แนะนำวิธีการ Overclock ซีพียู Ryzen แบบง่ายๆ ด้วยโปรแกรม Ryzen Master!

สวัสดีครับเพื่อนๆ จากที่ผมเคยเขียนบทความวิธีการใช้โปรแกรม Wattman สำหรับการ Overclock การ์ดจอไปแล้ว วันนี้เรามาดูวิธีการ Overclock ซีพียู AMD Ryzen และแรม ด้วยโปรแกรม Ryzen Master ครับ

สำหรับโปรแกรม Ryzen Master นี้ จะสามารถใช้ได้กับซีพียูตระกูล Ryzen (ชิปเซต B350 ขึ้นไปนะครับ A320 หมดสิทธิ์) และ Threadripper เท่านั้น ใช้กับซีพียูตระกูลอื่นๆ ไม่ได้ ซึ่งโปรแกรมนี้ สามารถ Overclock ซีพียูได้ไม่ต่างจากการทำผ่านไบออสเลยครับ

เอาล่ะ เริ่มแรกให้เพื่อนๆ ไปดาวน์โหลดโปรแกรม Ryzen Master และโปรแกรม CPU-Z มาก่อน แล้วติดตั้งให้เรียบร้อย เสร็จแล้วก็เริ่มเปิดโปรแกรม Ryzen Master ขึ้นมาเป็นอันดับแรกเลยครับ

หลังจากนั้น โปรแกรมที่ต้องเปิดคู่กันก็คือ CPU-Z เปิดทิ้งไว้เลยนะครับ

และก่อนจะเริ่มการปรับแต่ง วิธีการในการปรับแต่งไม่ว่าซีพียูหรือแรม จะต้องมีการเพิ่มค่าของตัวเลขใช่ไหมครับ ดังนั้น ทาง AMD จึงได้กำหนดค่าตัวเลข ที่เราควรบวกเพิ่มเข้าไปเป็นสเต็ปๆ ดังนี้

ค่าแนะนำในนี้ อาจไม่ตรงกับที่โปรแกรมแนะนำนะครับ ให้ลองปรับตามที่โปรแกรมแนะนำน่าจะดีกว่า แต่ถ้าไม่มีแนะนำ ก็ให้ปรับเพิ่มตามตารางนี้ได้เลยครับ

 

ปรับแต่งซีพียู

ผมจะพูดถึงการปรับแต่งซีพียูก่อนนะครับ การปรับแต่งซีพียูจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ ความเร็ว (MHz) และ ควบคุมแรงดันไฟฟ้า (V)

1. ในการปรับแต่งความเร็ว เพื่อนๆ สามารถใส่ตัวเลขลงไปในช่องของแต่ละคอร์ หรือลากเส้นเหลืองๆ ทางด้านบนให้เพิ่มขึ้นก็ได้นะครับ

 

2. ในการปรับแต่งซีพียู ให้ลองเพิ่มความเร็วขึ้นทีละ 100 MHz เช่น เริ่มต้นจะอยู่ที่ 3100 MHz ให้เราลองเพิ่มเป็น 3200 MHz ขยับขึ้นไปทีละนิดๆ (หรือถ้าให้ปรับขึ้นลงโดยใช้ตัวปรับของโปรแกรม มันจะเพิ่มให้ทีละ 25 MHz นะครับ ใช้ได้เหมือนกัน)

การปิดคอร์ตรงนี้ผมจะขอข้ามไปนะครับ เราต้องการใช้เต็มจำนวนทุกคอร์ที่มี ดังนั้นไม่ต้องปิดอะไรทั้งสิ้น

** ผมเคยเห็นบางคนใช้ Ryzen 5 สามารถปรับความเร็วของแต่ละคอร์ให้ต่างกันได้ด้วยนะครับ ตรงนี้ผมใช้ Ryzen 3 ถ้าดันความเร็วคอร์ไหนแล้ว คอร์อื่นจะใช้ค่าเดียวกันหมดนะครับ

 

3. ทีนี้ วิธีการในการปรับแต่งความเร็วเนี่ย เราต้องทำไปพร้อมๆ กับการปรับแรงดันไฟฟ้าด้วย สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่เราจะปรับเพื่อการ Overclock ซีพียู จะเป็นส่วนของ “แรงดันไฟฟ้า CPU”

ให้เราค่อยๆ ปรับขึ้นทีละ 0.015-0.03 V ต่อความเร็วที่เพิ่มขึ้น 100-200 MHz ก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับซีพียูจะกินไฟแค่ไหน หรือเราปรับความเร็วไปสูงแค่ไหน (แต่อย่าลืมว่าค่าจะตันที่ 1.55 V นะ)

 

4. เมื่อเสร็จสิ้น ให้เรากดที่ “นำไปใช้” (Apply) ทางแถบด้านบนของโปรแกรม ก็เป็นอันเสร็จแล้วครับ

ของผมดันความเร็วขึ้นไปที่ 3800 MHz และทำการปรับค่าแรงดันไฟฟ้าไปที่ 1.35 V ถือว่าใช้งานได้ไม่มีปัญหาครับ ส่วนของใครถ้ามีปัญหา ไม่ต้องตกใจนะครับ เดี๋ยวคอมพิวเตอร์มันจะรีสตาร์ตใหม่เอง แล้วค่าที่ตั้งไว้จะรีเซตใหม่หมด ก็ให้เราตั้งค่าใหม่ให้มันดีขึ้น

 

5. ตรวจสอบความเรียบร้อย

แล้วเราจะรู้ได้ไงว่ามันทำงานถูกต้อง ถ้าเกิดคอมเราไม่รีสตาร์ตเอง หรือไม่เกิดอาการค้างใดๆ แสดงว่าผ่านขั้นแรกไปแล้ว ทีนี้ขั้นที่ 2 คือการเช็คด้วยโปรแกรม CPU-Z

– จากที่เราเปิดโปรแกรม CPU-Z ค้างไว้ ให้เราเข้าไปที่แท็บ “Bench” จากนั้นกดไปที่ “Stress CPU” แถวล่างๆ หน่อย

– แล้วกลับไปที่หน้าแรก ทางด้านล่างจะมีช่อง “Selection” ซึ่งตัวอักษรในนั้นจะเป็นสีเทา ให้เพื่อนๆ คลิกขวา ในช่องเลยครับ แล้วมันจะปรากฏจำนวนคอร์ของซีพียูที่กำลังทำงานทั้งหมด

– ถ้าเกิดว่าการตั้งค่าของเราใช้ได้ เมื่อเรา Stress CPU ค่าความเร็วใน Selection จะต้องวิ่งด้วยความเร็วเต็มที่ และเท่ากันทุกคอร์ อย่างในรูปข้างบนถือว่าผ่านขั้นที่ 2 แล้วครับ จากนั้นอย่าลืมกดบันทึกโปรไฟล์ที่ใช้ได้ในแถบด้านล่างของโปรแกรมนะครับ

บางคนอาจบ่นว่า ทำไมคล็อกไปตั้ง 4000 MHz แล้ว แต่รัน Benchmark ได้น้อยกว่าความเร็ว 3100 MHz ถ้าเราลองไปเช็คในช่อง Selection ของ CPU-Z จะพบว่าคอร์บางคอร์มันจะวิ่งไม่เท่าอันอื่น นั่นแสดงว่าซีพียูร้อนเกินครับ มันจะลดความเร็วบางคอร์ ให้เพื่อนๆ ปรับความเร็วที่ตั้งค่าไว้ลงอีก จนกว่าจะวิ่งได้เต็มเท่ากันทุกคอร์

 

ปรับแต่งแรม

เมื่อซีพียูเร็วขึ้นแล้ว เราควรปรับเพิ่มความเร็วแรมให้สามารถทำงานร่วมกับซีพียูได้อย่างเต็มที่ด้วย หรือในกรณีที่ใครซื้อแรมมาแล้ว มันวิ่งได้ความเร็วไม่เต็มที่ ก็สามารถใช้ Ryzen Master ปรับแต่งได้ครับ

เรามาดูส่วนที่ใช้ในการปรับแต่งแรมกันเลยครับ จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ แรงดันไฟฟ้า (V) และ การควบคุมหน่วยความจำ

1. เรามาดูที่ส่วนของแรงดันไฟฟ้ากันก่อนนะครับ สำหรับแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในการปรับแต่งแรมมีอยู่ด้วยกัน 3 อย่าง คือ

– MEM VDDIO: เป็นแรงดันไฟของแรมโดยตรง

– MEM VTT: ค่าแนะนำมักจะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของ MEM VDDIO

– VDDCR SOC: แรงดันไฟที่เพิ่มให้ส่วนควบคุมแรมของตัวซีพียู

 

2. ส่วนถัดมาคือ การควบคุมหน่วยความจำ จะประกอบด้วยหลายส่วนเลยครับ โดยหัวใจหลักของการปรับแต่งจะอยู่ที่ “นาฬิกาหน่วยความจำ” (มันแปลไทยมาอย่างนะครับ มันก็คือ Memory clock นั่นแหละ) ในนี้ค่าเริ่มต้นของผมจะอยู่ที่ 1200 MHz (คูณ 2 จะเป็นบัสแรมตามเมนบอร์ด คือ 2400 MHz)

ให้เราลากค่า “นาฬิกาหน่วยความจำ” เพิ่มขึ้นได้ โดยมันจะเพิ่มจาก 1200 เป็น 1333 เป็น 1467 และสุดท้ายคือ 1600 MHz เพื่อนๆ จะลากมาเท่าไรก็ได้ แต่ของผมขอลากมาที่ 1467 MHz ละกัน

ส่วนค่าที่อยู่ใน “นาฬิกาหน่วยความจำ” อันอื่นๆ ให้เพิ่มขึ้นทีละ 1 ตามความเร็วที่เพิ่มขึ้น เช่น ถ้าปรับเป็น 1333 MHz ก็ให้เพิ่มค่า หน่วงเวลา CAS ไปอีก 1 หน่วย (เดิมค่าเป็น 15 ก็ปรับเป็น 16) เป็นต้น

 

3.เสร็จเรียบร้อยแล้วให้เรากลับมาปรับค่าแรงดันไฟฟ้าของแรม

– ค่า MEM VDDIO ผมแนะนำให้ลองเพิ่มขึ้นทีละ 0.05 แต่จะไม่สามารถปรับค่าได้เกิน 1.5

– ค่า MEM VTT ให้ปรับเป็นครึ่งหนึ่งของ MEM VDDIO เช่น MEM VDDIO คือ 1.3 ดังนั้นค่า MEM VTT ควรจะเป็น 0.65 ครับ

– ค่าสุดท้ายคือ VDDCR SOC ตรงนี้ผมแนะนำให้ลองเพิ่มทีละ 0.05 ครับ (ของผมปรับไปที่ 1.1)

จากนั้นเมื่อเสร็จแล้วให้กด “นำไปใช้” (Apply) ในการปรับตั้งค่าแรม คอมพิวเตอร์จะต้องรีสตาร์ตใหม่นะครับ ทีนี้ถ้าเกิดตั้งค่าแล้วใช้ไม่ได้ ก็ให้ลองปรับค่าใหม่อีกที ค่อยๆ ทำนะครับ ส่วนของแรมมันมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะนิดนึง

** สำหรับการใส่แรงดันไฟฟ้าของผม ส่วนใหญ่ผมจะใส่ให้ค่ามันอยู่กลางๆ ระหว่างค่าเดิม กับค่าสูงสุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไฟไม่พอ และจะได้ปรับความเร็วได้รวดเดียว แต่จริงๆ แบบนี้ก็ไม่แนะนำนะครับ ให้ลองเพิ่มเป็นสเต็ปไปก่อนนะ **

เอาล่ะเมื่อตั้งค่าเสร็จแล้ว ก็กดบันทึกโปรไฟล์ให้เรียบร้อย คิดว่าหลายๆ คนคงอยากรู้ว่าที่ตั้งค่ามานี้ มันเพิ่มประสิทธิภาพของซีพียูและแรมมากแค่ไหน ถ้าอยากนั้นเราไปดูกันเลยครับ

 

CPU Benchmarks

สำหรับการทดสอบซีพียู ผมได้เลือกใช้ Benchmarks อยู่ 3 โปรแกรม ได้แก่ CPU-Z, Cinebench R15 และ Userbenchmark ได้ผลดังนี้ครับ

 

 

และนี่คือเปอร์เซ็นต์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับค่าเดิม

 

RAM Benchmark

สำหรับการทดสอบแรม ผมได้ใช้แค่โปรแกรม Userbenchmark เพียงอย่างเดียวนะครับ ผลที่ได้วัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ ดังนี้

ซึ่งพบว่ามันเร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 20.6% เลยทีเดียว

** ปัญหาที่ผมเคยพบในการใช้งานคือ ปรับความเร็วซีพียูเกินจากค่าเดิมในไบออสไม่ได้ เช่น ถ้าไบออสเป็น 3100 MHz เราจะปรับเกิน 3100 MHz ไม่ได้ — วิธีแก้ไข: อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ เพราะผมเคยเป็นครั้งหนึ่ง แต่พอให้พี่แอดมินใช้ Teamviewer เข้ามาลองปรับอีกที อยู่ๆ มันก็ปรับได้  อาจจะลองลบโปรแดรมลงใหม่อีกทีนะครับ T T **

** อีกปัญหาหนึ่งคือ ถ้าเพื่อนๆ ไม่เลือกโปรไฟล์ 1,2,… แต่ยังอยู่ที่หน้า c (current) มันจะไม่สามารถตั้งค่าได้นะครับ ต้องเลือกโปรไฟล์ก่อนเด้อ **

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับวิธีการใช้งานโปรแกรม Ryzen Master ใช้งานง่ายจริงๆ นะครับ ใครที่ลองปรับแล้วเกิดปัญหา ให้ลองรีเซตแล้วตั้งค่าใหม่ดูนะครับ ไม่ต้องตกใจ ค่อยๆ ปรับค่าไปนะครับ ในนี้ถ้าผมเขียนแล้วมันงงๆ บ้าง ยังไงก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

หากใครมีคำถาม หรือสงสัยในจุดไหน ก็ลองเขียนคอมเมนต์มาได้นะครับ เผื่อเพื่อนๆ จะได้ช่วยกันตอบ หรือถ้าผมเห็นก็จะได้ช่วยตอบอีกทีนะ ครั้งหน้าเดี๋ยวเรามาพบกันใหม่ สวัสดีครับ

 

Related articles

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า