[HOW TO] เปลี่ยนไมค์มือถือหรือ iPad ให้กลายเป็นไมค์สำหรับ PC/Notebook ด้วย WO Mic

ช่วงนี้ใครที่กำลังเรียนออนไลน์ แต่ไมค์เกิดเสียขึ้นมา หรือใครที่อยากทำคอนเทนต์ลง YouTube แต่ไม่มีไมค์คุณภาพดี ๆ ไว้ใช้ วันนี้ผมมีวิธีดี ๆ มาแชร์ให้คุณสามารถใช้ไมค์คุณภาพดีจากมือถือหรือ iPad ด้วยแอป WO Mic

แอปพลิเคชันนี้จะช่วยให้คุณเชื่อมต่อมือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อใช้ไมค์จากอุปกรณ์เหล่านั้นแทนไมค์ที่แถมมากับโน้ตบุ๊กหรือใช้แทนไมค์สำหรับ PC desktop โดยวิธีการใช้งานง่าย ๆ มีดังนี้

ติดตั้งทุกอย่างให้เรียบร้อย

อันดับแรกเราจะต้องดาวน์โหลดสิ่งที่ต้องใช้งาน 3 อย่าง ได้แก่

– แอปพลิเคชันบนมือถือและแท็บเล็ต คลิกที่ลิ้งก์ได้เลย Android  iOS

– แอปพลิเคชันในคอม ใช้ได้แค่ Windows เท่านั้น คลิกที่ลิ้งก์ได้เลย WO Mic client for Windows

– ไดรเวอร์บน PC คลิกที่ลิ้งก์ได้เลย WO Mic device driver for Windows

จากนั้นก็ติดตั้งให้เรียบร้อย ในลำดับถัดไปจะเป็นการตั้งค่า ซึ่งผมจะสอนวิธีการตั้งค่าหลัก ๆ 3 วิธีคือ ผ่าน Bluetooth, ผ่าน Wi-Fi และผ่าน USB

 

เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth

1.เชื่อมต่อ Bluetooth ของมือถือเข้ากับ PC หรือโน้ตบุ๊ก

 

2.เปิดโปรแกรม WO Mic บน PC หรือโน้ตบุ๊ก เลือก Transport type เป็น Bluetooth ในช่อง Detail ทางขวามือให้เลือก Target bluetooth device เป็นมือถือที่เราเชื่อมต่อ แล้วกด Connect

 

3.เปิดแอป WO Mic บนมือถือ กดไปที่รูปฟันเฟืงด้านบนขวา เพื่อเข้าสู่ Settings ในหน้า Settings เลือก Transport เป็น Bluetooth

 

 

4.กลับมาที่หน้าแรก กดปุ่ม Play ที่อยู่ด้านหน้าของรูปฟันเฟือง เท่านี้ก็ใช้ไมค์ได้แล้วครับ ลองอัดเสียงได้เลย

 

เชื่อมต่อผ่าน USB (ใช้ได้เฉพาะ Android)

1.เชื่อมต่อ USB ของมือถือเข้ากับคอมได้เลย

2.อันที่ยากจะอยู่ตรงนี้ คือการเปิด USB Debugging mode ผมแนะนำให้เข้าไปดูใน ลิ้งก์นี้

3.เมื่อเปิด Debugging ได้แล้ว เปิดโปรแกรม WO Mic บน PC หรือโน้ตบุ๊ก เลือก Transport type เป็น USB แล้วกด Connect

4.เปิดแอป WO Mic บนมือถือ กดไปที่รูปฟันเฟืงด้านบนขวา เพื่อเข้าสู่ Settings ในหน้า Settings เลือก Transport เป็น USB จากนั้นกลับมาที่หน้าแรก กดปุ่ม Play ที่อยู่ด้านหน้าของรูปฟันเฟือง เท่านี้ก็ใช้ไมค์ได้แล้วครับ ลองอัดเสียงได้เลย

 

เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi

1.เชื่อมต่อ Wi-Fi บน PC หรือโน้ตบุ๊ก และ Wi-Fi บนมือถือ โดยจะต้องเป็น Wi-Fi ตัวเดียวกัน เพราะฉะนั้นจะเหมาะอย่างมากเวลาที่เราต้องการอัดเสียงอยู่ภายในบ้าน

2.เปิดโปรแกรม WO Mic บน PC หรือโน้ตบุ๊ก เลือก Transport type เป็น Wi-Fi ในช่อง Detail ทางขวามือ จะเห็นช่องที่เขียนว่า Phone IP address อันนี้เว้นไว้ก่อนนะครับ

3.เรามาดูที่แอป WO Mic บนมือถือ กดไปที่รูปฟันเฟืงด้านบนขวา เพื่อเข้าสู่ Settings ในหน้า Settings เลือก Transport เป็น Wi-Fi จากนั้นกลับมาที่หน้าแรก กดปุ่ม Play ที่อยู่ด้านหน้าของรูปฟันเฟือง

4.เมื่อกดปุ่ม Play จะขึ้นข้อความที่มีเลข IP อยู่ด้วย ให้เอาเลข IP นี้ไปใส่ในช่อง Phone IP address ของ WO Mic บน PC หรือโน้ตบุ๊ก แล้วกด Connect เท่านี้ก็สามารถใช้ไมค์ได้แล้ว

จากที่ผมได้ลองใช้บอกเลยว่าเสียงไมค์ดีมาก ๆ ไม่แพ้ไมค์คอนเดนเซอร์แพง ๆ เลย เพราะไมค์จากมือถือมักจะมีระบบตัดเสียงรบกวนไว้ด้วย ยังไงลองไปใช้กันดูนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Makeuseof

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า