เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผย กลยุทธ์ IoT ใหม่ ตั้งแผนกใหม่ ส่งโซลูชันใหม่ เร่งการใช้งานของลูกค้า
ประกาศยุคใหม่ IoT หวนคืนสู่ “การประมวลผลแบบกระจายศูนย์”
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 16 พฤศจิกายน 2560
ประเด็นข่าวที่น่าสนใจ
- “Distributed Core” คือโมเดลใหม่ในการประมวลผล ซึ่งเป็นฐานของกลยุทธ์ IoT
- เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการเรียนรู้ของเครื่องกล ทำงานสอดประสานกับระบบโครงสร้าง IoT เพื่อมอบระบบงานที่ฉลาดยิ่งขึ้น คาดการณ์ได้มากขึ้น
- แผนก IoT ใหม่ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ จะควบคุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการครอบคลุม เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทั้งหมด
- ผลิตภัณฑ์ใหม่เฉพาะด้าน IoT รวมถึงห้องปฏิบัติการ และโปรแกรมคู่ค้า ช่วยให้ลูกค้าเร่งติดตั้งโครงการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว
- เดลล์ เทคโนโลยีส์ เตรียมลงทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในงานวิจัยพัฒนา ภายใน 3 ปีข้างหน้า
เดลล์ เทคโนโลยีส์ เผยวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ด้านอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) พร้อมแผนก IoT ที่ตั้งขึ้นใหม่ รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ห้องปฏิบัติการ โปรแกรมคู่ค้า และโมเดลการใช้งานใหม่สำหรับ IoT โดยเฉพาะ การประกาศในวันนี้ เน้นถึงคำมั่นสัญญาของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ในการช่วยให้ลูกค้าตระหนักถึงอนาคตด้านดิจิทัลด้วยการนำทางอย่างปลอดภัยไปสู่ภาพรวม IoT ที่ซับซ้อน และบ่อยครั้งก็เป็นภาพย่อยๆ
IoT โมเดลใหม่ที่กระจายศูนย์ในการประมวผล
มีลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่อยากปฏิรูปธุรกิจของตนไปสู่ดิจิทัล ซึ่งเป็นโมเดลใหม่ของการประมวลผลที่เพิ่งเกิดขึ้น 15 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมไอทีได้เห็นถึงการมาของคลาวด์ คอมพิวติ้ง โมเดลที่ใช้ศูนย์กลางเป็นหลักเพื่อให้บริการด้านไอที แต่ในยุคที่อุปกรณ์ทุกประเภท ตั้งแต่โทรศัพท์ รถยนต์ หลอดไฟไปจนอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ และเครื่องวัดชีพจร ต่างทำงานได้ฉลาดเหมือนมีชีวิต ทำให้เกิดความต้องการในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์และกระจายศูนย์ แค่อุปกรณ์เหล่านี้ไม่สามารถรอการตอบสนองจากระบบโครงสร้างคลาวด์แบบรวมศูนย์ ซึ่งอาจจะใช้เวลา ‘หลายวินาที’
“IoT เข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนการดำเนินงานในองค์กรและเปลี่ยนวิถีโลก” ไมเคิล เดลล์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าว “เดลล์ เทคโนโลยีส์ กำลังนำทางลูกค้าไปยังสถาปัตยกรรมในการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ ที่นำ IoT และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มารวมกันในระบบนิเวศที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ส่วนที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) จนถึงระบบงานหลัก (Core) ไปยังคลาวด์ ทำให้เห็นถึงนัยของสังคมโลกในปัจจุบันที่จะไม่มีสิ่งไหนที่ขาดความรอบรู้”
ลูกค้าได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้น ว่าภายในบริษัทเดียวกัน ต้องนำโซลูชัน IoT ที่สมบูรณ์มาใช้ร่วมกันในองค์กรได้ แนวทางการใช้งาน IoT ที่สมบูรณ์แบบของเดลล์ เทคโนโลยีส์ จะอยู่บนฐานเทคโนโลยีและบริการชั้นนำในตลาด รวมถึงระบบนิเวศคู่ค้าที่คัดสรรมาอย่างดีซึ่งออกแบบมาเพื่อให้เข้าใจถึงคุณค่าสำหรับลูกค้าในปัจจุบันและเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต
เดวิด เว็บสเตอร์ ประธาน ฝ่ายเอ็นเตอร์ไพร์ซประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี กล่าวเสริมว่า “ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ด้วยขนาดของประชากรและจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกัน ล้วนมีการเติบโตอย่างมหาศาล โดย IoT แสดงให้องค์กรเอ็นเตอร์ไพร์ซขนาดใหญ่เห็นถึงโอกาสครั้งสำคัญ ที่มาพร้อมกับความท้าทาย การที่จะทำให้อุปกรณ์ที่มีศักยภาพด้าน IoT ดึงคุณค่าออกมาจากข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลนั้น ต้องใช้ระบบโครงสร้างไอทีที่ทันสมัย ให้ความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางไปยังระบบหลักจนถึงคลาวด์ (edge-to-core-to-cloud) เดลล์ เทคโนโลยีส์ ช่วยองค์กรเหล่านี้แก้โจทย์ที่เป็นอุปสรรคด้านเทคโนโลยี พร้อมเข้าใจถึงระบบนิเวศไอทีได้ทั้งหมด ช่วยให้สร้างนวัตกรรมและมอบประสบการณ์ที่สร้างความแตกต่างให้กับลูกค้า”
อมิต มิธา ประธาน ฝ่ายคอมเมอร์เชียลประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เดลล์ อีเอ็มซี ได้ให้ความเห็นเรื่องดังกล่าวว่า “การปฏิรูปสู่ดิจิทัล เป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอดสำหรับองค์กรในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นในปัจจุบัน และ IoT ยังพิสูจน์แล้วว่าเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความแตกต่างหลักในการปฏิรูปดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้ทั่วทุกตลาดและอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันในภูมิภาค หนทางที่จะเข้าถึงประโยชน์ของการติดตั้ง IoT ไม่ได้เด่นชัดเสมอไป แม้ในขั้นตอนแรกของโครงการจะมีอุปสรรคจากการขาดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด หรือเทคโนโลยีมีความซับซ้อน ทั้งนี้จากการทำให้เมืองของเราเป็นอัจฉริยะมากขึ้น ช่วยให้สามารถสร้างแนวทางปฏิบัติด้านการทำฟาร์มได้ยั่งยืนมากขึ้น เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้พัฒนาโซลูชันและการบริการ รวมถึงระบบนิเวศคู่ค้าที่ฉพาะสำหรับ IoT ช่วยให้องค์กรสามารถก้าวผ่านความท้าทายและขับเคลื่อนไปสู่การเดินทางในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลได้”
แผนก IoT ใหม่ของเดลล์ เทคโนโลยีส์
แผนก IoT ใหม่ของบริษัทฯ จะนำโดย เรย์ โอ’ฟาร์เรล ซีทีโอ ของ VMware โดยได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง พร้อมควบคุมการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน IoT ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ในตระกูลเดลล์ เทคโนโลยีส์ ฝ่ายโซลูชัน IoT จะรวมเทคโนโลยีที่พัฒนาภายในองค์กรเข้ากับส่วนที่นำเสนอจากระบบนิเวศอันกว้างใหญ่ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ เพื่อมอบโซลูชันที่สมบูรณ์แบบให้กับลูกค้า
“เดลล์ เทคโนโลยีส์ เห็นถึงโอกาสในการเติบโตอย่างรวดเร็วของโลก IoT จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามากมายในตลาด เอดจ์ คอมพิวติ้ง” เรย์ โอ’ฟาร์เรลล์ รองประธานบริหาร และ ซีทีโอ VMware และผู้จัดการทั่วไป ฝ่าย IoT ของเดลล์ เทคโนโลยีส์ กล่าวเสริม “ฝ่าย IoT ใหม่ของเรา จะใช้จุดแข็งของธุรกิจในทุกตระกูลใต้เดลล์ เทคโนโลยีส์ มาช่วยให้มั่นใจว่าเราจะนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสม ด้วยการผสานเข้ากับระบบนิเวศคู่ค้าที่กว้างใหญ่ของเรา เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และช่วยลูกค้านำระบบ IoT ที่ผสานการทำงานร่วมกันมาใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น”
“ด้วยความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อการผลักดันในด้าน IoT เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้รับการจัดวางให้มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่สำคัญในด้าน IoT รวมทั้งช่วยกำหนดอนาคตด้านดิจิทัลให้กับองค์กรต่างๆ ให้สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0” นายอโณทัย เวทยากร รองประธานบริหาร เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคอินโดจีน กล่าว “เรามองเห็นโอกาสมหาศาลที่รอเราอยู่ข้างหน้าเนื่องจากองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนมากที่หันมาตอบรับการใช้งานระบบอัจฉริยะขั้นสูง ตั้งแต่ส่วนที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) จนถึงระบบงานหลัก (Core) ไปยังคลาวด์ (Cloud) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและนำไปสู่ความก้าวหน้าของประเทศ”
การลงทุนเพื่อขยายผลลัพธ์ในอนาคต IoT ของเรา – ทั้งผลิตภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการ โปรแกรมคู่ค้า
ภายใน 3 ปีข้างหน้า เดลล์ เทคโนโลยีส์ จะลงทุนอีก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในผลิตภัณฑ์ โซลูชัน ห้องปฏิบัติการ ระบบนิเวศและโปรแกรมคู่ค้าใหม่สำหรับ IoT
ปัจจุบัน เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้นำเสนอ Edge Gateways ซึ่งบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัยโดย VMware IoT Control Center นอกจากนี้ยังได้ยกระดับ เซิร์ฟเวอร์ PowerEdge C-Series ของเดลล์ อีเอ็มซี สำหรับการฝึกอบรมทั้งหมด รวมถึงแมชชีน เลิร์นนิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานหลักแบบกระจายศูนย์ (distributed core) โดย Dell EMC Isilon และ Elastic Cloud Storage จะสตอเรจจัดเก็บไฟล์ และ อ็อบเจ็กต์ สำหรับข้อมูลขนาดมหาศาล และให้ศักยภาพด้านการวิเคราะห์ผ่าน HDFS โดย Pivotal Cloud Foundry (PCF) และ Pivotal Container Service (PKS) ให้แพลตฟอร์มในอุดมคติ สำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ด้านการวิเคราะห์ที่ทำงานบนคลาวด์ บริการ PCF ของ Virtustream ให้บริการในการบริหารจัดการ Pivotal Cloud Foundry ที่นำไปใช้และดำเนินการด้านเวิร์กโหลดสำคัญที่อยู่บนสถาปัตยกรรมคลาวด์ ใน Virtustream Enterprise Cloud ในขณะที่ Virtustream Storage Cloud ก็จะพร้อมสำหรับ คลาวด์ อ็อบเจ็กต์ สตอเรจ แบบ off-premises ท้ายสุด Dell Boomi จะทำการเชื่อมต่อกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว เพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านการวิเคราะห์บนคลาวด์ และ การเรียนรู้ในเชิงลึก (Deep Learning)
ความริเริ่มในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่
- Dell EMC ‘Project Nautilus’ เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการทำ query และย่อย ข้อมูลจำนวนมากที่ได้จาก IoT เกตเวย์ แบบเรียลไทม์ โดยสามารถอาไคฟว์ข้อมูลในรูปของไฟล์ หรืออ็อบเจ็กต์ สตอเรจ เพื่อการวิเคราะห์ขั้นสูงในเชิงลึกได้
- ‘Project Fire’ แพลตฟอร์มไฮเปอร์ คอนเวิร์จ ซึ่งเป็นส่วนของโซลูชัน IoT ในตระกูล VMware Pulse ที่ให้การบริหารจัดการที่เรียบง่าย ประมวลผลได้จากภายใน (local compute) รวมถึงมีสตอเรจ และแอปพลิเคชัน IoT เช่นระบบวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ ‘Project Fire’ ช่วยให้องค์กรธุรกิจนำ use cases ด้าน IoT มาใช้งานได้เร็วขึ้น และมีซอฟต์แวร์ระบบโครงสร้างที่เสถียรตั้งแต่ส่วนปลายทางที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ (edge) ไปจนถึงระบบหลัก (core) จนถึง คลาวด์
- RSA ‘Project IRIS’ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาใน RSA Labs ซึ่ง Iris ได้มีการขยายความสามารถของระบบวิเคราะห์ความปลอดภัย เพื่อให้ความสามารถในการสอดส่อง และมองเห็นภัยคุกคามที่เข้ามาที่ Edge
- เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก อย่าง ตัวเร่งประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ (processor accelerators) จะช่วยเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ได้ใกล้เคียงกับ Edge ทั้งนี้ ความร่วมมือกับผู้นำอุตสาหกรรม อย่าง VMware, Intel และ NVIDIA รวมถึงการลงทุนของ Dell Technologies Capital ใน Graphcore สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสในการนำศักยภาพของเซิร์ฟเวอร์มาใช้สำหรับ AI, Machine Learning และ Deep Learning ได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเยี่ยมชมหนึ่งในศูนย์ปฏิบัติการ IoT ของเดลล์ เทคโนโลยี ที่ ออกแบบใหม่ ได้
ความริเริ่มด้านบริการ IoT ใหม่ ได้แก่
- บริการให้คำปรึกษา รวมถึงการให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์ในการกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ รวมถึงทิศทาง และกลยุทธ์ การออกแบบระบบโครงสร้าง การนำไปใช้งาน และบริการสนับสนุนต่างๆ
- การติดตั้ง ‘Worldwide Herd’ บริการด้านคำปรึกษาสำหรับการดำเนินการด้านวิเคราะห์ข้อมูลที่กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสำคัญยิ่งขึ้นเพราะช่วยสร้างศักยภาพในการเรียนรู้เชิงลึกเกี่ยวกับชุดข้อมูลที่ไม่สามารถโยกย้ายได้เนื่องจากติดในเรื่องของขนาด ความเป็นส่วนตัว และข้อกังวลเรื่องกฏระเบียบ
นอกจากนี้ จากการมุ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยีและการบริการเป็นหลัก เดลล์ เทคโนโลยีส์ จึงได้วางกลยุทธ์ในการขยายการเติบโตของ IoT ผ่านโปรแกรมคู่ค้าและระบบนิเวศที่แข็งแกร่ง
- ของเดลล์ ที่ชนะเลิศรางวัล เป็นโปรแกรมคู่ค้าสำหรับโซลูชัน IoT แบบ มัลติ-เทียร์ ที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ประกอบไปด้วยคู่ค้ากว่า 90 รายที่มาจากองค์กรต่างๆ เช่น Intel, Microsoft และ SAP ตลอดจนสตาร์ท-อัพ เช่น Action Point, IMS Evolve, FogHorn และ Zingbox
- ปัจจุบัน โปรแกรมดังกล่าวจะให้การสนับสนุนคู่ค้าในธุรกิจของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ทั้งหมด ช่วยให้การประสานความร่วมมือและการติดตั้งโครงการต้นแบบทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
- ตัวอย่างของระบบนิเวศคู่ค้า ที่ทำงานร่วมกัน จากการประกาศเมื่อไม่นานมานี้ ในการที่ VMware และ SAP ได้ประสานความร่วมมือในการสร้างโซลูชันรวม สำหรับระบบวิเคราะห์ IoT และ แอปพลิเคชันเฉพาะทาง โซลูชันดังกล่าวใช้ VMware Pulse IoT Center, SAP Cloud Platform และ SAP Leonardo และเป็นโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ลูกค้านำ use case IoT มาใช้ได้เร็วขึ้น และขยายขีดความสามารถได้ง่ายยิ่งขึ้น
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ยังคงมุ่งมั่นในเรื่องของมาตรฐานด้าน IoT และความเป็นระบบเปิด โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของ EdgeX Foundry, Industrial Internet Consortium (IIC) และ OpenFog Consortium โดยเดลล์ ได้มอบซอร์สโค้ดให้ EdgeX Foundry โครงการโอเพนซอร์สที่ไม่ขึ้นกับผู้จำหน่ายรายใด ในการสร้างเฟรมเวิร์กที่ให้ความสามารถในการทำงานร่วมกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับระบบนิเวศสำหรับ Edge Computing ตั้งแต่มีการเปิดตัวในเดือนเมษายน 2017 Edge Foundry เติบโตจนมีสมาชิกองค์กรมากกว่า 60 แห่ง โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการประกาศเปิดตัว โครงการแรกที่เป็นหลักไมล์ความสำเร็จครั้งสำคัญครั้งแรก ด้วยการออกโค้ด ‘Barcelona’ รวมถึงการเป็นพันธมิตรร่วมกับ IIC เพื่อทำงานร่วมกันในส่วน testbeds
IoT กำลังสร้างโมเดลรายได้ใหม่สำหรับลูกค้า และ ในทางกลับกัน ก็ให้ทางเลือกใหม่ด้านไฟแนนซ์ ซึ่งเดลล์ เทคโนโลยีส์ มอบความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินสำหรับลูกค้า คล้ายรูปแบบของการใช้คลาวด์ ผ่าน Dell Financial Service ที่ให้โมเดลการใช้งานที่ยืดหยุ่น โซลูชันด้านการจ่ายเงินเหล่านี้ พร้อมให้บริการสำหรับทุกตระกูลธุรกิจภายใต้ เดลล์ เทคโนโลยีส์ และช่วยให้ลูกค้าได้รับความยืดหยุ่นในการซื้อและใช้เทคโนโลยี
การลงทุนในอนาคตของ IoT ผ่าน Dell Technologies Capital
Dell Technologies Capital ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนของ เดลล์ เทคโนโลยีส์ ได้ร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดในแผนก IoT ใหม่ ด้วยการให้มุมมองเชิงลึกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและความร่วมมือในการสนับสนุนวาระที่เป็นยุทธศาสตร์ จากการลงทุนในองค์กรสตาร์ทอัพ และผู้ก่อตั้งที่ดูมีอนาคต โดย Dell Technologies Capital จะให้การเชื่อมโยงที่มีค่าไปสู่ระบบนิเวศด้านนวัตกรรมจากภายนอก ช่วยเร่งการพัฒนาพร้อมกับนำเทคโนโลยี และโซลูชันใหม่ๆ ด้าน IoT, AI และ ML มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ Dell Technologies Capital จะแสดงให้เห็นถึงบางกรณี เกี่ยวกับการลงทุนและองค์กรสตาร์ทอัพเหล่านี้ ในงาน New York IQT ของบริษัทฯ ดังต่อไปนี้
- Edico Genome ผู้สร้างโปรเซสเซอร์ตัวแรกของโลกที่ออกแบบมาเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลรุ่นใหม่ที่มีการเรียงลำดับ (sequencing data)
- FogHorn Systems ผู้พัฒนาชั้นนำด้านซอฟต์แวร์ edge-device อัจฉริยะ สำหรับโซลูชัน IoT
- Graphcore ผู้พัฒนาโปรเซสเซอร์แบบเน็กซ์เจน ที่ช่วยเร่งการใช้โซลูชัน AI ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
- Moogsoft ผู้นำตลาดในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์กับ IT Ops (AIOps)
- Zingbox ผู้พัฒนาโซลูชันรักษาความปลอดภัย IoT ที่ให้ศักยภาพการใช้อุปกรณ์ IoT ได้อย่างเชื่อมั่น (Internet of Trusted Things)
You must be logged in to post a comment.