NVIDIA เคลม ไดรเวอร์ Game Ready เหนือกว่าคู่แข่ง (AMD) พร้อมบอกเล่ากระบวนการพัฒนาอันหนักหน่วง

คู่กัดฝั่งการ์ดจอที่อยู่ในสมรภูมิมาเนิ่นนานอย่าง NVIDIA และ AMD ก็จะหาเรื่องมีแซวกันขำ ๆ (แต่แอบร้าย) อยู่เรื่อย ๆ เลยนะครับ ล่าสุด NVIDIA ได้ปล่อยวิดีโอนำเสนอเรื่องราวของการพัฒนาไดรเวอร์ Game Ready พร้อมจิกกัดคู่แข่งค่ายแดงเบา ๆ มาให้ชมกันครับ

หลังจากที่ NVIDIA เปิดตัวไดรเวอร์ Game Ready ตลอดช่วงที่ผ่านมานั้นมีไดรเวอร์ออกมาแล้วถึง 150 รุ่น และรองรับเกมกว่า 400 เกม และเฉพาะในปี 2021 ที่ผ่านมาเพียงอย่างเดียว ก็มีไดรเวอร์ Game Ready ออกมาถึง 20 รุ่นที่รองรับเกมใหม่ถึง 75 เกมครับ

ในจุด NVIDIA ยังยืนยันที่จะพัฒนาคุณภาพของไดรเวอร์ต่อไปเรื่อย ๆ โดยเล่าถึงกระบวนการพัฒนาไดรเวอร์กันเล็กน้อย เริ่มจากการทดสอบเกมกว่า 1,000 ครั้งในแต่ละวัน และใช้เวลาไปทั้งหมด 1.8 ล้านชั่วโมงตลอดปี 2021 เพื่ออุทิศตนให้กับการทดสอบไดรเวอร์

ในการทดสอบก็จะมีการรวบรวมผลทดสอบจากแพลตฟอร์มเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊ก ที่มีสเปกแตกต่างกันกว่า 4,500 ชุด เพื่อนำมาปรับปรุงไดรเวอร์ Game Ready ให้รองรับทุกแพลตฟอร์ม และที่ต้องทดสอบกันหนักหน่วงขนาดนี้ เพื่อให้ได้รับการรับรอง Windows Hardware Quality Labs (WHQL) จาก Microsoft เพราะเขามีเงื่อนไขว่าต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มข้นมามากกว่า 1,300 ครั้ง

นอกจากนี้ NVIDIA ยังเคลมว่า ค่ายเขียว คือ ค่ายการ์ดจอเดียวที่จะออกไดรเวอร์อันสมบูรณ์แบบแล้วมาให้ผู้ใช้ หมายถึง ต้องเป็นไดรเวอร์ WHQL และให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บของ NVIDIA เท่านั้น หากค่ายโน้ตบุ๊กจะนำไดรเวอร์มาให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดในส่วน Support ก็ต้องใช้ไดรเวอร์จาก NVIDIA อย่างเดียว ในขณะที่อีกค่าย (AMD) มักชอบออกไดรเวอร์ non-WHQL หรือไดรเวอร์เบต้ามาให้ผู้ใช้ก่อน

จริง ๆ คำพูดมันเข้มข้นกว่านี้อยู่นะครับ ในคลิปจะพูดประมาณว่า “เราไม่ออกไดรเวอร์เบต้าที่คุณภาพยังไม่ผ่านมาตรฐานและได้รับการทดสอบเพียงน้อยนิด แถมยังมีไดรเวอร์เบต้าที่ปล่อยให้นักพัฒนาอื่น ๆ (ตรงนี้น่าจะหมายถึงค่ายโน้ตบุ๊ก) สร้างขึ้นเพื่อรองรับเกมที่แตกต่างกัน จนส่งผลกระทบให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้”

อย่างไรก็ตาม ทาง Videocardz ให้ความเห็นว่า ไดรเวอร์ AMD จะมีจุดเด่นตรงที่ไม่ว่าจะแพลตฟอร์มใด (การ์ดจอเดสก์ทอป, การ์ดจอโน้ตบุ๊ก หรือการ์ดจอออนบอร์ด) สามารถใช้ไดรเวอร์เดียวกันได้ ในขณะที่ NVIDIA ต้องออกไดรเวอร์แยกกันสำหรับการ์ดจอเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊ก แถมยังมีไดรเวอร์ Studio ที่อาจทำให้ผู้ใช้เลือกไม่ถูกด้วยเหมือนกัน

ส่วนตัวของผมเองมองว่าไดรเวอร์ AMD ที่เป็น WHQL พัฒนาออกมาค่อนข้างช้า อาจเป็นเพราะเหตุผลข้างต้นที่ว่ามันทำให้รองรับหลายแพลตฟอร์ม และปัญหาที่สำคัญยิ่งกว่า คือ AMD ไม่ยอมแก้เรื่องที่ปล่อย Windows อัปเดตไดรเวอร์อัตโนมัติผ่าน Windows update เอง จนทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ใช้จำนวนมาก ซึ่งในแง่ของผู้ใช้ทั่วไปผมคิดว่ามันเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีแก่ผู้ใช้ โดยเฉพาะผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้มีความ Geek ในการปรับแต่งคอมมากนัก

เอาล่ะ ในกรณีของไดรเวอร์ AMD หากใครเจอปัญหาไดรเวอร์หาย เชื่อว่าส่วนมากมาจากการอัปเดตไดรเวอร์ของ Windows เองอัตโนมัติ ให้ลองแก้ไขตาม ลิ้งก์นี้ ดูนะครับ และหวังว่าทั้งสองค่าย เขียว-แดง จะออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ มาให้เหล่าเกมเมอร์ได้ใช้กันนะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Videocardz

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า