Intel Coffee Lake vs. AMD Ryzen เปรียบเทียบความแตกต่างทั้ง 2 ค่าย ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

ก่อนถึงวันเปิดตัวในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ ผมจะขอนำเสนอบทความจากทาง Tom’s Hardware ซึ่งเขียนโดย Paul Alcorn โดยเป็นบทความเปรียบเทียบระหว่างซีพียู Intel Coffee Lake และ AMD Ryzen เพื่อให้เห็นถึงข้อดีข้อเสีย และความแตกต่างของ 2 ค่ายคู่มวยที่ฟาดฟันกันมาอย่างยาวนานนี้

หลังจากการเปิดตัวของ AMD Ryzen ทำให้ Intel ไม่รอช้า จัดแจงเตรียมพร้อมเปิดตัว Intel Coffee Lake ออกมาสู้ ซึ่งข้อดีของ AMD ในขณะนี้คือ มีจำนวน Core ที่มากกว่า (เมื่อเทียบกับ Kaby Lake) และทุกรุ่นสามารถ Overclock ได้ โดยใช้ชิปเซตที่มีราคาค่อนข้างถูก เช่น B350 นั่นเอง

แผนการปรับปรุงของ Intel ในครั้งนี้ คือการเพิ่มจำนวน Core ของซีพียูให้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่ง Intel เคลมว่า Coffee Lake มีประสิทธิภาพในการเล่นเกมสูงกว่า Kaby Lake โดยให้เฟรตเรตสูงกว่า 25% และยังสามารถทำงาน Multitasking ได้ดีกว่าถึง 50% เลยทีเดียว

 

Core i7 vs. Ryzen 7

เริ่มกันที่คู่ปรับระดับ Highe-end ทั้ง 2 ค่าย มี Threaded Core ทั้งคู่ แต่เมื่อเปรียบเทียบจำนวน Core แล้ว AMD Ryzen 7 นั้นให้จำนวน Core มากกว่า ที่ 8 Cores 16 Threads ในขณะที่ Intel มีอยู่ 6 Cores 12 Threads

ในส่วนของสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้น ตรงนี้ Intel ดูเหมือนจะได้เปรียบกว่า เพราะให้มาเยอะกว่าทาง Ryzen ประมาณ 0.2-0.3 GHz และ Turbo Boost ได้ไกลกว่า แต่ทั้งนี้ การ Turbo Boost ของ Intel ให้อยู่ในค่าสูงสุด จะมีการปิดจำนวน Core ให้น้อยลง เช่น ถ้า Boost ที่ 4.7 GHz จะใช้งานเพียง 1 Core

ข้อได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งคือ Ryzen จะมีจำนวน Cache L2+L3 เยอะกว่า อยู่ที่ 20 MB ในขณะที่ Intel มีเพียง 13.5 แต่ Intel เองก็มาพร้อมกับ iGPU UHD Graphics 360 ซึ่งตรงนี้ทาง AMD คงจะต้องรอหน่วยประมวลผล APU Raven Ridge ต่อไป

ทางด้านราคา จะเห็นได้ว่า Intel มีราคาถูกกว่า Ryzen 7 ทั้ง 2 รุ่น (ราคาอาจปรับเปลี่ยนได้) แต่แน่นอนว่า ในการประกอบคอมพ์ Intel อาจต้องใช้เมนบอร์ดราคาสูง เพื่อให้มีความสามารถในการ Overclock ส่วน Ryzen สามารถใช้บอร์ดชิปเซตที่ราคาถูกในการ Overclock ได้ (แต่ซื้อรุ่นแพงน่าจะมีประสิทธิภาพดีกว่า)

 

Core i5 vs. Ryzen 5

ทางด้าน Intel Core i5 และ Ryzen 5 จะเน้นตลาดกลุ่ม Maistream โดยทาง Intel ได้ใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มจำนวน Core ขึ้นมา เป็น 6 Cores แต่ไม่มี Hyper-Threading ส่วน Ryzen 5 1600X จะเป็นซีพียู 6 Cores 12 Threads

ทั้ง Intel Core i5-8600K และ AMD Ryzen 5 1600X ต่างเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อ เพราะสามารถ Overclock ได้ทั้งคู่ แต่ทาง AMD จะได้เปรียบในเรื่องของจำนวนแคช และราคาครับ

ในรุ่นที่ต่ำกว่าอย่าง Intel Core i5-8400 อันนี้จะไม่สามารถปลดล็อกตัวคูณได้ ราคาจะอยู่ใกล้เคียงกับ AMD Ryzen 5 1500X ซึ่งทาง AMD จะได้เปรียบเรื่องการ Overclock แต่จำนวน Core นั้นให้มาน้อยกว่าคือ 4 Cores 8 Threads ครับ

 

Core i3 vs. Ryzen 5 และ Ryzen 3

กลุ่มสุดท้ายที่มีราคาถูกที่สุดใน 2 กลุ่มข้างต้น ในครั้งนี้ Intel ได้อัพเกรดให้ Coffee Lake Core i3 มีจำนวน Core เพิ่มขึ้น เป็น 4 Cores 4 Threads (ไม่มี Hyper-Threading)

หากเปรียบเทียบ 2 ตัวแรก Core i3-8350K และ Ryzen 5 1400 ทาง Intel จะได้เปรียบในเรื่องของสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นที่ให้มาถึง 4.0 GHz และมี iGPU มาด้วย แต่ไปเสียเปรียบตรงที่ว่า ทาง AMD เขามีหัวประมวลผลมาถึง 4 Cores 8 Threads และมีค่า TDP เพียง 65W (i3-8350K มีค่า TDP 91W)

ส่วน Intel Core i3-8100 ไม่สามารถปลดล็อกตัวคูณได้ แต่มีสัญญาณนาฬิกาเริ่มต้นมากกว่า AMD Ryzen 3 1300X เล็กน้อย พร้อมด้วยราคาที่ถูกกว่าประมาณ $20 และมี iGPU ในตัว

หากมองในส่วนประกอบอื่นๆ สำหรับเซตนี้ AMD ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของแคชที่ให้มาเยอะกว่าเล็กน้อย และรองรับแรมบัสสูงสุด 2667 MHz (Intel รองรับบัสสูงสุดที่ 2400 MHz)

การแข่งขันในเรื่องหน่วยประมวลผลกลางเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 ค่ายต่างใส่ประสิทธิภาพมาให้ซีพียูของตัวเองอย่างจัดเต็ม ในการเลือกซื้อก็คงขึ้นอยู่กับเพื่อนๆ ว่าชอบรุ่นไหน ค่ายไหน

ข้อมูลจาก Wccftech

อย่างไรก็ตาม แม้ AMD จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง แต่ทาง Intel เองก็มี iGPU ติดมาให้ พร้อมทั้งผลทดสอบจากหลายสำนักก็ชี้ให้เห็นว่า ประสิทธิภาพต่อหัวประวลผล (Performance-per-Core) ของ Intel นั้น ค่อนข้างทำได้ดีกว่าระดับหนึ่งในช่วงราคาใกล้เคียงกัน และโดยเฉพาะในเรื่องการเล่นเกมครับ

มีความเห็นอย่างไรบ้าง หรือใครใช้ของรุ่นไหนอยู่ก็คอมเมนต์บอกได้นะครับ ^^

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.tomshardware.com/news/intel-coffee-lake-amd-ryzen,35546.html

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า