ปี 2019 นับว่าเป็นช่วง Hard year สำหรับ Intel เลยก็ว่าได้ เนื่องจาก Intel กำลังเสียส่วนแบ่งซีพียูให้กับคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยังประสบปัญหาขาดแคลนการผลิตอยู่ด้วย
เรื่องราวมันมีอยู่ว่า ภาวะซีพียูขาดแคลน จากกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ เริ่มดีขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน (ตามประกาศของ Intel) แต่ดูเหมือนว่า เหตุการณ์ที่ผ่อนคลายมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2018 ก็ยังไม่สามารถกู้สถานการณ์กลับมาได้ครับ
จากรายงานของ The Register กล่าวถึง Alex Cho หัวหน้าฝ่าย Personal Systems Business จาก HP ได้กล่าวถึงภาวะขาดแคลนซีพียูของ Intel ไม่ได้กระทบแค่ซีพียูบางรุ่น แต่กระทบซีพียู 14nm ในวงกว้าง แถมเหตุการณ์นี้น่าจะอยู่ไปอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน
เช่นเดียวกับ Gianfranco Lanci จาก Lenovo ที่กล่าวว่า ภาวะการขาดแคลนของ Intel นี้ ทำให้ตลาด PC เติบโตเพียงแค่ประมาณ 4% ในขณะที่มันควรจะโตสัก 7-8%
ซึ่งเรื่องนี้ทาง Intel เองก็ไม่ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาที่แท้จริงเสียที ผู้ผลิต OEM ก็ไม่ได้ทราบข้อมูลอะไรไปมากกว่าที่ผมเล่าให้ฟังในวันนี้ แต่สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะความที่ Intel ต้องการจะขยับขยายซีพียู 10nm ทำให้ชิป 14nm มีไม่เพียงพอ แถม 10nm เองก็ยังผลิตได้ไม่มากพอ
ล่าสุด Intel จึงได้ออกมาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตอนนี้มีการอัดฉีดเงินเพื่อการผลิตกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มปริมาณชิป 14nm อีก 25% .นขณะที่ยังผลิตชิป 10nm ด้วย โดยทาง Intel ได้ยอมรับว่าช่วงที่ผ่านมา มีดีมานด์มากกว่าซัพพลายที่คาดไว้ จึงเป็นเหตุให้ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีปริมาณชิปไม่เพียงพอนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Techspot
You must be logged in to post a comment.