Intel ปล่อย 18 Core, Core i9-7980XE Extreme Edition CPU พร้อมด้วย 16 และ 14 Core “Core X” Models – 7980XE อัด Overclocked ไปที่ 6.1 GHz ครบทุกแกนAcross All Cores, เก็บเรียบสถิติโลกใหม่ 6 อันดับ

 

นอกเหนือไปจากเจน 8th generation desktop CPUs ใหม่แล้ว, ทาง Intel ยังเปิดตัว high-end desktop chips เรียกว่าที่สุดออกมารวมถึงรุ่นท๊อปสุดอย่าง Core i7-7980XE พร้อมด้วยจำนวนแกน 18 cores.

Intel ปล่อยพี่เบิ้มออกมา Core i9-7980XE Extreme Edition พร้อมด้วยน้องๆอีก 16 และ 14 Core

และแล้วเวลาที่รอคอยก็มาถึงสำหรับใครที่เรียกตัวเองว่า เงินไม่ใช่ปัญหาและต้องการของที่แรงที่สุด-ชิปพร้อมด้วยจำนวนแกน 18, 16 และ 14 core, Core-X processors ที่เคยประกาศกันมาตั้งแต่เดือน มิถุนายนที่ผ่านมา. ซึ่งประกอบไปด้วยรุ่นแรงสุด Core i9-7980XE, ตามมาด้วย Core i9 7960X และ Core i9-7940X. ทั้งสามสามารถนั่งอยู่บน X299 motherboards ตัวปัจจุบัน, และก็ไม่พลาด overclockers ต่างๆก็นำไปยำเป็นที่เรียบร้อย. สถิติโลกตอนนี้เรียกว่าสลับตำแหน่งกันหมดเหตุเพราะชิปแรงๆกลุ่มนี้ – ซึ่งทางเราจะลงรายละเอียดให้ภายหลัง ตอนนี้เรามาดูทางด้านสเป็คกันก่อน .

รีวิว Intel Core i9 18 และ 16 Core CPU :

รีวิว Intel Core i9-7980XE และ Core i9-7960X :

Core i9-7980XE: ไม่มีใครเทียบเคียงมันได้ Intel ‘Skylake-X’ Processor พร้อมด้วย 18 Cores / 36 Threads – 2.6 GHz Base, 4.2 GHz Boost Clocks

ราคาก็แรงตาม $1999 MSRP ($111.11 per/ต่อ core) มาพร้อมสถาปัตยกรรม Skylake-X architecture, สำหรับ Intel Core i9-7980XE Extreme Edition มันก็คือปีศาจดีๆนี้เอง เหมาะมากกับกลุ่ม content creators/นักพัฒนาซอร์ฟแวร์ที่ต้องการแรงม้าแรงๆในการประมวลผลการคำนวณหรือ rendering performance. สำหรับเกมส์มิ่ง ยังเรียกว่าน้อยไป (แต่ถ้าเป็น CaaS enterprise ก็ว่ากันใหม่).

มาพร้อมจำนวนแกน 18 cores และ 36 threads แน่นอนกล้ามมาเป็นมัดๆใหญ่กว่า เหี้ยมกว่าหากเทียบกับ AMD 16 core Ryzen Threadripper 1950X. ความเร็ว Core clocks สำหรับ Core i9-7980XE จะอยู่ที่ 2.6 GHz (base), 4.2 GHz (Turbo Boost 2.0) และ 4.4 GHz (Turbo Boost Max 3.0). ตัว CPU ฟีเจอร์ L2 Cache ที่ 18 MB (1 MB per/ต่อ core) และ L3 cache ที่ 24.75 MB. รูปแบบ Quad channel DDR4 รับได้มากถึง 2666 MHz. TDP เรทที่  165W สามารถนั่งชิวๆได้บน LGA 2066 socket.

Core i9-7960X: Intel เวอร์ชั่น 16 Core / 32 Thread สำหรับคู่ชกโดยตรงกับ AMD Threadripper Platform – 2.8 GHz Base, 4.2 GHz Boost Clocks

ราคาแรง $1699 พร้อมด้วยสถาปัตยกรรม Skylake-X architecture, Core i9-7960X มีจำนวนแกนเท่ากับ ทาง AMD รุ่นที่เรียกว่าแรงสุด Threadripper CPU, สำหรับ Ryzen Threadripper 1950X ซึ่งถือว่ามันไม่ใช่เหตุบังเอิญ. ทาง Intel จัดให้เสร็จเอาแบบให้หายสงสัยกันไปเลยเพื่อน๊อค Threadripper platform แบบไม่ต้องนับถึงสิบและยังมาพร้อม Turbo Max 3.0 technology ซึ่งเหมือนกับรุ่นพี่.

ความเร็ว Core clocks อยู่ที่ 2.8 GHz (Base), 4.2 GHz (Turbo Boost 2.0) และ 4.4 GHz (Turbo Boost Max 3.0). L2 Cache มี 16 MB (1MB per/ต่อ core) และ L3 cache มี 22MB. รองรับความเร็ว Memory ได้พอๆกันในสาย Skylake-X processors รูปแบบ quad channel DDR4-2666.เรทค่าพลังงานที่ 165W.

Intel Core i9-7940X: Intel เวอร์ชั่น 14 Core / 28 Thread Processor สำหรับกลุ่ม Content Creators – 3.1 GHz Base และ 4.3 GHz Boost

ราคาแรงที่ $1399 ( $106.18 per/ต่อ core)  มาพร้อมสถาปัตยกรรม Skylake-X architecture,  Core i9-7940X เป็นอีกหนึ่งรุ่นที่เหมาะกับงานทางด้านการพัฒนาซอร์ฟแวร์ต่างๆที่ซีเรียสหรือ content creators. สำหรับเกมส์เมอร์ต่างๆ หากถามกันจริงๆก็ไม่มีใครที่จะลงทุนจำนวนแกนเกิน 8 cores (แต่มันก็ยังทำงานได้ดีในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลใหญ๋ๆ!) และหากมองดูภาพรวมของชิปกลุ่มนี้ ต้องบอกว่า จัดมาให้ใช้กันแบบเต็มๆสำหรับกลุ่มที่ต้องการงานประเภทการประมวลผลทางคำนวณที่เข้มข้นจริงๆ.

สำหรับ Core i9-7940X มีความเร็ว base clock ที่ 3.1 GHz (Base), 4.3 GHz (Turbo Boost 2.0) และ 4.4 GHz (Turbo Boost Max 3.0). มี 14 MB ที่เป็น L2 cache และ 19.25 MB ที่เป็น L3 cache.รูปแบบ quad channel DDR4 และ TDP เรทที่ (165W) เหมือนกับรุ่นพี่ๆ

ตระกูล Intel Core X สเป็ค:

สเป็คล่าสุดของตระกูล Intel Core X Series Processor:

Intel Core i9-7980XE และ Core i9-7940X สร้างสถิติโลกใหม่-ประสิทธิภาพกวาดเรียบสี่อันดับ, กินเรียบ 16 อันดับโลกแรก, ซดไฟ 1000W และอัดไปที่ 6.1 GHz ครบทุกแกน 18 Cores, 36 Threads

ผลทดสอบทางด้านประสิทธิภาพบอกได้เลย-แรงๆๆแหกโค้งหลุดจาก socketไปเลย. รุ่นแรงสุด Intel Core i9-7980XE ถูกทำ overclocked โดยนาย Der8auer เจ้าเก่าด้วย LN2 กับเมนบอร์ด ASUS Rampage VI Apex motherboard. อัดครบทุกแกน 18 cores และ 36 threads ไปหยุดที่ 6.1 GHz แรงดันไฟที่ 1.55V. นี้คือย่านความถี่ที่แรงที่สุดแบบครบทุกแกน – แต่ก็ไม่เสถียรเท่าที่ควรสำหรับความเร็ว clocks สูงๆเช่นนี้และการบริโภคก็กระโดดไปที่ 1 kilowatt mark.

การพิสูจน์ก็อย่างหนึ่ง, แต่การอัดครบทุกแกนเพื่อไปให้สุดถึงขนาดนี้ถือว่าไม่เคยปรากฏมาก่อน. แต่พอหันมาดูทางด้าน multi-threaded ใน Cinebench R15 benchmark, ตัว CPU ทำได้ยอดเยี่ยมและสูงสุดอยู่ที่ 5.6GHz ด้วย core voltage ที่ 1.45V. แต่การบริโภคพลังงานก็ใช่เล่น; เกือบแตะ 1000 watts โดยใช้สาย EPS 12V ระหว่างการทดสอบ. อันนี้ต้องยกความดีให้กับ Rampage VI Apex เช่นกันที่สามารถจ่ายพลังงานได้ยอดเยี่ยมรูปแบบ 8-phase power ไปยังวงจรของทาง ASUS

ถัดมา-ได้มีการปรับแรงม้าลงมาหน่อยให้มันเสถียรมากขึ้นที่ 5.6 – 5.7 GHz – overclocker สามารถทดสอบตัวชิปใน Cinebench R15 และทำคะแนนได้ 5635 points อันนี้อย่าบอกนะว่า จิ๊บๆ. แน่นอนว่าการบริโภคพลังงานก็ยังดูน่ากล้วอยู่- หากเฉลี่ยออกมาดูก็ประมาณแถวๆ 1000W mark. สามารถดูวีดีโอด้านล่างได้:

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=rEdXayoA1Es[/embedyt]

ถัดมาเป็นผลทดสอบของ Core i7-7980XE และ Core i9-7940X ใช้ ASUS Rampage VI Apex motherboard.

สรุปง่ายๆสำหรับ Core i9 18, 16 และ 14 core processors ต้องบอกว่ามันเหมาะมากในงานประเภทที่เข้มข้นรูปแบบ multi-thread และ multi application workloads/หลายประเภทปริมาณและงานในเวลาเดียวกัน แต่ก็ต้องจ่ายค่าตัวไปไม่น้อยเช่นกันเพื่อได้มันมาใช้. สำหรับ $2000 US Core i9-7980XE เป็นชิปที่เร็วที่สุดในโลกก็พูดได้ ณ เวลานี้แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าตัวที่แพงและการบริโภคพลังงานที่สูง. และยังไม่ได้กล่าวถึงระบบทำความเย็นที่ต้องการชนิดที่เรียกว่า สุดยอดมาดูแล. หากคุณต้องการสิ่งที่ดีที่สุด อันนี้ถือว่าเป็นทางเลือกที่ถูกทางแล้วหากจะเทียบกับคู่แข่งในตลาด.

ที่มาเครดิต/Sources:

http://wccftech.com/intel-core-x-core-i9-7980xe-7960x-7940x-launch-review/

 

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า