Review: Kingstong DataTraveier microDuo 3C มาตราฐานใหม่สำหรับแฟรชไดร USB 3.1 Type-C

Review: Kingstong DataTraveier microDuo 3C มาตราฐานใหม่สำหรับแฟรชไดร USB 3.0

 

สวัสดีเพื่อนๆชาว ExtremePc ทุกๆท่าน สำหรับวันนี้ทางทีมงานก็กลับมาพบเจอกันเช่นเดิมทุกวัน แต่วันนี้ก็ขอรีวิวของเบาๆสบายๆกันสักหน่อยนั้นก็คือ
แฟรชไดรจากทาง Kingston หลายๆคนก็อาจจะได้ใช้งานกันอยู่แล้วและผมเชื่อได้ว่ากว่า 80% สำหรับคนที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องได้ใช้เจ้าแฟรชไดร์กันอย่างแน่นอน
แต่ทว่าเวลาเราเลือกซื้อใช้งานเรามักจะมองแต่ความจุและราคา จริงๆแล้วแฟรชไดรก็มีความเร็วในการอ่านเขียนเหมือนกันครับ สำหรับการอ่านเขียนในแต่ละรุ่นก็จะแตกต่างกันไป
การใช้งานของแต่ละคนอาจจะถ่ายโอนข้อมูลขนาดใหญ่ก็ต้องใช้งานแฟรชไดรที่มีความเร็วในการอ่านเขียนสูงสักเล็กน้อย
ไม่เช่นนั้นแล้วแฟรชไดรขนาด 32 64  หรือ 128 GB นั้น แต่อ่านและเชียนช้ามากๆกว่าจะก๊อปไฟล์จนเมมเต็มก็รอกันตายพอดี
เอาเป็นว่าเข้าเรื่องกับเจ้า Kingstong DataTraveier microDuo 3C กันเลยดีกว่าครับว่ามันจะดีขนาดไหนไปชมกันเลย

 

 

DSC_9156

มาดูกันที่ตัวสินค้ากันก่อนเลยดีกว่าครับ เจ้า Kingstong DataTraveier microDuo 3C  ก็จะมาในรูปแบบแพ๊คเกจปกติ
ซีนอยู่ในกล่องพลาสติกใสทั่วไป สำหรับขนาดที่ผมได้รับมาในวันนี้ก็เป็นขนาด 32 GB ด้วยกัน

DSC_9158

แกะกล่องกันออกมาก็วางตัวแฟรชไดรมาเทียบกับเหรียญบาทกันก่อนเลย สำหรับขนาดของแฟรชไดรนั้น
ก็มีขนาดที่เล็กมากๆ เมือวางเทียบกันแล้วก็ไม่ใหญ่เท่าไร บนตัวแฟรชไดรนั้นก็ได้มีการสกรีชื่อรุ่นเอาไว้ว่า DataTraveier microDuo 3C

DSC_9161

มาดูอีกฝั้งหนึ่งกันดีกว่าทางด้านนี้ก็จะมีห่วงขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อเอาไว้คล้องสายหรือจะห้อยคอหรือพวงกุนแจ

DSC_9163

 

สำหรับแฟรชไดรรุ่นนี้ก็จะมี 2 หัวนะครับ หัวอีกด้านหนึ่งนี่นผมไม่ขอพูดถึงเพราะการเชื่อมต่อนั้นใช้งานเป็น USB 3.0/3.1 สีเหลี่ยมปกติครับ
แต่มาดูทางด้านฝั้งนี้กันดีกว่า สำหรับฝั้นนี้จะเรียกว่า USB 3.1 Type C ครับ ประสิทธิภาพนั้นแน่นอนว่าดีกว่ารุ่นเก่า
และในอนาคตจะเปลียนมาใช้งานกันมากยิ่งขึ้น สำหรับความเร็วในการเชื่อมต่อแบบ type c ผมไม่ขอพูดถึงเพราะว่ามันวิ่งได้
ไม่เต็มแน่นอนสำหรับ USB ในยุคนี้ แต่เดียวเราไปดูผลทดสอบกันเลยดีกว่าครับ

Mainboard
Gigabyte Z170X-SOC FORCE
CPU
INTEL Core i7 6700k
CPU Cooler
Custom Watercooling
Memory
G.skill trident Z 3200 MHz 16 Gb
VGA
PowerColor R9 FURY X 4GB HBM Support By Powercolor
SSD
Ocz Vector 150 240 GB
SSD
———–
Power Supply
CORSAIR AX 1500i

 

1

2

3

4

5

6

7

8

9

ก็จบไปแล้วสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของเจ้าแฟรชไดรแบบ USB 3.1 Type C  การทดสอบท้ังหมดผมเสียบทดสอบที่แบบ Type C เพื่อที่
จะได้เห็นความเร็วสูงสุดในการเขียนและอ่านข้อมูล สำหรับผลที่ทดสอบออกมาก็เรียกว่าน่าตกใจเลยทีเดียวเพราะค่าอ่านเขียนอยู่ที่  110/20 MB โดยประมาณ
เรียกได้ว่าความเร็วแทบจะเท่า HDD ของในเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้วก็ถือว่าทำให้เราถ่ายโอนข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นเวลาคุณรีบๆใช้งานหรือ
ต้องเอาโปรแกรมไปลงที่เครื่องก็สามารถอ่านจากแฟรชไดรได้เลยไม่ต้องก๊อปไปๆมาๆเพราะความเร็วนั้นให้กันแบบจัดเต็มเลยทีเดียวครับ
เอาเป็นว่าสำหรับการทดสอบในวันนี้ก็เพียงพอแล้ว สำหรับวันนี้ทางผมก็คงต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า