[HOW TO] วิธีเปิดใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync

เนื่องจากมีเพื่อน ๆ สอบถามกันเข้ามาบ่อยว่าจอ FreeSync รุ่นนี้ จะใช้งาน G-Sync ได้ไหม ? วันนี้ผมจะขออธิบายให้ฟังในบทความนี้เลยนะครับ

เดิม G-Sync เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีที่ใช้กับจอที่มาพร้อมชิปพิเศษจาก NVIDIA ซึ่งชิปนี้จะช่วยให้การทำงานของการ์ดจอ GeForce กับตัวจอมอนิเตอร์สามารถฉายภาพเกมได้พร้อม ๆ กัน ช่วยลดปัญหาภาพขาดได้ดีกว่าการใช้ซอฟต์แวร์ แต่ปัญหาคือจอ G-Sync แท้ ๆ นี้มันก็มีราคาแพงพอสมควรครับ

นั่นทำให้ NVIDIA ได้เพิ่มออปชัน G-Sync Compatible ซึ่งมันก็คือ FreeSync อย่างหนึ่ง โดยจะควบคุมการแสดงผลภาพของการ์ดจอและจอมอนิเตอร์ให้สอดคล้องกันผ่านซอฟต์แวร์ (ไดรเวอร์) ตั้งแต่เมื่อปี 2019 แล้วล่ะครับ สรุปแล้วมันคือ FreeSync อย่างหนึ่งที่ทำงานในการ์ดจอ NVIDIA นั่นเอง

ทีนี้เรื่องมันมีอยู่ว่า เนื่องจากจอที่โฆษณาว่าเป็นจอ FreeSync ผู้ผลิตอาจจะไม่ได้เทสกับการ์ดจอ GeForce มาก่อนเลยว่าจะสามารถใช้งาน G-Sync compatible ได้หรือไม่ (เช่น จอผลิตออกมาก่อนที่ NVIDIA จะออกตัว G-Sync compatible) ดังนั้น ทาง NVIDIA จึงได้มีการทดสอบแยกไว้ให้แล้ว ว่าจอรุ่นไหนที่รองรับ G-Sync compatible บ้าง โดยดูได้จากลิ้งก์นี้เลยครับ G-Sync compatible display

โดยจอจากลิ้งก์ข้างบนจะถูกทดสอบมาแล้วว่ารองรับ G-Sync compatible แน่ ๆ แต่ถ้าเราซื้อจอ FreeSync นอกเหนือจากในลิสต์ล่ะ? คำตอบคือ อาจจะใช้ได้โดยไม่มีปัญหา แม้ว่าจะไม่เคยถูกทดสอบอย่างเป็นทางการมาก่อน

อย่างไรก็ตามเนื่องจากมันไม่มีเคยถูกเทสมาก่อน ถ้าเกิดปัญหาในระหว่างการใช้งานก็ต้องรับรู้ไว้ว่ามันอาจจะยังรองรับไม่สมบูรณ์ ซึ่งอันนี้คงต้องรอให้มีการอัปเดตไดรเวอร์กันต่อไป

วิธีการเปิดใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync

วิธีการเปิดใช้ไม่ได้ต่างไปจาก FreeSync เลยนะครับ เริ่มแรกให้เข้าไปเปิด FreeSync จากในจอมอนิเตอร์เราก่อน โดยเราจะต้องเชื่อมต่อจอกับการ์ดจอด้วยสาย Display Port เท่านั้น !! และอย่าลืมอัปเดตไดรเวอร์ให้เป็นรุ่นล่าสุดด้วย

 

เมื่อเปิด FreeSync ในจอแล้ว ให้เข้าไปเช็คใน Nvidia Control Panel จะเจอส่วนที่เขียนว่า Setup G-Sync
แต่ถ้าไม่ขึ้นให้ไปที่ 3D Settings ในแท็บ Global แล้วเลื่อนหาเมนู Monitor Technology >> กดเลือก G-Sync Compatible

เท่านี้เราก็สามารถใช้งาน G-Sync Compatible ในจอ FreeSync ได้แล้ว !!

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Tom’s Hardware

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า