Intel NUC (Next Unit of Computing) พีซีน่าใช้ในไซส์กระทัดรัด
จากที่อินเทลได้เคยกล่าวถึงเอาไว้ในปี 2012 ในเรื่อง Next Unit of Computing หรือ NUC ซึ่งเป็นพีซีขนาดเล็ก ที่มีองค์ประกอบเป็นเมนบอร์ดและซีพียู Intel Core processor แม้ว่าจะไม่ได้เป็นพีซีอย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถแสดงศักยภาพได้ดี ภายใต้ขนาดที่เล็กกระทัดรัด Pit-size PC ซึ่งปัจจุบันใช้ซีพียู Intel Core Gen 5 รวมถึงภายในยังรองรับ Enclosure ขนาดเล็กและสนับสนุน M.2 SSD อีกด้วย ปัจจุบันมีร้านค้าปลีกออนไลน์บางแห่งจำหน่าย NUC ที่ใช้ซีพียู Intel Core i5 สนนราคาอยู่ที่ประมาณ 375USD ส่วนที่้เป็น Core i3 นั้นลดลงเหลือ 300USD เท่านั้น เพียงแต่อาจจะหาได้ยากอยู่เหมือนกัน พอได้ทราบเรื่องราวคร่าวๆ ของ NUC กันไปแล้ว มาลองดูรีวิวและผลการทดสอบกันบ้าง
ดีไซน์และขนาด
NUC ไม่ได้สร้างความแปลกใจในการออกแบบที่ไม่ต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นบอดี้ขนาดเล็ก ในโทนสีเงินตัดดำ ซึ่งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นเราเตอร์ได้ง่ายๆ หรือดูคล้ายกล่องรับสัญญาณทีวี ความกว้างยาวประมาณ 4 นิ้ว และค่อนข้างหน้า พร้อมรองรับการใช้งานชุดคิท VESA ที่ใช้สำหรับติด NUC เข้ากับจอแสดงผลได้ ดีไซน์ค่อนข้างจะสร้างความประทับใจด้วยคุณภาพที่ให้ความรู้สึกทนทาน ดูหรูหรา อีกทั้งมีฝาที่ช่วยในการระบายความร้อนได้อีกทางหนึ่ง พร้อมพลาสติกมันวาว แต่อาจเป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย รวมถึงโครงสร้างที่อาจจะบางไปเล็กน้อย แต่ผู้ใช้สามารถเปิดฝาครอบได้ไม่ยากด้วยไขควงเพียงอย่างเดียว ซึ่งทาง Intel ก็มีออพชั่นที่จะนำมาใช้กับฝาปิด เพื่อขยายรูปแบบการทำงานได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การชาร์จแบบไร้สายหรือพอร์ตพิเศษ รวมถึงอินเทลมีแผนสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติในเวลาอันใกล้นี้ สำหรับให้ผู้ใช้สามารถออกแบบเปลี่ยนได้ตัวเอง
ในส่วนของฝาปิดไม่สามารถเข้าถึงองค์ประกอบภายในได้โดยตรง แต่ต้องหงายฐานขึ้นมา เพื่อไขเอาน็อตที่อยู่ในฐานยางออกมา จากนั้นไขเอาแผ่นโลหะที่ปิดอยู่ออก จึงจะเปิดให้เห็นถึงช่องต่อฮาร์ดไดรฟ์และแรม สามารถถอดเปลี่ยนได้ โดยซีพียูที่ถูกเชื่อมเข้ากับบอร์ดโดยตรง นับเป็นเรื่องที่ดีที่สามารถปรับเปลี่ยนสล็อตแรมและ SSD ภายในเครื่องได้ เพราะถ้ามามีอุปกรณ์มาครบ แต่ติดตั้งปรับเปลียนอะไรไม่ได้ ก็คงดูไม่น่าสนใจนัก
พอร์ตต่อพ่วง
แม้จะมีขนาดที่เล็ก แต่ NUC ก็สามารถจัดวางองค์ประกอบต่างๆ ได้ครบ เช่นเดียวกับพอร์ตที่บริเวณด้านหน้ามาพร้อมกับ USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต พอร์ตสำหรับต่อไฟเลี้ยง รวมถึงช่องหูฟัง ส่วนด้านหลังมีพอร์ต USB 3.0 และ DisplayPort รวมถึง HDMI และ Ethernet รองรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (WiFi) 802.11ac, Bluetooth 4.0
GeekBench
NUC ค่อนข้างมีความหลากหลายในเรื่องของหน่วยประมวลผล ส่วนสเปคที่นำมาใช้รีวิวนี้ เป็นซีพียู Intel Core i5-5250U ทำงานในแบบ Dual Core พร้อมกับ Hyper-Threading สัญญาณนาฬิกาพื้นฐาน 1.6GHz และมี Turbo Boost ในตัว ให้ความเร็วสูงสุด 2.7GHz
ผลที่ได้จากการทดสอบบน NUC กับซีพียู Core i5 ทำความเร็วได้อย่างน่าทึ่ง โดยคะแนนที่เกิดขึ้นทั่วไป ก็ทำให้มองเห็นว่า NUC สามารถรองรับการใช้งานในแต่ละวันของผู้ใช้ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บไซต์ แก้ไขเอกสารหรือจัดการไฟล์ต่างๆ ได้ ไมต่างไปจากโน๊ตบุ๊ครุ่นกลางๆ ทั่วไป ซึ่งอาจจะดูธรรมดา แต่ในความเป็นจริงอาจจะให้ความเร็วได้มากขึ้น จากการใช้งานร่วมกับ SSD เหมือนกับการทำงานบนเครื่องพีซีนั่นเอง นอกจากนี้ในแง่ของกราฟฟิกก็ยังน่าสนใจ ด้วยกราฟฟิกรุ่นใหญ่ Intel HD 6000 ที่ได้รับการอัพเกรดจาก NUC เดิม
3DMark
เห็นได้ชัดว่า NUC นั้น มีพลังในการจัดการมากพอสำหรับแสดงผล 4K ผ่านทาง DisplayPort ได้เต็ม 60Hz แต่คงไม่ต้องคาดหวังถึงเกมบนความละเอียดระดับนี้ เช่นเดียวกับความละเอียด Full-HD ที่ค่อนข้างจะเป็นเรื่องท้าทาย อย่างเช่น Diablo III ให้ค่าเฉลี่ยที่ประมาณ 30 เฟรมต่อวินาที ในแบบ Low detail และต่ำสุดอยู่ที่ 24fps แต่ถ้าใน High Detail เกมแทบจะแสดงผลเป็นสไลด์โชว์กันเลยทีเดียว เพราะเฉลี่ยอยู่ที่ 15fps ที่ดูน่าจะเหมาะสุดก็คือ การทำงานบน 720p
การใช้พลังงาน
แม้ว่า NUC จะไม่ได้มาพร้อมพัดลมระบายความร้อน แต่มีโบลเวอร์ขนาดเล็กที่ทำงานอย่างต่อเนื่องให้กับ Core i5 แต่ก็ไม่ได้มีเสียงรบกวนออกมาให้รู้สึกผิดปกติจากสภาพแวดล้อมในบ้านหรือที่ทำงาน โดยเมื่อโหลดมากที่สุดจะเกิดเสียงที่ 37 เดซิเบล แต่ก็ยังเรียกว่าเบาจนแทบไม่ได้ยินอยู่ดี ส่วนการใช้พลังงานนั้น อยู่ที่ 6 วัตต์ ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ต่ำจนน่าทึ่ง เพราะโน๊ตบุ๊คหลายรุ่นยังใช้พลังงานสูงกว่า แต่นั่นก็ต้องนับการใช้พลังงานจอมอนิเตอร์เข้าไปด้วย อย่างน้อย 33 วัตต์ โดยในการทดสอบ Wattmeter นั้น NUC มีการใช้พลังงานถึง 18 วัตต์ แต่ก็ยังถือว่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของโน๊ตบุ๊คอยู่ดี
ภาพรวมของ NUC
ในส่วนของการสั่งซื้อบนหน้าร้านออนไลน์นั้น สำหรับการพรีออเดอร์เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 375 USD แต่จะไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือแรมมาให้ ซึ่งหากเลือกไดรฟ์ที่นำมาใช้ร่วมกัน 128GB จะมีค่าใช้จ่ายอีก 70USD รวมถึงแรมโน๊ตบุ๊ค 4GB อีกประมาณ 40USD เพิ่มเติม Windows 8.1 อีกประมาณ 100USD รวมแล้ว NUC จะอยู่ที่ประมาณ 600USD แต่ถ้าขยับไปเป็น SSD 356GB และแรม 8GB ก็จะแตะอยู่ที่ 700USD
ซึ่งหากใครต้องการเดสก์ทอปพีซี แล้วก็ใช้เวลาในการติดตั้งฮาร์ดแวร์แค่ 5 นาที Intel NUC ถือว่าตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็วในการใช้งาน ขนาดที่เล็ก รวมถึงราคาไม่สูงเกินไปนัก รวมไปถึงการแสดงผลในแบบ 4K ที่ความเร็ว 60Hz โดยที่ NUC อาจจะไม่ได้เหมาะกับในทุกงานหรือทุกคน แต่แน่นอนว่าคุ้มค่าสำหรับงานธุรกิจและคนที่มองถึงความเรียบง่าย และไร้เสียงรบกวนในการทำงานอีกด้วย
ที่มา : digitaltrends
You must be logged in to post a comment.