PR : ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงพยาบาลแบบง่ายๆ  กับ 3 เคล็ดลับด้านเทคโนโลยี

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงพยาบาลแบบง่ายๆ  กับ 3 เคล็ดลับด้านเทคโนโลยี

ในยุคปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพิ่มขึ้น พนักงานมีงานล้นมือมากขึ้น ในขณะที่ต้องทำงานให้มากขึ้น ด้วยงบประมาณที่ลดลง ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัญหาของผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลที่ต้องพบเจอและต้องหาทางออกให้ได้ เพื่อตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้ พร้อมกับต้องเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและประสิทธิภาพด้านการดำเนินงานภายในโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น

Doctors examining x-rays in video conference

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชันสำหรับโรงพยาบาลผ่านแพลตฟอร์ม IoT ชื่อ EcoStruxure for Healthcare และซอฟต์แวร์  EcoStruxure Building Operation ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค (ซึ่งชื่อก่อนหน้านี้คือ StruxureWare Building Operation) ด้วยโซลูชัน Clinical Environment Optimization ใหม่นี้ จะช่วยให้ผู้ดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานห้องต่างๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยนำมาใช้ได้เต็มศักยภาพ” ไมเคิล ซัลลิแวน ประธานฝ่ายอาคาร ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวว่า “ด้วยเทคโนโลยีนี้ ปัจจุบันโรงพยาบาลไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานไปกับระบบปรับอากาศหรือระบบแสงสว่างในห้องที่ว่างเปล่าที่ไม่มีการใช้งานอีกต่อไป”

โซลูชัน Clinical Environment Optimization  จะนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานของห้องมาตั้งค่าปรับเงื่อนไขหรือสถานะการใช้ห้องได้โดยอัตโนมัติตามข้อมูลที่ลงไว้ในระบบ ADT ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย (Admission) จนถึงผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล (Discharge) หรือการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น (Transfer)  ระบบออโตเมชันสำหรับอาคารจะจัดการเรื่องการควบคุมแสงสว่าง การควบคุมอุณหภูมิ และระบบอากาศหมุนเวียน โดยข้อมูลนี้จะนำมาใช้โดยอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถยกเลิกคำสั่งได้ในเวลาที่ต้องการ และลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน

โซลูชัน Clinical Environment Optimization ทำงานอย่างไร?

โซลูชัน Clinical Environment Optimization ผสานรวมการทำงานร่วมกับระบบเดิมที่ใช้งานอยู่ได้อย่างไม่มีปัญหา ผ่านอินเทอร์เฟส Health Level-7 (HL7) โดย HL7 ก็คือองค์กรที่พัฒนามาตรฐานระบบเปิดที่สนับสนุนความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบงานด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่มีการติดตั้งใช้งานอย่างกว้างขวางมากที่สุดในสถานดูแลสุขภาพ  มาตรฐานดังกล่าวคือตัวที่อนุญาตที่ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางคลินิกและเชื่อมโยงระบบอำนวยความสะดวกและระบบงานในคลินิกเข้าด้วยกัน

โซลูชัน Clinical Environment Optimization ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ โดยใช้โปรโตคอล BACnet, LONworks หรือ Modbus ซึ่งนิยมใช้สำหรับระบบออโตเมชันสำหรับอาคาร และแอพพลิเคชันเพื่อการควบคุม

เคล็ดลับ 3 ประการ สำหรับการทำ Optimization ได้ง่าย?

  1. ผสานการทำงานของระบบบริหารจัดการอาคาร และระบบ ADT ของโรงพยาบาลเข้าด้วยกัน เพื่อลดการใช้พลังงานในห้องผู้ป่วย รวมถึงห้องผ่าตัด และพื้นที่ในบริเวณคลินิกที่ไม่มีการใช้งาน

 

  1. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนฝ่ายดูแลความสะอาด เมื่อห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาทำความสะอาดได้
  2. นำข้อมูลเกี่ยวกับห้องมาใช้ในการแจ้งเตือนพนักงานดูแลสิ่งอำนวยความสะดวก ในช่วงเวลาที่ห้องว่างและพร้อมที่จะให้เข้ามาดำเนินการเรื่องการซ่อมบำรุง

เหมาะสำหรับโรงพยาบาล – ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด

สามารถใช้ร่วมกับสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล – ศูนย์ดูแลสุขภาพทุกขนาด โดยเป็นโซลูชันที่ให้ประโยชน์สูงสุดสำหรับสภาพแวดล้อมแบบคลินิก ด้วยความสามารถดังต่อไปนี้

  • มีโพรไฟล์เรื่องการใช้พลังงานที่ยืดหยุ่น สำหรับแผนกหรือพื้นที่ของโรงพยาบาลที่มีความแตกต่าง
  • มียูสเซอร์อินเทอร์เฟสที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพการใช้งานของห้องได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถรีเซ็ตหรือซิงค์ข้อมูลร่วมกันได้
  • มีเครื่องมือช่วยในการตั้งค่าการใช้งานเพื่อช่วยให้ติดตั้งใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
  • ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลเฉพาะของผู้ป่วยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความเป็นส่วนตัว HIPAA
  • รองรับโหมดการทำงานของห้องได้ 4 ประเภท เพื่อช่วยให้ประหยัดพลังงานได้สูงสุด รวมถึงรองรับการปรับเปลี่ยน (override) คำสั่งได้
    • มีการใช้งาน (Occupied) – ห้องที่มีการใช้งานอยู่
    • ห้องว่าง (Unoccupied) – ห้องว่างชั่วคราว แต่มีกำหนดใช้งาน
    • ห้องพร้อมใช้งาน (Available) – ห้องว่างและพร้อมสำหรับการใช้งาน
    • ทำความสะอาด (Housekeeping) – ห้องว่างและสามารถเข้าไปทำความสะอาดได้
    • สามารถเปลี่ยนคำสั่งห้องที่มีการใช้งาน (Local Override to Occupied) – ช่วยให้เปลี่ยนคำสั่งการตั้งค่าเพื่อควบคุมการใช้ห้อง
  • รองรับการตั้งค่าห้องทั้งห้องนอนเตียงเดี่ยวและห้องนอนเตียงรวม
  • ผสานการทำงานร่วมกับ Apps Studio ได้โดยง่าย (ก่อนหน้านี้รู้จักในชื่อ AdaptiApps สำหรับธุรกิจเพื่อสุขภาพ)
  • รองรับการทำงานร่วมกับระบบบริหารจัดการอาคารของชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมถึงระบบของค่ายอื่น ด้วยการใช้โปรโตคอล BACnet หรือ LONworks

สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันได้ที่ http://www.schneider-electric.co.th/th/work/campaign/innovation/buildings.jsp เพื่อปฏิรูปประสิทธิภาพด้านพลังงานและการดำเนินงานที่คล่องตัวให้กับโรงพยาบาล เพื่อรองรับจุดเปลี่ยนแห่งยุคดิจิทัล #IoT #EcoStruxure #LifeIsOn

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า