รีวิว Mi Robot Vacuum หุ่นยนต์ทำความสะอาดอัจฉริยะ

Mi Robot Vacuum มันคือหุ่นยนต์ดูดฝุ่นอัจฉริยะตัวจริง สามารถวิเคราะห์พื้นที่และทำงานอย่างมีระบบ คำนวนเส้นทางสำหรับการทำความสะอาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเก็บข้อมูลแล้วมาสร้าง อัลกอริทึม Simultaneous Localization and Mapping (SLAM) มีเซ็นเซอร์ Laser Distance Sensor (LDS) ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบทิศทางแบบ 360 องศา (เทคโนโลยีเดียวกับรถยนต์ไร้คนขับ) ใช้งานได้ยาวนานกับแบตเตอรี่ Li-ion ความจุ 14.4V / 5200mAh ทำงานต่อเนื่อง 2.5 ชั่วโมง และวิ่งกลับไปชาร์จเองได้เมื่อแบตใกล้หมด

ทำงานร่วมกับ Mi Home App สะดวกสะบายสำหรับการเชื่อมต่อและสามารถรับรู้หรือติดตามการทำงานแบบ  real-time ได้ สามารถตั้งเวลาในการทำงาน/ปรับตั้งค่าต่างๆ และเก็บประวัติการทำงานผ่านสมาร์ทโฟนได้เลยครับ

เดี๋ยวเราไปดูการใช้งานกัน ว่าจะมีอะไรพิเศษบ้าง

SPEC Mi Robot Vacuum

  •  Laser Distance Sensor (LDS) ตรวจจับสิ่งกีดขวางรอบตัว (360 องศา) และ สแกนได้ 1,800 รอบต่อวินาที
  • Sensor มีทั้งหมด 12 เซ็นเซอร์ที่แตกต่างกัน ที่ช่วยในการทำงาน
  •  อัลกอริทึม Simultaneous Localization and Mapping (SLAM) คำนวนเส้นทางสำหรับการทำความสะอาดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  • แบตเตอรี่ Li-ion ความจุ 14.4V / 5200mAh ทำงานต่อเนื่อง 2.5 ชั่วโมง
  • ตัวหุ่นยนต์ดูดฝุ่นกลับมาชาร์จไฟด้วยตัวมันเอง หลังจากทำงานเสร็จ หรือในช่วงที่ทำงานอยู่แบตเหลือน้อยกว่า 20% ก็จะกลับมาชาร์จจนถึง 80% แล้วกลับมาทำงานต่อจนเสร็จ
  • แบตเตอรี่ Li-ion ความจุ 14.4V / 5200mAh ทำงานต่อเนื่อง 2.5 ชั่วโมง
  • Wifi : 802.11b / g / n (2.4GHz Wi-Fi)
  • ขนาด 34.5 * 34.5 * 9.6 cm. น้ำหนัก 3.8 กิโลกรัม

วัสดุและการออกแบบดีไซน์

อุปกรณ์ภายในกล่องก็จะมีตัวหุ่นยนต์ / ที่ชาร์จไฟ / สายไฟ / แปลงทำความสะอาด และคู่มือการใช้งาน

ตัวกล่องชาร์จไฟจะมีที่เก็บสายให้ดูเรียบร้อย

Charging Dock

  • ขนาด 23 * 10.9 * 12.9 cm.
  • กำลังไฟ 55W.
  • Input : 100—240V
  • Output : 20V 2.2A
  • ค่าความถี่ : 50 / 60Hz

ตัวหุ่นวัสดุจะเป็นพลาสติก ABS สามารถถอดและประกอบเองได้ง่าย โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ

พัดลมดูดอากาศสามารถให้ความเร็วสูงสุด 1800Pa และ มอเตอร์ Nidec brushless DC สามารถปรับความเร็วได้ 4 ระดับ เสียงผ่านตัวเครื่องถือว่าเสียงเงียบมากเมื่อเทียบกับหลายๆค่าย

เมื่อยกฝาครอบขึ้นก็จะเจอกับช่องเก็บฝุ่น สามารถยกถอดออกมาได้ง่ายๆโดยใช้สองนิ้วกดด้านข้างแล้วยกขึ้น

ถังเก็บฝุ่น หรือ Dust Bin ขนาด 0.42 ลิตร อาจจะดูเล็กไปนะ แต่ก็อย่างว่าแหล่ะมันคือกล่องเก็บฝุ่นเท่านั้น พยายามถาดมาทำความสะอาดบ่อยๆแทน ฝุ่นจะได้ไม่เต็ม และตัวหุ่นจะได้ทำงานเต็มประสิทธิภาพ อุปกรณ์สามารถซื้อมาสับเปลี่ยนได้นะครับ

ถัดลงมาจากช่องเก็บฝุ่นก็จะเจอกับปุ่มควบคุมการทำงาน(จริงๆสั่งผ่านหน้าจอมือถือได้เกือบหมดนะ) จะมีปุ่ม Home และปุ่ม Power

มาสำรวจชุดทำความสะอาดกันก่อน หงายท้องหุ่นขึ้นจะเจอกับแปลง หัวแปลงแบบไดนามิก หมุนได้เร็วสูงสุด 330 spins/วินาที

แปรงกวาดสามารถถอดมาทำความสะอาดได้เช่นกันนะครับ จำหวีทำความสะอาดก่อนหน้านี้ได้ไหม นั้นหล่ะคือหวีตัวแปลงทำความสะอาดมัน อุปกรณ์พวกนี้จะมีจำหน่ายเพิ่มที่ช็อปนะครับ กรณีที่เสื่อมอายุหรือสกปรกมากๆ

อุปกรณ์ทั้งหมดเมื่อหงายหุ่นก็จะมี แปลงปัดด้านข้าง / แปลงเก็บกวาด / ล้อหลักคู่และล้อหน้าหนึ่ง / เซ็นเซอร์ป้องกันการตกจากที่สูง

สำรวจกันครบแล้ว เริ่มกลับมาใช้งานกันดีกว่า เริ่มแรกก็โหลด  Application ของ Mi Home App เข้ามาที่ตัวสมาร์ทโฟนครับ ทำการซิ้งค์ตัวสมาร์ทโฟนเข้ากับหุ่นยนต์โดยผ่านไวไฟ รองรับทั้ง iOS และ Android และต้องสมัคร Account ให้เรียบร้อยด้วยนะ เมื่อสมาร์ทโฟนมองเห็นหุ่นยนต์ก็กดปุ่มที่ตัวหุ่นค้างไว้ เชื่อมต่อเสร็จมันจะบังคับให้อัพเดทเฟริมแวย์ก็ปล่อยให้มันอัพเดทจนเสร็จ

ซิ้งค์ตัวหุ่นยนต์เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ตัวหุ่นมันก็จะวิ่งชนไปตามผนังต่างๆของบ้าน เพื่อการวดแผนที่ ช่วงแรกๆจะดูเหมือนมันวิ่งมั่วๆหน่อย ปล่อยมันไปครับ ใช้เวลาซักพักขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ทำความสะอาดด้วย เดี๋ยวมันจะวิเคราะห์และเขียนแผนที่ของมันเอง เราสามารถดูการทำงานแบบ  real-time ได้เลยผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน

หน้าตาของ Application ขณะใช้งาน เราจะปล่อยให้มันทำงานแบบอัตโนมัติหรือบังคับเองก็ได้นะ หน้าจอมันจะแสดงเวลาที่ใช้ทำความสะอาด พื้นที่โดยประมาณ รวมไปถึงดู Log ย้อนหลังได้

หน้า Application จะสามารถปรับความเร็วของพัดลมดูดอากาศได้ 4 ระดับ คือ Silent /  Balanced / Full / MAX

ปรับระดับเสียงการทำงาน / ตั้งเวลาการทำงาน / การแจ้งเตือนต่างๆได้หมด

สรุป

หลังจากได้ทดลองใช้งานหุ่นยนต์ทำความสะอาด Mi Robot Vacuum โดยปกติผมเป็นคนที่ใช้สินค้าของ MI อยู่แล้ว เมื่อเพิ่มอุปกรณ์เข้ามาอีกตัว การใช้งานผ่าน Application ก็จะง่ายหน่อย เพราะเปิดแค่แอ๊พเดียวสามารถรับรู้การทำงานแทบจะทั้งบ้าน

Mi Robot Vacuum ทำงานได้ฉลาด ตั้งแต่การเขียนแผนที่ก่อนการทำงาน ไม่วิ่งมั่ว ทำให้ร่นระยะเวลาทำความสะอาดไปในตัวและทำความสะอาดได้เต็มประสิทธิภาพเต็มพื้นที่ ทำงานเสร็จเร็วและสะอาดจริง ความฉลาดอีกอย่างคือมันสามารถวิเคราะห์แบตในตัวของมันเองได้ว่าจะสามารถทำความสะอาดจนจบหรือหมดกลางทางหรือเปล่า ถ้าใกล้จะหมดมันก็จะวิ่งไปหาที่ชาร์จเอง ชาร์จเสร็จมันก็จะมาเริ่มจากจุดที่พักก่อนหน้านี้จนเสร็จงาน สามารถตั้งเวลาทำงานของแต่ละวันได้ สำหรับค่าตัว 12,990 บาท ถือว่าราคาถูกมากเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ

online кредит на карту zaymi-bistro.ru онлайн кредит без процентов на карту

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า