จากโครงสร้างการออกแบบ big.LITTLE ในซีพียู ARM เป็นแรงบันดาลใจให้ Intel เตรียมพัฒนาซีพียู Alder Lake เพื่อปรับปรุงทั้งประสิทธิภาพและพลังงานครับ
สำหรับแนวคิด big.LIITLE นี้ จะประกอบไปด้วยแกนประมวลผลใหญ่ ทำหน้าที่ประมวลผลที่หนัก ๆ ส่วนแกนประมวลผลเล็ก จะทำหน้าที่ประมวลผลงานเบา ๆ แทน ซึ่งจะช่วยให้ระบบจัดสรรพลังงานได้อย่างดียิ่งขึ้น ในขณะที่ความแรงไม่ได้ลดลงนั่นเองครับ
Coffee Lake-S | Comet Lake-S | Rocket Lake-S | Alder Lake-S | |
---|---|---|---|---|
CPU Fabrication Node | 14nm | 14nm | 14nm | 10nm |
Max Core Count | up to 8 cores | up to 10 cores | up to 8 cores | up to 16 (8 BIG + 8 SMALL) |
Socket | LGA1151 | LGA1200 | LGA1200 (?) | LGA1700 (?) |
Memory Support | DDR4 | DDR4 | DDR4 | ? |
PCI-E Support | PCIe 3.0 | PCIe 3.0 | PCIe 4.0 (?) | PCIe 4.0 (?) |
Intel Core Series | 8th/9th Gen Core-S | 10th Gen Core-S | 11th Gen Core-S (?) | 12th Gen Core-S (?) |
Motherboard Chipsets | Intel 300 (eg. Z390) | Intel 400 (eg. Z490) | Intel 500 (?) | Intel 600 (eg. Z690) (?) |
Launch | 2018 | 2020 | ? | ? |
ทีนี้กลับมาที่ Intel กันต่อ สำหรับสถาปัตยกรรม Alder Lake นั้น ตามตารางคือต่อจาก Comet Lake และ Rocket Lake ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง Comet และ Rocket จะยังใช้ 14nm อยู่ (หากไม่มีการเปลี่ยนไทม์ไลน์) แสดงว่า Alder Lake จะใช้โหนด 10nm ครับ
ความสดใหม่ของ Alder Lake คงเป็นเรื่องการรองรับ PCIe 4.0 และแน่นอนคือหนีไม่พ้นเรื่องการเปลี่ยนเมนบอร์ด เพราะต้องใช้ซ็อกเกตใหม่ LGA1700 ครับ
ในส่วนโครงสร้างของตัวท็อป จะมีอยู่ด้วยกัน 16 Cores แบ่งออกเป็น 8 Cores ใหญ่และ 8 Cores เล็ก ส่วนหมายเลข 1 ที่บวกเพิ่มเข้ามาคือชิปกราฟฟิก Xe ออนบอร์ดครับ
เอาล่ะดูแล้วเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจพอสมควรเลยครับ ผมว่าแนวคิดนี้เอามาใส่โน้ตบุ๊กน่าจะดีมาก ๆ เลย ส่วนบนเดสก์ทอปคงต้องรอดูอีกทีว่ามันจะทำได้ดีขนาดไหน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Videocardz
You must be logged in to post a comment.