สำหรับเพื่อน ๆ ที่ซื้อโน้ตบุ๊กมาพร้อมแรม DDR5 อันน้อยนิด แล้วอยากอัปเกรดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเดิม วันนี้แอดมีแรมสุดคุ้ม Kingston มาแนะนำ แต่นี่ไม่ใช่แรม DDR5 แบบทั่วไปนะครับ เพราะชุดแรมออกแบบมาให้เข้ากันได้กับระบบของคุณโดยเฉพาะ (System-Specific Memory) จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูรีวิวกันเลย !!
Kingston KCP548SS8K2-32 แรม DDR5 สุดคุ้มที่คุณคู่ควร
รุ่นที่แอดนำมารีวิว เป็นแรม kit แบบคู่ 16GBx2 บัส 4800 MT/s ในแพ็กเกจสุดเรียบง่ายครับ เนื่องจากเป็นแรมที่เน้นเรื่องของความคุ้มค่าและลดพื้นที่การติดตั้ง จึงไม่มีส่วนของฮีตสเปรดเดอร์ (หรือบางคนอาจจะเรียกว่ากรอบนอก) มาให้ เป็นแรมเขียวเปลือยสุดคลาสสิก
ส่วนตัวแอดชอบแรมแบบนี้ เพราะมันค่อนข้างคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป โดยที่ประสิทธิภาพไม่ได้แตกต่างไปจากรุ่นที่มีฮีตสเปรดเดอร์เท่าไร อีกทั้งยังเหมาะแก่การอัปเกรดในโน้ตบุ๊กบางเบาที่มีพื้นที่ในการติดตั้งน้อย ๆ ด้วยครับ
หลังจากติดตั้งเรียบร้อยก็ต้องมาเช็กสเปกกันสักหน่อย แรม Kingston KCP548SS8K2-32 ใช้ชิปแรม Micron วิ่งด้วยความเร็ว 4800 MT/s (DRAM Frequency x2) และได้แรมแบบ Dual channel (ใน DDR5 จะอ่านค่าเป็น 4x 32-bit) นั่นแสดงว่าการอัปเกรดแรมในครั้งนี้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี สบายใจได้ คุณได้แรมครบตามสเปกแล้วครับ
จุดเด่นของแรม DDR5
โน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูรุ่นใหม่โดยเฉพาะ 12th Generation Intel Core Series จะรองรับการใช้งานคู่กับแรม DDR5 ซึ่งเป็นการอัปเกรดทั้งประสิทธิภาพและความเสถียรเหนือขึ้นไปจากแรม DDR4 โดยมีจุดเด่น ดังนี้
1. ความเร็วเพิ่มขึ้น
ด้วยความเร็วเริ่มต้นที่สูงถึง 4800 MT/s ทำให้การทำงาน, แปลงไฟล์วิดีโอ, ตัดต่อวิดีโอ, ตกแต่งรูปภาพ รวมถึงการเล่นเกมรวดเร็วขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับแรม DDR4
2. จัดการพลังงานดีกว่าด้วย PMIC
ภายในโมดูลของแรม DDR5 จะมีวงจรเฉพาะเรียกว่า PMIC ที่ทำหน้าที่จัดการพลังงานของชิปหน่วยความจำ ควบคุมการจ่ายพลังงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้การส่งสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ ทำได้ดีและเสถียรมากขึ้น
3. วงจรแรมระดับเซิร์ฟเวอร์รวมอยู่ที่นี่แล้ว
ภายในชิปแรม DDR5 จะมีวงจร ECC ทำหน้าที่รักษาความสมบูรณ์ของข้อมูล ลดการประมวลผลผิดพลาดของข้อมูลในระหว่างการทำงาน ซึ่งเดิมฟีเจอร์นี้จะมีอยู่ในแรมระดับเซิร์ฟเวอร์เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของแรม DDR5 จึงได้นำฟีเจอร์ระดับเทพนี้มาใส่ไว้แทน
ทำไมต้องเลือกแรม Kingston System-specific
ก่อนที่จะไปดูรีวิวแรม เดี๋ยวผมจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักกับแรมแบบ System-specific จาก Kingston สักเล็กน้อยนะครับ เชื่อว่ามีเพื่อน ๆ จำนวนไม่น้อยที่มีประสบการณ์ไม่ดีในการอัปเกรดแรมบนโน้ตบุ๊ก บางคนอัปเกรดแล้วได้ความเร็วไม่เต็ม, บ้างก็เกิดอาการจอฟ้าขณะใช้งาน หรือหนักเข้าคือเปิดเครื่องไม่ติดตั้งแต่เริ่มต้น นี่จึงเป็นที่มาของแรมแบบ System-specific นั่นเองครับ
Kingston ได้เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทดสอบความเข้ากันได้ระหว่างแรมและโน้ตบุ๊กแต่ละรุ่นที่สามารถใช้งานร่วมกับแรมได้เสถียร และพบปัญหาในการใช้งานน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ นั่นหมายความว่าแรมแบบ System-specific ได้รับประกันความเข้ากันได้ 100% กับระบบของผู้ใช้งานครับ
ซึ่งจะมีวิธีเช็กความเข้ากันได้ของแรม DDR5 จาก Kingston กับโน้ตบุ๊กของเพื่อน ๆ ด้วย
วิธีการเช็กความเข้ากันได้ระหว่างแรม Kingston และโน้ตบุ๊กของคุณ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการความมั่นใจในการอัปเกรดแรม ประมาณว่าซื้อมาแล้วใช้ได้แน่นอน ทาง Kingston มีหน้าเว็บไซต์ให้เราเข้าไปเช็กได้ผ่านลิ้งก์ https://www.kingston.com/th/memory/desktop-laptop โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. พิมพ์ชื่อรุ่นของโน้ตบุ๊กหรือรหัสรุ่นลงไปในช่องค้นหา
2. เลือกรุ่นที่ต้องการค้นหา (โน้ตบุ๊กบางแบรนด์ใช้ชื่อรุ่นเดียวกันแต่คนละปี คนละสเปกนะครับ ต้องเลือกให้ถูกด้วยนะ)
3. เลื่อนลงมาด้านล่าง จะเจอรายการแรมต่าง ๆ ให้กดเข้าไปที่ System Specific Memory เท่านี้ก็จะปรากฏรายการแรมให้เห็นแล้ว
ทั้งนี้ แม้โน้ตบุ๊กของเราจะไม่มีแรมแบบ System-specific ก็ใช่ว่าจะซื้อมาใช้งานไม่ได้นะครับ เพื่อน ๆ ยังสามารถซื้อแรมมาใช้ได้เหมือนกัน แอดได้ลองใช้งานกับโน้ตบุ๊ก MSI Raider GE66 ที่ไม่มีรายการแรม System-Specific ให้เลือก แต่ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับแรมได้ เพียงแต่อาจจะต้องระมัดระวังสักเล็กน้อยว่าเรามีโอกาสที่จะเจอปัญหาเรื่องความเข้ากันได้อยู่บ้างนะครับ
และนี่คือแรมสุดคุ้มจากทาง Kingston หวังว่าเพื่อน ๆ จะมั่นใจในการอัปเกรดแรมด้วยตัวเองมากขึ้นนะครับ สำหรับวันนี้สวัสดีครับ
You must be logged in to post a comment.