คอมรุ่นเก่าไม่มี TPM 2.0 จะติดตั้ง Windows 11 ไม่ได้จริงหรือ? บทความนี้มีคำตอบ

เชื่อว่าวันนี้หลายคนประสบปัญหามากกกกก กับการเช็คความเข้ากันได้กับ Windows 11 และส่วนใหญ่น่าจะติดปัญหาที่ TPM (Trusted Platform Module) ที่ต้องการ TPM 2.0 นั่นหมายความว่าคอมรุ่นเก่าจะใช้งานไม่ได้อย่างนั้นเหรอ วันนี้ลองมาดูคำตอบกันครับ

TPM (Trusted Platform Module) เป็นชิปความปลอดภัยที่ใช้เก็บคีย์ข้อมูลสำคัญให้อยู่ในรูปของฮาร์ดแวร์ แฮกเกอร์จะเจาะระบบฮาร์ดแวร์ได้ยากกว่า ซึ่งมันกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเปิดใช้งานใน Windows 11 โดยทาง Microsoft กำหนดว่าควรจะเป็น TPM 2.0 แต่ไม่ได้หมายความว่ารุ่นเก่าจะไม่รองรับนะ TPM 1.2 ก็ใช้ได้ !!

ซึ่ง TPM มันเป็นหนึ่งฟีเจอร์ที่ Microsoft อยากให้ทุกคนเปิดใช้เป็นมาตรฐาน อย่างไรก็ตาม คินเฟิร์มว่าถึงจะไม่ใช่ TPM 2.0 ก็ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพครับ แล้วทำไมโปรแกรมเช็คสเปกที่รองรับ Windows 11 (ดาวน์โหลดจากลิ้งก์นี้) ถึงขึ้นเตือนว่าไม่รองรับ ในกรณีที่ไม่ใช่ TPM 2.0 ล่ะ ??

ต้องบอกอย่างนี้ครับ สเปกที่ Microsoft ใช้เช็คความเข้ากันได้กับ Windows 11 จะแบ่งออกเป็น Soft Floor และ Hard Floor โดยคอมที่จะใช้งานได้จริง ๆ จะต้องผ่านลิสต์ของ Hard Floor ไปก่อน ในขณะที่โปรแกรมเช็คสเปกที่เราไปดาวน์โหลดกันมานั้น มันคือลิสต์ของ Soft Floor ที่จะบอกว่า เป็นสเปกที่ใช้งานได้แบบเต็มประสิทธิภาพและแนะนำให้ใช้สเปกนี้นั่นเอง

เพราะฉะนั้น สเปกของ Hard Floor มีดังนี้

– CPU: Core >= 2 and Speed >= 1 GHz
– System Memory: TotalPhysicalRam >= 4 GB
– Storage: 64 GB
– Security: TPM Version >= 1.2 and SecureBootCapable = True
– Security: TPMVersion >= 2.0 and SecureBootCapable = True
– Smode: Smode is false, or Smode is true and C_ossku in (0x65, 0x64, 0x63, 0x6D, 0x6F, 0x73, 0x74, 0x71)

จะเห็นได้ว่า TPM 1.2 ก็สามารถใช้งาน Windows 11 ได้เช่นกัน แม้โปรแกรมเช็คสเปกจะขึ้นว่า “This PC can’t run Windows 11” ก็ตาม

วิธีเช็คว่าคอมของเราใช้ TPM เวอร์ชันไหน ให้เข้าไปที่ Run แล้วพิมพ์ tpm.msc จะปรากฏหน้าต่าง TPM ขึ้นมา ให้ดูที่ Specification version จะบอกว่าของเราเวอร์ชันไหนครับ และถ้าขึ้นคำว่า “The TPM is ready for use” แปลว่ามันเปิดใช้งานแล้ว แต่ถ้ามี error ขึ้นว่า “Compatible TPM cannot be found” ให้ไปเปิดใช้งานในไบออสก่อนนะครับ

นอกจากนี้อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของซีพียูที่รองรับ (Intel เข้าลิ้งก์นี้) (AMD เข้าลิ้งก์นี้) จะเห็นได้ว่าซีพียูที่รองรับคือ Intel Gen 8 และ Ryzen 2000 ขึ้นไป นั่นเป็นเพราะในซีพียูรุ่นต่ำกว่านี้มันดันมีชิป TPM 1.2 ซึ่งไม่เข้ากับมาตรฐานที่ Microsoft แนะนำ แต่นั่นล่ะครับคือมันยังรันได้ เพียงแค่ไม่ใช่สเปกที่แนะนำเฉย ๆ

สำหรับ Windows 11 ที่จะเปิดตัวให้กับกลุ่มนักพัฒนาในสัปดาห์หน้านี้ ก่อนติดตั้งอย่าลืมไปเปิดใช้งาน TPM ในไบออสกันด้วยนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wccftech

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า