[เรื่องน่ารู้] 8 วิธีแก้ปัญหาการ์ดจอทำงานไม่เต็มที่ บน Windows 10

ปัญหาการ์ดจอทำงานไม่เต็มที่ (Low usage) เป็นปัญหาที่แอดได้เจอมาบ่อยๆ ซึ่งในวันนี้แอดก็มีบทความมาแนะนำ ในการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการ์ดจอทำงานไม่เต็มที่ จะอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ

1. คอขวด

เป็นสาเหตุหลักในการทำงานไม่เต็มที่ของการ์ดจอ โดยมีวิธีสังเกตง่ายๆ คือ ซีพียูทำงานได้ 98-100% ในขณะที่การ์ดจอทำงานได้เพียง 30-40% (จากการใช้ MSI Afterbuner เปิด OSD ขณะเล่นเกม) อย่างนี้บอกได้เลยว่า อาจจะเกิดปัญหาคอขวด

วิธีที่พอช่วยได้คือเพิ่มความละเอียดของภาพในเกม (ปรับ Resolution เพิ่ม) จะเป็นการเร่งการทำงานของการ์ดจอให้วิ่งได้มากขึ้น ทั้งนี้ หากปรับแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนซีพียูเสียแล้วล่ะ

 

2. ไดรเวอร์

ไดรเวอร์เป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของการ์ดจอเช่นกัน ไดรเวอร์เก่าไป อาจไม่รองรับเกมใหม่ๆ หรือยังไม่มีการปรับปรุงให้เล่นได้ดีพอ แต่การอัปเดตไดรเวอร์ให้เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องที่ดีเสมอไป บางครั้งไดรเวอร์ใหม่อาจมีบั๊ก หรือปรับแต่งมาไม่ดีพอ ทำให้การทำงานของการ์ดจอแย่ลงได้

วิธีแก้ไขคือ หากมีเกมออกใหม่ ให้ลองอัปเดตไดรเวอร์การ์ดจอใหม่ หรือในกรณีที่ใครอัปเดตแล้วแย่ลง ให้ Roll back กลับไปใช้ไดรเวอร์ก่อนหน้าที่ยังเล่นได้ปกติ

 

3. การ์ดจอร้อนเกินไป

ความร้อนคือศัตรูสำคัญของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ความร้อนที่สูงเกินไปจะทำให้การ์ดจอทำงานช้าลง สาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนส่วนใหญ่เกิดจาก

Overclock การ์ดจอไม่เหมาะสม การปรับความเร็วการ์ดจอมากจนเกินไป ทั้งที่ชิปไม่สามารถรองรับความเร็วขนาดนั้นได้ หรือมีการระบายความร้อนที่ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมได้

ซิลิโคนแห้งเกินไป สำหรับการ์ดจอที่ซื้อมานาน เมื่อใช้งานแล้วสังเกตเห็นว่ามีความร้อนเพิ่มขึ้น แนะนำให้ลองแกะออกมาดูว่าซิลิโคนแห้งเกินไปหรือไม่ หรืออาจจะไปให้ช่างที่ร้านช่วยเช็คดูให้อีกที

การระบายอากาศภายในเคสไม่ดี อีกหนึ่งปัญหาสำคัญ เมื่อการ์ดจอร้อนขึ้น แต่ไม่ได้มีสาเหตุมาจาก 2 ข้อแรก ให้ลองเช็คดูว่าอุปกรณ์โดยรวมมีความร้อนสูงขึ้นหรือไม่ หากมีความร้อนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการระบายอากาศของเคสค่อนข้างแย่ ซึ่งแอดมีบทความแนะนำให้ลองอ่านกันดูนะครับ คลิกที่ ลิ้งค์นี้ ได้เลย

 

4. เกม

สั้นๆ เลยคือ ปัญหาเกิดจากเกม เพราะเกมบางเกม ยังปรับแต่งให้เข้าอุปกรณ์มาไม่ดีนัก หรือเกมบางเกมเน้นการใช้ซีพียูเป็นหลัก ยกตัวอย่างที่เด่นชัด คือ PUBG ในช่วงแรกมีปัญหาเรื่องของเกมที่กินสเปค แต่การ์ดจอดันวิ่งอยู่เพียง 40-60% ต่อให้อัปเดตไดรเวอร์ยังไงก็ไม่หาย ต้องรออัปเดตเกมนั่นเองครับ

ในกรณีที่เกมนั้นใช้ซีพียูเป็นหลัก โดยเฉพาะเกมที่เน้นยูนิตเยอะๆ หรือเกมที่เล่นผ่านอีมูเลเตอร์ต่างๆ (NOX, Bluestack) ทำให้การ์ดจอถูกใช้งานน้อยลงได้นั่นเอง

 

5. PSU

Power supply เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่แอดก็เพิ่งรู้เหมือนกัน เนื่องจากว่าการ์ดจอเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างกินไฟ และมีการปรับความเร็วตามการใช้พลังงาน ทีนี้ในกรณีที่ Power supply ไม่สามารถจ่ายไฟได้อย่างเต็มที่ การ์ดจอก็จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน ดังนั้น อย่าลืมคำนวณปริมาณของไฟที่ต้องใช้ รวมถึงเช็คสาย connector ว่าเสียบเข้ากับการ์ดจออย่างแนบสนิทหรือไม่

 

6. การจัดการพลังงาน

การจัดการพลังงาน หรือ Power management ของ Windows จะส่งผลให้การใช้พลังงานของ PCI Express ลดลง การ์ดจอก็จะมีความเร็วลดลงไปด้วย

อันดับแรก ให้ไปเช็คใน Power options ของ Windows (หาไม่เจอให้ Search หาเอาเลยใน Windows 10 หาง่ายมากครับ) เลือกเป็น Balanced mode สำหรับโน้ตบุ๊ค แต่ในกรณีที่เสียบไฟไว้ หรือเป็นเครื่องเดสก์ทอป ให้เลือกไปที่ High Performance

ต่อมาให้เลือกใน Change advanced power settings > PCI Express > Link State Power Management อาจจะเลือกเป็น Moderate หรือ Off ไปเลย (แต่ก็ต้องแลกกับการใช้งานแบตเตอร์รี่ที่เยอะขึ้นนะครับ โดยเฉพาะการเลือก Off)

พิเศษ! สำหรับใครที่ใช้การ์ดจอ NVIDIA ให้เข้าไปปรับแต่งใน NVIDIA Control Panel > Manage 3D settings > Global settings > Power management mode > Prefer maximum performance อันนี้แอดลองแล้ว มันช่วยให้เฟรมเรตขึ้นได้อีกเล็กน้อย แต่จัดว่าดีพอสมควรเลยล่ะ ^^

 

7. เปิดใช้งาน Sync ต่างๆ

พวก Vsync, G-Sync, FreeSync เป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อลดภาพขาด เมื่อเล่นเกมที่เน้นการเปลี่ยนฉากเร็วๆ รวมถึงทำให้เฟรมเรตและรีเฟรชเรตมันไปด้วยกันได้

แต่การเปิดใช้ฟีเจอร์นี้ ในบางเกมจะทำให้การ์ดจอถูกใช้งานน้อยลง เพราะมันมีการจำกัดเฟรมเรตของเกมให้พอดีกับรีเฟรชเรตนั่นเอง ดังนั้น ใครเปิดใช้แล้วมีปัญหา ให้ลองปิดการทำงานดูนะครับ

 

8. ปิดการทำงาน HPET

High Precision Event Timer (HPET) จะถูกใช้ในการประมวลผลมัลติมีเดียบางอย่างของ Windows ซึ่งการเปิดการทำงานของมัน จะส่งผลต่อการทำงานของการ์ดจอด้วย ดังนั้น การปิด HPET ก็มีส่วนช่วยให้การ์ดจอทำงานได้มากขึ้น

วิธีการปิด ให้เปิด Command prompt แล้วพิมพ์ bcdedit /deletevalue useplatformclock กด enter ก็จะปิดการทำงานของ HPET ทันทีครับ

แต่ถ้าหากปิดแล้ว คอมมีอาการแปลกๆ เอ๋อๆ ให้เราเปิดกลับขึ้นมาให้ โดยเข้า Command prompt แล้วพิมพ์ bcdedit /set useplatformclock true หรือถ้าเข้า Windows ไม่ได้ ให้ไปสั่งเปิดได้ในไบออสเลยครับ

ใครที่ประสบปัญหาการ์ดจอทำงานน้อย วิ่งได้เปอร์เซ็นต์ต่ำ ลองทำแก้ปัญหาตามวิธีด้านบนดูนะครับ ส่วนการ์ดจอ NVIDIA ที่แอดลองแล้วเห็นผลเลย คือการตั้งค่าใน NVIDIA Control Panel ใครลองวิธีไหนได้ผลเป็นอย่างไร ก็คอมเม้นต์กันมาได้เลยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Graphics Card Hub

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า