หม้อน้ำคอมกับการเลือกใช้งานเอาขนาดไหนดี (Radiator)
ManoonTechTip:
Prefilled 120/140mm-Single/Dual??? เป็นขนาดของพัดลม และ หนึ่ง หรือ สองตัว ที่จะใช้ร่วมกับ ระบบหม้อน้ำคอม (Radiator)
ปัญหาของคอมพิวเตอร์ในปัญจุบันคือความร้อน ไม่ว่าจะเป็น GPU (95 c) /CPU (80c)/Ram (75c) แต่ละชิ้นส่วนในคอม ล้วนแต่มีความร้อนและต้องการอากาศหรืออุปกร์ณในการ
ช่วยระบายความร้อนทั้งนั้น ไม่ว่าจะทางตรง โดยระบบหมุนเวียนด้วยน้ำ (Water loop cooling) ระบบครีบเหล็ก (heat sink) หรือทางอ้อม โดยใช้ หม้อน้ำคอม (Radiator) เพื่อระบายความร้อนออกจากในห้องคอม หรือใช้ทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน
คำตอบที่ชัดเจน แน่นอน ต้องใหญ่ที่สุดถึงจะดี สำหรับ หม้อน้ำคอม แต่นั้นก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีอีกเช่นกัน เพราะว่า ระบบหม้อน้ำซึ่งทำงานร่วมกับพัดลมไฟฟ้า ถ้ายิ่งใหญ่ยิ่งดี แต่นั้นก็เสี่ยงกับการมีเสียงที่ระกวนมากเกินไป
หม้อน้ำคอมในตลาด มีให้เลือกหลายขนาด ความหนา-บาง สั้น-ยาว และก็ความหนาแน่นของตะแกรง ส่วนวัสดุที่ใช้ทำหม้อน้ำก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ส่วนที่สัมผัสโดยตรงกับ CPU ถ้าเป็น
ของดีหน่อยก็จะเป็น ทองแดง และส่วนที่เป็นตะแกรงหม้อน้ำก็จะเป็น ทองเหลือง แต่หากเป็นเกรดที่ต่ำลงไป ส่วนใหญ่แล้วจะทำมาด้วย อลูมิเนียม
ยังจำกันได้นะครับว่าเคยบอกไปว่า ทุกชิ้นส่วนในคอมพิวเตอร์นั้น จะมีคลื่นไฟฟ้ารบกวน เช่นกันครับ ร่วมถึงเจ้า หม้อน้ำคอมด้วย ซึ่งหากเลือก หม้อน้ำคอมที่ใหญ่ หนา และแน่น (ความถ่ี
ของตะแกรง) จะยิ่งทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้ากวนได้มากขึ้น ซึ่งอันนี้ก็มี่ผลกับ การทำงานของคอมด้วยเช่นกัน
สรุปว่า การเลือก ระบบหม้อน้ำที่มาถ่ายเทอากาศในคอมนั้น ต้องดูและออกแบบมาก่อนที่จะเลีอก ตู้คอม (Mod case) ไม่ว่าคุณจะระบายออกทางข้างๆ หรือ ข้างบนสุด ขึ้นอยู่กับการออก
แบบมาว่าคุณจะสร้างระบบคอมมาเพื่อใช้งานด้านไหน ชิ้นส่วน (components) ยิ่งเยอะ และ แน่น แน่นอน ต้องใช้ พัดลม 2 ตัว ( Dual 140mm) ส่วนขนาดของหม้อน้ำก็ต้องรองรับกับ
พัดลม และ ตู้คอมด้วย ความหนาของหม้อน้ำก็ได้เปรียบ และความหนาแน่น ก็ยิ่งน่าคิด แต่ปัญหาที่ตามมาคือ เสียง และ คลื่นรบกวน ในที่นี้ขอแนะนำว่าควรจะคิดถึง สิ่งที่มารบกวนก่อน
แล้วค่อยมาดูกันว่า ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่ใส่เข้าไปนั้น ต้องการระบบหม้อน้ำ ใหญ่ เล็ก ขนาดไหน
You must be logged in to post a comment.