PR: หัวเว่ยและ IDC เผยเทรนด์ศูนย์ข้อมูลองค์กรธุรกิจมุ่งสู่เครือข่ายแบบอัตโนมัติ

หัวเว่ยและ IDC เผยเทรนด์ศูนย์ข้อมูลองค์กรธุรกิจมุ่งสู่เครือข่ายแบบอัตโนมัติ

 

เซินเจิ้น ประเทศจีน, 28 ธันวาคม 2563 –  มากกว่า 90% ขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ ระบุว่ากำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเครือข่ายแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ เพื่อเสริมความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความคุ้มทุนในการให้บริการ อ้างอิงจากผลสำรวจจากรายงานสมุดปกขาวล่าสุดเรื่อง ‘ดัชนีการใช้ประโยชน์เครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ’ โดย IDC ซึ่งได้รับ
การสนับสนุนโดยหัวเว่ย รายงานฉบับนี้ยังชี้ว่าเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติสามารถช่วยองค์กรธุรกิจปฏิรูปโครงสร้างเครือข่ายและวิธีการดำเนินงาน พร้อมเสริมความยืดหยุ่นและความต่อเนื่องในการให้บริการอีกด้วย

 

ในยุคของเทคโนโลยี Cloud และการแข่งขันด้านนวัตกรรม เครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบเก่าซึ่งทำได้เพียงเชื่อมต่อและจัดหาแบนด์วิดธ์ตามแต่ที่แอปพลิเคชันต่าง ๆ ต้องการนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะเครือข่ายศูนย์ข้อมูลถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

 

เพื่อทำความเข้าใจระดับของระบบอัตโนมัติ ความท้าทาย และโอกาส ที่ระบบดังกล่าวสามารถมอบให้กับเครือข่ายศูนย์ข้อมูลขององค์กรธุรกิจไดดีขึ้น หัวเว่ยจึงสนับสนุน IDC เพื่อสำรวจสถานะปัจจุบันของเครือข่ายศูนย์ข้อมูลในหมู่องค์กรธุรกิจจากหลากหลายอุตสาหกรรมในขนาดต่าง ๆ กว่า 205 บริษัท และระบุระดับความเป็นอัตโนมัติของเครือข่ายศูนย์ข้อมูล พร้อมเฟ้นหาหนทางที่เป็นไปได้ในการนำระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบมาประยุกต์ใช้

 

เครือข่ายศูนย์ข้อมูลกลายเป็นระบบประสาทแบบดิจิทัลที่สนับสนุนแอปพลิเคชันบริการต่างๆ และระบบอัตโนมัติจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน แอปพลิเคชันและระบบบริการต่าง ๆ กลายเป็นเส้นเลือดสำคัญขององค์กรธุรกิจ แต่แอปพลิเคชันและบริการเหล่านี้ต่างเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการดำเนินงานผ่าน Cloud และแอปพลิเคชันที่ทำงานบน Cloud มีบทบาทมากขึ้น สร้างความท้าทายอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนให้กับเครือข่ายศูนย์ข้อมูลองค์กรธุรกิจ ดังนั้น เครือข่ายศูนย์ข้อมูลจึงต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการรองรับการขยายตัวและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เพื่อเสริมความคล่องตัวและความยืดหยุ่นผ่านระบบอัตโนมัติที่ครอบคลุม

นายแบรด เคสมอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยเครือข่ายศูนย์ข้อมูลของ IDC กล่าวว่า “องค์กรธุรกิจต่างเริ่มเล็งเห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ รวมถึงศักยภาพในการเสริมความยืดหยุ่นและความต่อเนื่องของบริการ เพราะเครือข่ายศูนย์ข้อมูลคือระบบประสาทที่คอยสั่งการและสนับสนุนแอปพลิเคชันและระบบบริการต่าง ๆ อยู่เบื้องหลัง”

 

IDC ได้สอบถามองค์กรธุรกิจที่ร่วมในการสำรวจนี้ เพื่อระบุว่าอะไรคือเหตุผลที่ทำให้จำเป็นต้องมีเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ พบว่าสาเหตุหลักกว่า 45% คือเหตุผลด้านความต่อเนื่องและความยืดหยุ่นของแอปพลิเคชันและธุรกิจ (ระหว่างศูนย์ข้อมูลและ Cloud) โดย IDC เชื่อว่าผลการสำรวจนี้สืบเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นและต่อเนื่องของธุรกิจมากขึ้น เพื่อให้ยังสามารถดำเนินงานในรูปแบบดิจิทัลต่อไปได้ แม้ในภาวะวิกฤติ

 

กว่า 90% ขององค์กรธุรกิจ ตั้งเป้าที่จะสร้างเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติครอบคลุมทุกภาคอุตสาหกรรม

จากผลการสำรวจพบว่า 48% ขององค์กรธุรกิจระบุว่าพวกเขาใช้เครื่องมือการจัดการระบบอัตโนมัติ เช่น Ansible Puppet Chef Salt และ Terraform ในขณะที่ 19% ระบุว่าใช้ command lines/SNMP หรือโปรโตคอลสำหรับมอนิเตอร์อุปกรณ์ในเครือข่าย และมีเพียง 6.3% ที่ระบุว่าใช้ “เครือข่าย Intent-based Network แบบปิด เครือข่ายที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติ หรือเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม หากมองจากมุมของธุรกิจแล้ว ทุกอุตสาหกรรมที่ร่วมในการสำรวจนี้ล้วนมีการใช้งานเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ หรือไม่ก็มีแผนที่จะนำมาใช้ในอนาคตทั้งสิ้น แต่มีลูกค้าภาครัฐเพียงแค่ 40% เท่านั้นที่ใช้งานเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ ซึ่งถือว่ายังตามหลังภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ อยู่

 

ในด้านของขนาด องค์กรธุรกิจที่มีศูนย์ข้อมูลตั้งแต่สามแห่งขึ้นไปจะมีแนวโน้มขยายการใช้งานเครือข่ายอัตโนมัติมากขึ้น โดย 72.5% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าพวกเขาเคยใช้หรือกำลังติดตั้งเครือข่ายอัตโนมัติเพื่อใช้งานแล้ว

 

IDC ได้สอบถามองค์กรธุรกิจว่า “การใช้เครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบ (ขับเคลื่อน) อัตโนมัติเต็มรูปแบบนั้นเป็นหนึ่งในเป้าหมายขององค์กรหรือไม่” ซึ่งองค์กรธุรกิจเกือบ 91% ระบุว่านั่นคือเป้าหมายขององค์กรในอีกสองปีข้างหน้า และมีเพียง 9.3% ที่ระบุว่าพวกเขายังไม่มีแผนที่จะใช้เครือข่ายศูนย์ข้อมูลอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

 

สำหรับโซลูชัน Huawei CloudFabric นั้น เป็นโซลูชันแรกของอุตสาหกรรมที่สามารถดำเนินการแบบอัตโนมัติระดับ L3 ได้ โดยโซลูชันดังกล่าวได้นำเอาเทคโนโลยี AI และ Machine learning มาทำงานผสานกันเพื่อนำเสนอการจัดการการทำงานแบบอัตโนมัติและระบบควบคุม โดยระบบดังกล่าวจะครอบคลุมกระบวนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบแบบครบวงจร ตั้งแต่การนำบริการแบบอัตโนมัติมาปรับใช้ ไปจนถึงการบำรุงรักษาตนเองอย่างอัจฉริยะ และการปรับระบบเครือข่ายได้เอง

นายลีออน หวัง ประธานกลุ่มธุรกิจเครือข่ายศูนย์ข้อมูลของหัวเว่ย กล่าวว่า “เรารู้สึกขอบคุณและเห็นความสำคัญกับผลการสำรวจของ IDC เป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลจากรายงานชิ้นนี้เป็นสิ่งสำคัญ และชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมในภาพรวมกำลังเดินทางไปในทิศทางใด ถึงแม้ว่าศูนย์ข้อมูลขององค์กรธุรกิจหลายประเภทจะมีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในระดับที่แตกต่างกัน แต่เราจะเห็นได้ว่าลูกค้าในหลากหลายภาคอุตสาหกรรมหันมาใช้งานระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความน่าเชื่อถือของบริการที่นำเสนอ ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายในการลงทุนลงด้วย หัวเว่ยยังจะเดินหน้าลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยี แอปพลิเคชัน และอีโคซิสเต็มอย่างต่อเนื่อง และยังคงที่จะพัฒนาระบบเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ รวมทั้งรักษาตำแหน่งผู้นำในตลาด หัวเว่ยจะช่วยองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สร้างระบบเครือข่ายอัตโนมัติและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอลต่อไป”

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่ https://e.huawei.com/topic/adn-index-2020/en/index.html

Related articles

5 เว็บไซต์ ทดสอบความแรง CPU/GPU เชื่อถือได้ เช็กก่อนเลือกซื้อกันได้เลย !!

สำหรับใครที่วางแผนจะประกอบคอมเครื่องใหม่ แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อซีพียูหรือการ์ดจอตัวไหนดี วันนี้แอดมีเว็บไซต์ที่ทำการทดสอบฮาร์ดแวร์พวกนี้ไว้ให้เราเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น มีเว็บไหนบ้างไปดูกันเลยครับ Techpowerup เว็บนี้ผมชอบดูมาก เพราะทำกราฟออกมาอ่านเข้าใจง่าย และมีการทดสอบที่หลากหลาย ทั้งการใช้งานทั่วไป, การเล่นเกม, การใช้พลังงาน,...

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า