนข้างละเอียดนิดนึง เริ่มจากหัวข้อแรกกันก่อนเลยนะครับ

Choose Plot Size – แนะนำให้เลือกค่า k=32 จะดีที่สุด เพราะเป็น Plot ยอดนิยมและใช้เวลาไม่นาน ซึ่งจะเห็นตัวเลขดังนี้

– ตัวเลขหน้าวงเล็บ 101.4 GiB (หน่วย 1 GiB = 1024 MB ในขณะที่ 1 GB = 1000 MB เปิดคำนวณใน Google ได้) คือขนาดไฟล์ Plot สุทธิที่ได้หลังการสร้างเสร็จเรียบร้อย

– ตัวเลขในวงเล็บ Temporary space: 239 GiB คือพื้นที่ที่ใช้ในการสร้าง Plot ชั่วคราว

ถ้ายังจำกันได้ Temporary plot ควรนำไปเก็บไว้ใน SSD เพราะมันมีความเร็วมากกว่า HDD ทำให้กระบวนการสร้างพล็อตทำได้เร็วกว่า นั่นหมายความว่า SSD ที่จะนำมาใช้ต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 256 GB ครับ

ส่วนตัวเลข 101.4 GiB เป็นผลผลิตหลังการสร้าง Plot เสร็จ คือหลังจากที่ Plot ย่อย ๆ ถูกหว่านลงใน SSD จนได้พื้นที่ขนาด 239 GiB แล้ว มันจะถูกรวมเป็นไฟล์เดียวขนาด 101.4 GiB (ผมเรียก Plot สุทธิละกัน) พร้อมย้ายเข้าไปเก็บไว้ใน HDD หรือโรงเรือนของเรา เพราะฉะนั้น ถ้าเรามี HDD 1 TB จะสามารถเก็บไฟล์ Plot สุทธินี้ได้ถึง 9 ไฟล์เลยทีเดียว

Choose Number of Plots – หัวข้อนี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของ Temporary space นะครับ ถ้าเรามีพื้นที่เยอะเท่าไร ก็จะสามารถสร้าง Plot พร้อมกันได้หลายอัน สมมุติว่าผมใช้ SSD 1 TB จะสามารถทำ Plot พร้อมกันได้ 4 Plots (เพราะ 1 Plot ใช้ 256 GB ดังนั้น 4 Plots ใช้ 1 TB) แต่ถ้าใครเซฟ ๆ หน่อย ค่อย ๆ สร้างทีละ Plot ก็ได้ครับ

ด้านล่างจะมีตัวเลือก Plot in Parallel และ Add Plot to Queue ตัวเลือกแรกเหมาะสำหรับคอมแรง ๆ จากเดิมถ้าผมตั้งค่าให้สร้าง 4 Plots มันจะมีการสร้างขึ้นมาพร้อม ๆ กัน แต่ถ้าเลือกหัวข้อ Add Plot to Queue มันจะสร้างทีละ Plot ตามคิว ส่วนตัวผมชอบแบบที่สองมากกว่า

เปิดส่วน Show Advanced Options ขึ้นมาอีกสักหน่อย อย่างที่บอกนะครับ ถ้าคอมแรงเราสามารถปรับให้โปรแกรมใช้แรมและซีพียูได้มากขึ้น อย่างคอมผมซีพียู 6 Cores/12 Threads แรม 16 GB ผมตั้งค่าเลยให้โปรแกรมใช้ 4-Core และใช้แรม 6GB (6144 MB) เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

Select Temporary Directory – เลือกไดรฟ์ที่จะเก็บ Plot ชั่วคราว อย่าลืมว่า 1 Plot จะกินพื้นที่ชั่วคราว 256 GB และแนะนำให้ใช้เป็น SSD จะดีกว่าครับ

Select Final Directory – เลือกไดรฟ์ที่จะใช้เก็บ Plot สุทธิ อย่าลืมว่ามันมีขนาด 1 Plot กินพื้นที่ราว 110 GB ในส่วนนี้ใช้ HDD จัดเก็บได้ครับ (แม้กระทั่ง External HDD ก็ใช้ได้ครับ)

เมื่อเรียบร้อยแล้วกด Create a plot ได้เลย ซึ่ง 1 Plot จะใช้เวลาราว 6-8 ชั่วโมง สำหรับการทำ Temporary plot ลง SSD และย้าย Plot สุทธิลง HDD จะเห็นได้ว่าขนาดใช้ SSD ยังนานขนาดนี้ แล้วถ้าใช้ HDD เป็น Temporary plot มันจะนานขนาดไหน

หลังจากนั้นเราก็แค่ปล่อยให้โปรแกรมเชื่อมต่อกับระบบกลาง เพื่อคอยส่งข้อมูล Plot ของเราไปจนกว่าเราจะ “ถูกหวย” ระบบเลือก Plot ของเรา ตอนนั้นก็จะได้รับ Chia มาฟรี ๆ 2 หน่วยครับ ซึ่งบางคนอาจจะโชคดีกว่านั้น ฟาร์ม Plot เดียวถูกรางวัลเลยก็มี

 

โอกาสของเรามีแค่ไหน?

จากที่หลายคนสอบถามกันเข้ามาว่า พี่ครับถ้าซื้อ HDD 10TB มาทำฟาร์มจะได้เงินกี่บาท? ผมก็มีเว็บไซต์มาแนะนำนั่นคือ https://chiacalculator.com/ ซึ่งใช้ในการคำนวณโดยคร่าว ๆ ว่าถ้าเราสร้าง Plot ขนาดเท่านี้ จะมีโอกาสได้เหรียญ Chia ตอนไหน ต้องรอนานเท่าไร

** ย้ำอีกทีนะครับ มันไม่ใช่การขุดเหมือง มันคือการทำฟาร์มหรือการซื้อล็อตเตอรี่ ในการทำครั้งแรกอาจจะไม่ได้เหรียญใด ๆ ขึ้นมาเลย ต้องรอโอกาสว่าระบบจะถูกใจ Plot ของคุณมากแค่ไหน เพราะฉะนั้น ถ้าคุณโชคดีทำฟาร์มครั้งแรกระบบอาจจะถูกใจ Plot ของคุณแล้วให้เหรียญมาเลย แต่ถ้าโชคร้ายก็อาจจะต้องรอนานหลายเดือนเลยล่ะ

จากหน้าเว็บไซต์จะมีส่วนที่ใช้ในการคำนวณโอกาสที่จะถูกรางวัล โดยคิดเป็นช่วงระยะเวลาขึ้นกับจำนวน Plot ที่สร้าง ยกตัวอย่างเช่น ผมจะสร้าง Plot k=32 ขึ้นมา 10 Plots ซึ่งจะต้องใช้ HDD ในการจัดเก็บอย่างน้อย 1.5-2 TB (จะไม่ใช่ 1 TB เพียว ๆ เพราะคำนวณจาก GiB เป็น GB แล้วมันมีเศษเหลืออีก 84 GB) จะมีโอกาสถูกรางวัลภายใน 1 ปี

แต่ถ้าเกิดลงทุนเยอะหน่อย เพิ่มเป็น HDD 10 TB จะได้ ประมาณ 98 Plots ซึ่งจะเพิ่มโอกาสถูกรางวัลจากภายใน 1 ปี เป็นภายใน 2 เดือน ซึ่ง 1 Chia มีราคาประมาณ 1100 ดอลลาร์ หรือประมาณ 34,000 บาท แต่ทั้งหมดนี้มันเป็นแค่โอกาสนะครับต้องมาลุ้นอีกทีว่าเราจะถูกล็อตเตอรี่ตอนไหน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีทำฟาร์ม Chia นะครับ ส่วนใครที่อยากขุดแบบพูลหรืออยากดูแบบละเอียด สามารถเข้าดูได้ที่คลิปด้านล่างเลยครับ

Related articles

5 เว็บไซต์ ทดสอบความแรง CPU/GPU เชื่อถือได้ เช็กก่อนเลือกซื้อกันได้เลย !!

สำหรับใครที่วางแผนจะประกอบคอมเครื่องใหม่ แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อซีพียูหรือการ์ดจอตัวไหนดี วันนี้แอดมีเว็บไซต์ที่ทำการทดสอบฮาร์ดแวร์พวกนี้ไว้ให้เราเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น มีเว็บไหนบ้างไปดูกันเลยครับ Techpowerup เว็บนี้ผมชอบดูมาก เพราะทำกราฟออกมาอ่านเข้าใจง่าย และมีการทดสอบที่หลากหลาย ทั้งการใช้งานทั่วไป, การเล่นเกม, การใช้พลังงาน,...

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า