[How To] วิธีเช็ครุ่น RAM ที่รองรับซีพียู AMD Ryzen ง่ายๆ จากหน้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ด!

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Extreme PC ทุกคนนะครับ บทความนี้ผมว่าจะเขียนตั้งนานแล้วล่ะ เพราะมีคนถามกันเข้ามาค่อนข้างเยอะ แต่พอดีผมติดสอบก็เลยไม่ได้ทำสักที เอาล่ะวันนี้สอบเสร็จแล้วก็ขอจัดสักหน่อย กับบทความวิธีเช็คแรมที่รองรับกับเมนบอร์ดของซีพียู AMD Ryzen ไปดูกันเลยครับ

ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผมได้แคปเจอร์ภาพจากหน้าเว็บของผู้ผลิตเมนบอร์ด สำหรับเมนบอร์ดบางรุ่นมาเท่านั้น ไม่อย่างนั้นมันจะเยอะเกินไป คาดว่าในบอร์ดรุ่นอื่นๆ ยี่ห้อเดียวกัน ก็น่าจะมีวิธีเช็คที่เหมือนกันหรือคล้ายๆ กันนะครับ

** คลิกที่รูปเพื่อขยายด้วยนะครับ จะได้มองเห็นกันชัดๆ **

ASUS

จะต้องทำการดาวน์โหลดไฟล์ PDF มาเปิดเช็คด้วยนะครับ

 

 

ASRock

 

MSI

 

GIGABYTE

จะต้องทำการดาวน์โหลดไฟล์ PDF มาเปิดเช็คด้วยนะครับ

 

Biostar

เลื่อนลงมาด้านล่างเลยนะครับ

 

จากนั้นแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าแรมที่เราจะซื้อ มันจะอยู่ในลิสต์ ก็ให้ดูจากรหัสของแรมรุ่นนั้นๆ สมมุติว่าผมจะซื้อแรมตัวหนึ่งของยี่ห้อ HyperX จากหน้าเว็บไซต์ JIB ผมก็เข้าไปเลือกแรมมารุ่นหนึ่ง ดังภาพ

ในหน้าเว็บจะมีรายละเอียดของแรมบอก ซึ่งมันจะมีรหัสตัวอักษรและตัวเลขเยอะๆ ตรงนั้นคือรหัสรุ่นของแรม

คัดลอกรหัสแรม แล้วเอาลองเอาไปเช็คดูจากหน้าเว็บผู้ผลิตเมนบอร์ด ถ้าแรมอยู่ในลิสต์ก็แสดงว่าเมนบอร์ดรองรับนั่นเอง

แล้วถ้าแรมไม่ได้อยู่ในลิสต์ล่ะ? อันนี้ผมคิดว่าคงต้องทดลองกันดูนะครับ เพราะแรมที่ไม่ได้อยู่ในรายการ มันเป็นแรมที่อาจจะใช้กับบอร์ดได้ เพียงแต่ยังไม่ผ่านการทดสอบ หรือถ้ากันพลาด ก็ซื้อแรมที่มีสติกเกอร์รองรับ Ryzen ไปเลย

อย่างไรก็ตาม ในความหมายที่ว่าบอร์ดไม่รองรับนี้ จะหมายถึงว่า เปิดเครื่องได้ใช้งานได้ปกติ เพียงแต่เราจะไม่สามารถทำให้แรมวิ่งได้ความเร็วตามที่ต้องการ แม้จะเปิด XMP แล้วก็ตาม (มันก็จะวิ่งอยู่ที่ 2133 MHz เหมือนเดิม)

เพราะฉะนั้นรู้วิธีเช็คแล้ว ก่อนซื้อก็อย่าลืมเช็คแรมกันก่อนนะครับ จะได้ไม่พบปัญหาตอนประกอบคอมกันเนอะ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า