[เรื่องน่ารู้] เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับการระบายอากาศภายในเคส (Computer Case Airflow) ที่คุณควรรู้!

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว Extreme PC ทุกคนนะครับ ปกติแล้วผมมักจะหาบทความน่ารู้ว่าเขียนทุกๆ เดือน แต่เดือนนี้ผมอาจติดงานนิดหน่อย เลยเพิ่งหาหัวข้อมาเขียนได้ สำหรับเรื่องในวันนี้นะครับ จะเกี่ยวกับเรื่อง การระบายอากาศภายในเคส หรือ Airflow จะมีเนื้อหาอย่างไรบ้าง ติดตามกันได้เลยครับ

การระบายอากาศภายในเคส หรือ Airflow เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะโดยปกติแล้วอุปกรณ์ภายในเคสจะมีความร้อนสะสม จากการได้รับกระแสไฟฟ้า หากไม่มีการระบายความร้อนที่ดี อาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้นั่นเอง

  1. พัดลม (Cooling Fan)

ผมจะขอเริ่มต้นด้วยการพิจาณาพัดลมระบายอากาศนะครับ โดยมีหัวข้อใหิพิจารณาดังนี้

ขนาด

ในการเลือกพัดลมมาใช้กับเคส สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือขนาด เพราะเคสแต่ละตัว อาจรองรับพัดลมที่มีขนาดแตกต่างกันไป ทีนี้ขนาดจะมีความสำคัญอย่างไร?

เมื่อเปรียบเทียบด้วยปริมาณลมที่ถูกพัดพาได้ พัดลมขนาดใหญ่จะใช้รอบหรือกำลังที่ต่ำกว่าพัดลมขนาดเล็ก นั่นหมายความว่าถ้าต้องนำลมเข้า-ออกปริมาณเท่ากัน พัดลมขนาดใหญ่มักจะให้เสียงที่เบากว่านั่นเอง

– รอบในการหมุน

รอบในการหมุน หรือ Revolutions per minute (RPM) ตรงส่วนนี้หมายถึงความเร็วในการหมุนใบพัดของพัดลม ว่าจะหมุนได้ครบ 1 รอบกี่ครั้ง ภายใน 1 นาที แม้ว่าพัดลมที่ถูกตั้งค่า RPM สูงๆ จะนำพาลมเข้า-ออกได้ดีกว่า แต่สิ่งที่ตามมาคือเรื่องเสียงรบกวน เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับแต่ค่านี้ให้มีความเหมาะสมด้วยล่ะ

– Airflow vs Static pressure

พัดลมที่ใช้ในการระบายอากาศ มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่ม Airflow ซึ่งนิยมใช้เป็นพัดลมติดเคส และกลุ่ม Static pressure นิยมใช้ในพัดลมซีพียู หรือพัดลมการ์ดจอ แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นพัดลม แต่ก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันนะครับ

พัดลมในกลุ่ม Airflow จะเน้นการนำพาลมให้เข้ามาในพื้นที่ หรือพัดออกไปยังพื้นที่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่พื้นที่จำกัด (ดังเช่นพัดลมหน้าเคส และพัดลมหลังเคส) ส่วนพัดลมกลุ่ม Static pressure เน้นการนำมวลลมปริมาณมาก อัดเข้าไปในอุปกรณ์ หรือดูดลมออกจากอุปกรณ์ ภายในพื้นที่จำกัด ดังเช่นพัดลมซีพียูที่จะอัดลมเข้าไปในฟินอะลูมิเนียมครับ

– ความสวยงาม

อันนี้แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนนะครับ ใครอยากได้สีไหน ธีมไหน ก็จัดไปอย่ารอช้า

 

  1. พื้นที่ในการจัดวาง

สำหรับข้อนี้ เป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ที่ผมคิดว่าเหล่าเกมเมอร์น่าจะพอทราบกันบ้างแล้ว ในบางครั้งเราจะเห็นโต๊ะคอมพิวเตอร์ ที่มีลิ้นชักสำหรับเก็บเคสซีพียู เพื่อความสวยงามในการจัดวาง แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก เนื่องจากว่า พัดลมเคสทางด้านหลังคอยพัดลมร้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม

ซึ่งถ้าเราเก็บเคสไว้ในพื้นที่ปิด จะทำให้อากาศร้อนไหลเวียนอยู่รอบเคส พัดลมด้านหน้าก็จะดูดเอาลมร้อนเข้าไปใหม่ วนเวียนอยู่แบบนี้ ยิ่งทำให้ความร้อนภายในเคสเพิ่มขึ้นได้ครับ

เพราะฉะนั้นควรวางเคสไว้ในพื้นที่โปร่ง เพื่อให้อากาศระบายออกได้ดี

 

  1. อากาศร้อนลอยขึ้นด้านบน

ส่วนข้อนี้ก็เป็นไปตามกฎทางฟิสิกส์นะครับ ตามปกติอากาศที่ร้อนกว่าจะลอยขึ้นสู่ด้านบนของเคส นี่จึงเป็นเหตุที่ว่าทำไมพัดลมที่เป่าล่มออก จึงต้องวางอยู่ด้านบน นอกจากนี้การติดพัดลมทางด้านบนของเคส จะช่วยไล่ลมร้อนออกได้ดีขึ้นด้วยครับ

 

  1. ฝุ่นละออง

แน่นอนว่าการมีฝุ่นเกาะในส่วนต่างๆ ของเคสและอุปกรณ์ไม่ใช่เรื่องดีแน่ อย่างแรกคือถ้ามันเกาะที่พัดลม ลมก็จะผ่านเข้าออกไม่สะดวก อย่างที่สองคือทำให้กิดความร้อนสะสมในอุปกรณ์ได้ เพราะความร้อนจะถูกถ่ายเทออกจากอุปกรณ์นั้นๆ ได้ยาก

เพราะฉะนั้น เมื่อรู้สึกว่ามีฝุ่นเกาะ อาจแกะอุปกรณ์ต่างๆ ออก แล้วหา Blower กำลังสูงเป่าเอาฝุ่นออกไป แต่ผมเห็นว่ามีบางคนนำอุปกรณ์บางชิ้นไปล้างน้ำด้วยนะ ได้ผลเป็นอย่างไรช่วยบอกในคอนเมนต์ทีนะครับ

 

  1. Air pressure

เรื่องของแรงดันภายในเครื่อง เราสามารถประเมินได้จากค่า CFM ของพัดลม (cubic feet per minute) ซึ่งจะดูได้จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต หรือกล่องบรรจุภัณฑ์ ค่านี้จะบ่งบอกว่า มีปริมาณลมถูกนำไปเข้า-ออกด้วยพัดลมตัวนี้กี่ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที

วิธีการคิดคือ ให้เอาค่า CFM ของพัดลมที่นำลมเข้าเคส – ค่า CFM ของพัดลมที่เป่าลมออกจากเคส หากได้ค่าเป็น + แสดงว่าความดันภายในเป็นแบบ Positive pressure แต่ถ้าเป็นค่า – แสดงว่าเป็น Negative pressure

ในกรณีของ Positive pressure จะทำให้บรรยากาศภายในเคสมีลมอยู่ปริมาณมาก เพราะมีการนำเข้าลมมากกว่าพัดออก ซึ่งตรงนี้สามารถเกิดการพัดเอาฝุ่นจากข้างนอกเข้ามาได้ จึงต้องมีการใส่เครื่องกรองฝุ่นไว้ด้วยนะจ๊ะ

ส่วน Negative pressure อันนี้จะมีการพัดเอาลมร้อนออกจากเคส ทำให้เกิดการเป็นสุญญากาศจำลองขึ้นมา แม้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนจะค่อนข้างดีกว่าแบบแรก แต่มันจะทำให้เกิดการดึงเอาลมจากช่องว่างต่างๆ ภายในเคสเข้ามาด้วย เช่น ซอก PCIe, รูข้างตัวเคส และเกิดฝุ่นเกาะอย่างควบคุมไม่ได้

เพราะฉะนั้น เราควรควบคุมให้ความดันภายในเป็นแบบ Neutral pressure ซึ่งเป็นความดันในอุดมคติที่มีการเข้าและออกของลมในปริมาณใกล้เคียงกัน เป็นสภาวะการไหลเวียนของอากาศที่ดีที่สุด

แม้ความเป็นจริงเราไม่สามารถสร้าง Neutral pressure ได้จริงๆ นะครับ แต่ถ้าอยากให้ใกล้เคียง ค่า CFM ที่หักลบออกมา ไม่ควรจะต่างกันมากจนเกินไป (ไม่บวกมากไป ไม่ลบมากไป)

 

  1. ห้ามลืม!

อันนี้ฝากไว้ก่อนจบบทความนะครับ พัดลมจะมี 2 ด้านที่ต่างกัน คือด้าน Open side ลมจะมีทิศทางพุ่งเข้า ส่วนอีกด้านเราเรียก Grille side ลมจะมีทิศทางพุ่งออก ดังนั้นเวลาติดจั้งพัดลมลงบนเคส อย่าลืมใส่ให้ถูกทางนะครับ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.howtogeek.com/303078/how-to-manage-your-pcs-fans-for-optimal-airflow-and-cooling/

https://www.neweggbusiness.com/smartbuyer/over-easy/pc-cooling-how-to-set-up-computer-case-fans/

 

Related articles

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า