Intel NUC 11 Performance Kit คอมไซส์มินิ พร้อมซีพียูระดับ Core i7 อัปเกรด RAM/SSD เองได้

สำหรับใครที่กำลังมองหา mini PC ขนาดเล็กจิ๋ว แต่แฝงไปด้วยประสิทธิภาพที่ไม่เล็กตามตัว วันนี้ผมมีคอมมาแนะนำเพื่อน ๆ อีกหนึ่งรุ่น นั่นคือ Intel NUC 11 Performance Kit ซึ่งสามารถปรับแต่งสเปกบางส่วนให้เข้ากับการทำงานของเรา จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยครับ

Unboxing

Intel NUC 11 Performance Kit (NUC11PAKi7) ตัวนี้มีชื่อเล่นน่ารัก ๆ ว่า Panther Canyon ซึ่งในคอมพิวเตอร์ตระกูล Intel NUC ที่ใช้คำว่า Kit หมายถึง mini PC ที่ประกอบมาให้เสร็จสรรพ แต่จะอุปกรณ์บางอย่างให้ผู้ใช้นำมาติดตั้งเอง ได้แก่ แรม และ SSD จึงเหมาะกับคนที่ต้องการคอมเครื่องเล็กแต่มีสเปกตรงความต้องการ เช่น ถ้าคุณต้องเปิดหน้าต่างโปรแกรมเยอะ ๆ ก็อาจจะเน้นที่ซีพียูและแรม ซึ่งในส่วนของแรมนั้นเราสามารถซื้อมาอัปเกรดเพิ่มเติมได้เองครับ

ตัวเครื่องด้านนอกมีลักษณะเป็นเคสกล่องสี่เหลี่ยมขนาดกระทัดรัด เน้นสีดำเรียบหรู สามารถวางตั้งได้โดยไม่เกะกะพื้นที่บนโต๊ะทำงาน ทางด้านหน้าจะมีปุ่มเปิดเครื่อง, แจ๊คหูฟัง/ลำโพง 3.5 mm, พอร์ต USB 3.1 Gen 2 Type A ที่ความเร็ว 10 Mbps และพอร์ต Thunderbolt

ด้านข้างฝั่งหนึ่งจะมีช่องเสียบ SD Card Reader คอมเครื่องจิ๋วนี้ก็เหมาะกับคนที่ทำงานเกี่ยวกับรูปภาพด้วยนะครับ

ส่วนทางด้านหลังจะพอร์ตเพิ่มเติม (เรียงจากซ้ายไปขวา) ได้แก่ ช่องต่อสายเพาเวอร์, mini DisplayPort 1.4, Lan Intel i255 2.5G, 2x USB 3.1 Gen 2 Type A ที่ความเร็ว 10 Mbps, Thunderbolt และ HDMI 2.0

 

Specifications

ในส่วนของสเปกของตัวเครื่อง Intel NUC 11 Performance Kit (NUC11PAKi7) จะมาพร้อมซีพียู Intel Core i7-1165G7 สถาปัตยกรรม 10 นาโนเมตร ที่ได้รับการปรับปรุงด้านประสิทธิภาพ ด้วยแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads ความเร็วสูงสุด 4.7 GHz จึงเพียงพอต่อการทำงานร่วมกับโปรแกรมพื้นฐานในปัจจุบัน พร้อมรองรับเทคโนโลยีมากมาย หนึ่งในนั้นคือ Intel VT-x ให้เราเล่นเกมมือถือผ่านอีมูเลเตอร์ได้ งานนี้ถ้าอยากเปิดบอท Intel NUC 11 Performance Kit (NUC11PAKi7) ก็น่าสนใจเหมือนกันนะ

 

เนื่องจาก mini PC ตัวนี้มีขนาดเล็กมาก (เล็กจริง ๆ นะ วางบนมือได้เลย) จึงไม่สามารถติดตั้งการ์ดจอแยกลงไปได้ แต่ไม่เป็นไร ในซีพียู Intel Core i7-1165G7 ยังมีชิปกราฟฟิก Intel Iris Xe ที่ประสิทธิภาพพอ ๆ กับการ์ดจอแยกขนาดย่อมเลย เพื่อน ๆ สามารถเล่นเกมออนไลน์หรือชมภาพยนตร์ 8K/60 HDR10 ได้อย่างไม่มีปัญหา นอกจากนี้ในตัวชิปกราฟฟิกยังทำงานร่วมกับ AI ในโปรแกรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น AI ในโปรแกรมตระกูล Adobe หรือ Topaz Gigapixel

แต่ถ้าใครอยากใช้งานการ์ดจแยกจริง ๆ ก็สามารถหาซื้อ External GPU ที่เป็นกล่องต่อแยกข้างนอก โดยเชื่อมต่อผ่านพอร์ต Thunderbolt ได้เช่นกันครับ

จากนั้นก็จะถึงเวลาอัปเกรดให้เครื่องนี้พร้อมใช้งาน ซึ่ง Intel NUC 11 Performance Kit จะรองรับแรม DDR4 แบบ SO-DIMM (ขนาดเดียวกับแรมโน้ตบุ๊ก) บัสสูงสุด 3200 MHz ใส่ได้สูงสุด 2 สล็อตแบบ Dual channel ขนาดสูงสุด 64 GB เรียกได้ว่าอัดกันให้เต็มเหนี่ยวไปเลยล่ะครับ

 

และด้วยซีพียู Intel Core i7-1165G7 รองรับเทคโนโลยี PCIe 4.0 ดังนั้น Intel NUC 11 Performance Kit ตัวนี้จึงมาพร้อมสล็อต M.2 สำหรับติดตั้ง M.2 PCIe 4.0 NVMe SSD (ขนาด 2280) ความเร็วสูงสุดถึง 8,000 MB/s ได้เลยทีเดียว ส่วนใครที่มี PCIe 3.0 NVMe SSD อยู่แล้วก็สามารถนำมาใช้ได้เช่นกันครับ

 

 

Benchmark

เริ่มกันที่ประสิทธิภาพของซีพียู สามารถทำคะแนนใน CPU-Z และ Cinebench R20 อยู่ในระดับกลาง ๆ ต้องบอกก่อนนะครับว่า Core i7-1165G7 นั้นเป็นซีพียูที่อยู่ในโน้ตบุ๊ก แต่ประสิทธิภาพของมันยังแรงกว่าตัวท็อปในตำนานของเดสก์ทอปอย่าง Core i7-7700K ที่มีแกนประมวลผล 4 Cores/8 Threads เท่ากัน ถือว่าสามารถทำงานได้หลากหลายทั้งงานเอกสาร, งานมัลติมีเดีย, งานกราฟฟิก และการเล่นเกมออนไลน์

 

 

ถัดมาคือผลทดสอบ PCMark 10 เป็นการจำลองการทำงานร่วมกับโปรแกรมในชีวิตประจำวัน รวมถึงงาน Productivity และ Content creation ซึ่งคะแนนอาจจะไม่ได้หวือหวามาก แต่อย่าลืมนะครับว่าด้วยขนาดเล็กจิ๋วของมัน คะแนนเท่านี้ถือว่าทำได้ดีพอสมควรครับ

สุดท้ายคือการทดสอบ 3Dmark Time Spy และ Fire Strike ซึ่งก็เพียงพอที่จะใช้ทำงานกราฟฟิกเล็ก ๆ หรือเล่นเกมยอดนิยมอย่าง Far Cry 5 หรือ GTA V แบบปรับกราฟฟิกต่ำ ด้วยเฟรมราว ๆ 30-40 FPS แต่ถ้าเป็นเกมจำพวก CS:GO หรือ DOTA 2 อันนี้ไม่มีปัญหาครับ

เพื่อน ๆ สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายแลน หรือจะเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi ซึ่งใน Intel NUC 11 Performance Kit รองรับเทคโนโลยี Intel Wi-Fi 6 AX201 ช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและลดความล่าช้าในการส่งสัญญาณครับ

 

Summary

หลังจากได้ลองใช้งานต้องบอกว่า Intel NUC 11 Performance Kit (NUC11PAKi7) สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมพื้นฐานได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการรับชมภาพยนตร์, ฟังเพลง, ท่องอินเทอร์เน็ต สำหรับผมที่ต้องทำงานเกี่ยวกับ Content Creation พบว่าประสิทธิภาพของ mini PC ตัวนี้ ยังสามารถตตัดต่อวิดีโอสั้น ๆ ใน Adobe Premiere Pro หรือตกแต่งภาพผ่าน Adobe Photoshop ได้แบบสบาย ๆ ที่สำคัญยังสามารถเล่นเกม DOTA 2 ปรับกราฟฟิกกลาง ๆ ได้อย่างราบลื่นด้วย สำหรับผมมันคือครบจบได้ในเรื่องเดียวครับ

เพื่อน ๆ คนไหนที่ต้องการคอมพิวเตอร์เครื่องเล็ก ๆ ประหยัดพื้นที่บนโต๊ะ ใช้ทำงานพื้นฐาน ตกแต่งภาพบ้าง หรือเล่นเกมออนไลน์บ้าง แต่สามารถอัปเกรดแรมและ SSD ได้ด้วยตนเอง บอกเลยว่า Intel NUC 11 Performance Kit นี้ เหมาะกับคุณอย่างยิ่งครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า