เปิดตัวด้วยความแรง กับ Radeon RX 5700XT และ Radeon RX 5700 ตอบโจทย์ด้านการเล่นเกมและความคุ้มค่า

หลังยจากเราได้พบกับซีพียูรุ่นใหม่แล้ว คราวนี้เรามาต่อกันที่การ์ดจอบ้าง คิดว่าหลายคนคงได้เห็นข่าวกันมามากมาย สำหรับการ์ดจอ Radeon RX 5700 series ซึ่งวันนี้ก็ได้มีการเปิดตัวไปอย่างสมศักดิ์ศรีถึง 2 รุ่นเลยครับ

ในบทความนี้ผมจะยังไม่ขอเจาะลึกข้อมูลของตัวการ์ดจอนะครับ เดี๋ยวช่วงบ่ายเราไปคุยกันเรื่องสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีแบบเจาะลึกกันอีกที เช้านี้เราดูในเรื่องของประสิทธิภาพของการ์ดจอกันก่อนดีกว่า

ชิปกราฟฟิกใน Radeon RX 5700 Series จะใช้โครงสร้างที่ออกแบบใหม่ เรียกว่า RDNA บนเทคโนโลยีการผลิตขนาด 7nm รองรับ PCIe 4.0 และเลือกใช้แรม GDDR6 ครับ ซึ่งการ์ดจอที่ AMD นำมาโชว์ในงานเปิดตัว ได้แก่ Radeon RX 5700 XT และ Radeon RX 5700

Radeon RX 5700 XT

เริ่มกันที่พี่ใหญ่ก่อนเลยนะครับ สำหรับการ์ดจอรุ่นนี้ จะมีแกนประมวลผล 2560 Cores (40 CUs) ความเร็วอยู่ที่ 1605/1905 MHz พร้อมด้วยแรม GDDR6 8GB ความเร็ว 14 Gbps

ในส่วนของการออกแบบ เป็นไปดังภาพ มีการใส่ความโครงเว้าสวยงาม แต่สามารถระบายความร้อนออกได้ เหมาะแก่การ Overclock ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า มันมีพินจ่ายไปแบบ 6 และ 8 pin ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของค่า TDP นั่นเองครับ

หากถามว่าแรงขึ้นแค่ไหน เราไปดูการเปรียบเทียบกับการ์ดรุ่นก่อนหน้าอย่าง Radeon RX Vega 56 พบว่ากระทั่ง Radeon RX 5700 XT เล่นเกมบนความละเอียด 1440p ยังได้เฟรมเรตเยอะกว่า Radeon RX Vega 56 ที่เล่นเกมบนความละเอียด 1080p ครับ

ทีนี้ก็มีเปรียบเทียบกับคู่แข่งในราคาใกล้เคียงกัน นั่นคือ RTX 2070 ก็มีเฟรมเรตที่สลับแพ้ชนะกันไปครับ เรียกได้ว่าสูสีกันมากเลยทีเดียว

Radeon RX 5700

ต่อมาเป็นการ์ดรุ่นน้อง ซึ่งจะใช้แรมเท่าๆ กับรุ่น XT แต่จะมีแกนประมวลผลอยู่ที่ 2304 Cores (36 CUs) มีความเร็วอยู่ที่ 1465/1725 MHz ครับ

ในส่วนของประสิทธิภาพนั้น เอามาเทียบกับคู่แข่งอย่าง RTX 2060 กันให้รู้แล้วรู้รอด บนความละเอียด 1440p ปรากฏว่า Radeon RX 5700 ได้คะแนนนำในทุกเกมที่ทดสอบครับ

Game Fidelity/Image Sharpening/Radeon Anti-Lag

นี่เป็นฟีเจอร์ใหม่ ที่ทาง AMD ได้เพิ่มเติมให้กับการ์ดจอ ได้แก่

Fidelity เป็นการเพิ่มความสวยงามและความคมชัดให้กับสีและคอนทราสต์ในเกมเก็บรายละเอียดของภาพในเกมได้ดีขึ้น

Image sharpening ตรงตัวเลยนะครับ เป็นฟีเจอร์สำหรับปรับภาพให้คมชัดมากขึ้น จะดว่าเป็นคู่แข่งกับ DLSS ของ NVIDIA เลยก็ว่าได้ แถมเปิดใช้แล้ว ไม่ได้ลดเฟรมเรตของการ์ดจอมากเกินไปด้วย

Radeon Anti-Lag เหมาะสำหรับการแข่งขันอีสปอร์ตอย่างมากนะครับ เนื่องจากมันช่วยลดอัตราความล่าข้าในการคลิก รวมถึงการตอบสนองภายในเกม ทำให้เหล่าเกมเมอร์สามารถเล่นเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการหน่วงได้ดีขึ้นครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้าง เย้ายวนใจดีไหม สำหรับการ์ดจอรุ่นใหม่ และนี่คือราคาของมันครับ…

ส่งท้ายด้วยรุ่นครบรอบ 50 ปี

เดี๋ยวในช่วงบ่าย ผมจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักโครงสร้างภายในของซีพียูและการ์ดจอโดยละเอียด จะได้รู้ว่ามันปรับปรุงเผลี่ยนแปลงมามากแค่ไหน อย่าลืมติดตามกันนะครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า