รีวิว KLEVV CRAS C710 – M.2 SSD PCIe 3.0 คุ้มค่าคุ้มราคา ทั้งสายทำงานและสายเกมมิ่ง

เชื่อว่าตอนนี้ยังมีอีกหลายคนที่ใช้เมนบอร์ด PCIe 3.0 กันอยู่ และน่าจะกำลังมองหา M.2 SSD สักตัวที่ใช้ดี คุ้มค่ากับเม็ดเงินที่จ่าย วันนี้ผมมี KLEVV CRAS C710 M.2 SSD มารีวิวให้ชมกันครับ

แกะกล่องชมสเปก KLEVV CRAS C710 M.2 SSD

ส่วนตัวผมชอบดีไซน์ M.2 SSD แบบนี้นะ เพราะมันไม่มีฮีตซิงก์ใหญ่เกะกะ ดูเรียบ ๆ เน้นคุมโทนไปกับเมนบอร์ดบอร์ด ในขณะเดียวกัน เนื่องจากเป็น SSD ที่วิ่งบน PCIe 3.0 ทำให้ความร้อนสะสมน้อยกว่า จึงไม่จำเป็นต้องมีฮีตซิงก์ช่วยระบายความนร้อนนั่นเองครับ

KLEVV CRAS C710 เป็น M.2 ขนาดมาตรฐาน 2280 มีความจุให้เลือก 256GB, 512GB และ 1TB ซึ่งแต่ละความจุจะมีความเร็วในการอ่าน/เขียนต่างกันเล็กน้อย ดังนี้

ความจุ 256GB 512GB 1TB
ความเร็วในการอ่าน (MB/s) 1,950 2,050 2,100
ความเร็วในการเขียน (MB/s) 1,250 1,650 1,650
ความทนทาน (TBW) 150 300 600

 

จุดเด่นของ KLEVV CRAS C710 M.2 SSD

จริง ๆ ชิป NAND ใน KLEVV CRAS C710 จะเป็นชิป TLC ครับ ซึ่งให้ความคงทนในระดับที่ดี และส่วนมาก SSD ในท้องตลาดจะใช้ชิปประเภทนี้ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของ KLEVV CRAS C710 จะอยู่ที่แคช SLC ต่างหาก

ชิป NAND ที่นำมาใช้ใน SSD จะแบ่งตามความเร็วและความทนทาน เรียงตามลำดับ คือ SLC > MLC > TLC > QLC จะเห็นว่า SLC มีความเร็วสูงที่สุดและทนทานที่ ซึ่งแคช SLC ใน SSD ตัวนี้ ถูกออกแบบมาให้เป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูล กรณีที่เราถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ไม่เกินขนาดแคช SLC เราก็จะได้ความเร็วที่เพิ่มขึ้น แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานของชิป TLC ได้ด้วยนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมาพร้อมเทคโนโลยี Thermal Throttling Mechanism ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจัดการเรื่องอุณหภูมิของ SSD ทำให้ KLEVV CRAS C710 ทำงานได้เสถียรขึ้น ไม่กระทบต่อความเร็วในการอ่าน/เขียนครับ

มาพร้อมซอฟต์แวร์ช่วยจัดการข้อมูล

KLEVV CRAS C710 จะมาพร้อมคีย์โปรแกรม Acronis True Image HD 2018 ที่ช่วยแบ็กอัปข้อมูลสำคัญ ซึ่งเราสามารถโอนถ่ายข้อมูลไปยัง SSD ลูกใหม่ได้อย่างรวดเร็วในไม่กี่ขั้นตอน

ทดสอบประสิทธิภาพ  

ในการทดสอบผมใช้โปรแกรมยอดนิยมอย่าง AS SSD และ CrystalDiskMark ซึ่งจะเห็นว่า KLEVV CRAS C710 รุ่น 1TB น่าจะมีความเร็วในการอ่าน/เขียนอยู่ที่ราว ๆ 2,100/1,650 MB/s แต่ในผลการทดสอบได้ความเร็วสูงราว ๆ 3,000/2,000 MB/s เลยทีเดียว !!

นั่นเป็นผลมาจากการทำงานของแคช SLC ใน KLEVV CRAS C710 ที่ช่วยให้การรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้น เมื่อเรารับส่งข้อมูลในอัตราส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ หากมีการส่งข้อมูลขนาดใหญ่เกินแคช ความเร็วอ่าน/เขียนก็จะเป็นไปตามสเปกที่ SSD ระบุไว้นั่นเองครับ

ใครที่มองหา M.2 SSD ที่ทำงานบน PCIe 3.0 มาใช้งานกับเมนบอร์ดคู่ใจ แนะนำ KLEVV CRAS C710 ซึ่งตอนนี้เรามีทาง Doracool เป็นตัวแทนนำเข้าผลิตภัณฑ์แบรนด์ KLEVV เพียงหนึ่งเดียวแล้วนะครับ แหมะ แบบนี้ก็รู้สึกอุ่นใจแล้วล่ะ ได้ทั้งของดีแถมยังมีผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการในไทย ฉะนั้นแล้วต้องจัดสักตัวแล้วล่ะครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า