[เรื่องน่ารู้ของการ์ดจอ] เปรียบเทียบแรมการ์ดจอทั้ง 5 แบบ พร้อมคุณสมบัติที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

เพื่อนๆ เคยสังสัยไหมว่า แรมการ์ดจอแต่ละรุ่น บางรุ่นมีรูปแบบแรมที่ใช้แตกต่างกันไป บางครั้งก็เห็น GDDR5 บ้างก็เห็น HBM แล้วแรมแต่ละแบบที่เราเห็นมันแตกต่างกันอย่างไร?

วันนี้ในบทความชุด เรื่องน่ารู้การ์ดจอ ผมจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับแรมชนิดต่างๆ ที่ใช้กับการ์ดจอในปัจจุบัน ได้แก่ GDDR3GDDR5, GDDR5X, HBM และ HBM2 ครับ

GDDR3

แรมแบบแรกที่ผมจะพูดถึงคือ แรม GDDR3 แม้ว่าชื่อของมันจะสื่อถึงว่า แรมชนิดนี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับการ์ดจอนะ แต่จริงๆ แล้ว โครงสร้างส่วนใหญ่ของมันก็คล้ายๆ กับแรม DDR3 ที่ใช้บนเมนบอร์ด แน่นอนว่าความเร็วในการส่งข้อมูลของมัน ไม่เพียงพอต่อการทำงานของการ์ดจอมากนัก จึงได้มีการใช้แรมชนิดนี้ กับการ์ดจอระดับล่างบางรุ่น (ในปัจจุบันนะครับ) เช่น Nvidia Geforce GT 120 (การ์ดจอแยกตัวแรกของผมเลยเจ้านี่) ซึ่งหลังจากที่มีการพัฒนาแรม GDDR4 และล่าสุด GDDR5 แรม GDDR3 ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป

 

GDDR5

แรมแบบถัดมาคือแรม GDDR5 ซึ่งเจ้าแรมนี้คือแรมแบบ GDDR ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับการ์ดจออย่างแท้จริง เพราะมีบัสสูงกว่า ส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากได้เร็วกว่าแรม DDR ธรรมดาเยอะเลยครับ (จริงๆ รายละเอียดมันมีเยอะกว่านี้นะ อันนี้เอาแบบคร่าวๆ ละกันนะ ^^)

แรม GDDR5 เป็นแรมรุ่นล่าสุดที่นำมาใช้กับการ์ดจอเกือบทุกรุ่น (ผมขอข้าม GDDR4 นะ เพราะผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็ข้ามไปใช้แรม GDDR5 กันทั้งนั้นเลย) โดยที่มีการใช้พลังงานน้อยลง แต่แรงกว่าแรมรุ่นก่อนหลายเท่าตัว สำหรับความเร็วในการส่งข้อมูลของ GDDR5 อยู่ที่ 7-8 Gb/s พร้อมแบนด์วิธด์ขนาดประมาณ 28 GB/s ครับ

 

GDDR5X

แรมตัวนี้จะคล้ายกับ GDDR5 แบบเดิม แต่มีการปรับเพิ่มประสิทธฺภาพให้แรงกว่าเดิมถึง 2 เท่า ทำให้มันมีความเร็วในการส่งข้อมูลถึง 10-14 Gb/s หรืออาจขึ้นไปได้สูงถึง 16 Gb/s บนแบนด์วิดธ์ที่สูงถึง 56 GB/s

นอกจากนี้ อัตราการใช้พลังงานของ GDDR5X ยังน้อยกว่า GDDR5 แบบเดิม ซึ่งแรมชนิดนี้มีใช้ในการ์ดจอระดับ High-end ของ Nvidia ตั้งแต่ GTX 1080 ขึ้นไป รวมถึงการ์ด Quadro ด้วย ส่วนทาง AMD ผมไม่แน่ใจว่าจะมีการนำ GDDR5X มาใช้หรือไม่ แต่เคยมีข่าวว่า Vega ที่จะเปิดตัวในครั้งถัดๆ ไป จะมีการนำแรม GDDR5X มาใช้ด้วย (ก็มีทั้งรุ่นที่ใช้ GDDR5X และ HBM2) หรือไม่ก็ข้ามไปใช้ GDDR6 เลย

 

HBM

แรมแบบ High Bandwidth Memory หรือ HBM ถูกผลิตขึ้นโดย Hynix และ Samsung ซึ่งนำมาใช้อุปกรณ์ที่ต้องการการประมวลผลระดับสูง รวมถึงการ์ดจอ โครงสร้างของแรม HBM นี้ จะแตกต่างจากแรม GDDR แบบเดิม โดยที่ชิปแรมจะถูกวางซ้อนกันไว้เป็นตั้งๆ โครงสร้างจึงมีลักษณะเป็น 3 มิติ สามารถวางแรมไว้ใกล้กับชิปประมวลผลได้มากขึ้น แถมยังสามารถอัดชิปแรมลงไปได้มากกว่าแรม GDDR แบบเดิม

 

HBM รุ่นแรกนั้น 1 Stack (1 ตั้ง) จะมีชิปแรมอยู่ด้วยกัน 4 ชิ้น และชิปแรม 1 ชิ้น จะมี Channel ส่งผ่านข้อมูลอยู่ 2 Channel บนบัส 128 บิต รวมแล้วชิปแรม 1 stack จะมี 8 channel 1024 บิต ถ้าแรม HBM ตัวนั้น มี 4 stacks มันก็จะมีบัสทั้งหมด 4096 บิต แม้ว่าความเร็วในการส่งข้อมูลจะมีเพียง 1 Gb/s แต่เมื่อบัสกว้างขึ้น แบนด์วิดธ์ก็กว้างขึ้นด้วย (แบนด์วิดธ์สูงได้ถึง 128 GB/s ต่อ 1 stack) การส่งข้อมูลของแรม HBM จึงมีประสิทธิภาพกว่าแรม GDDR

ในเรื่องการใช้พลังงานนั้น HBM จะใช้พลังานน้อยกว่า GDDR5/5X นะครับ ซึ่งแรมนี้มีใช้ในการ์ดจอ AMD Radeon R9 Fury X และ Radeon Pro Duo ครับ

 

HBM2

ภาคต่อของ HBM โครงสร้างของ 2 รุ่นนี้จะคล้ายๆ กัน แต่ HBM2 จะมีความเร็วและแบนด์วิดธ์มากกว่าเดิม โดยใน 1 stack จะมีชิปแรมได้สูงถึง 8 ชิ้น และมีแบนด์วิดธ์สูงถึง 256 GB/s ต่อ 1 stack

สำหรับการ์ดจอที่ใช้แรมแบบ HBM2 นั้น ของ Nvidia จะเป็นการ์ดสำหรับเวิร์คสเตชันอย่าง Nvidia Quadro GP100 รวมถึงชิปกราฟิก Tesla P100 ด้วย ส่วน AMD จะใช้กับการ์ดจอ Radeon Vega Frontier Edition, Radeon RX Vega 56, Radeon Vega RX 64 ครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ เพื่อนๆ ก็ได้รู้จักกับแรมที่ใช้ในการ์ดจอกันไปคร่าวๆ บ้างแล้ว สำหรับในอนาคตน่าจะมีการเปิดตัวแรม GDDR6 และ HBM3 ซึ่งประสิทธิภาพน่าจะสูงขึ้นกว่าแรมตัวเดิมหลายเท่าตัวเลยทีเดียว ส่วนตารางข้างล่างนี้ ผมได้สรุปคุณสมบัติของแรมไว้ให้แล้วครับ

แรม GDDR5 GDDR5X HBM HBM2
ผู้ผลิต Samsung, Hynix, Elpida Micron Hynix, Samsung Samsung, Hynix
โครงสร้าง 2 มิติ 2 มิติ 3 มิติ 3 มิติ
ความจุสูงสุด 8GB/ชิป 16GB/ชิป 1GB/stack 4-8GB/stack
ความเร็วสูงสุด 8 Gb/s 10-14 Gb/s 1 Gb/s 2 Gb/s
ความกว้างของบัส 32-bit/ชิป 64-bit/ชิป 1024-bit/stack 1024-bit/stack
การใช้พลังงาน ต่ำ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ GDDR5 ต่ำกว่า GDDR5 และ GDDR5X ต่ำกว่า HBM
การ์ดจอที่ใช้แรมดังกล่าว ใช้ในการ์ดจอหลายรุ่นตั้งแต่ Mid-range ถึง High-end GeForce GTX 1080, Nvidia Titan X (Pascal) Radeon R9 Fury X, Radeon Pro Duo Nvidia Tesla P100, Nvidia Quadro GP100

 

ในครั้งหน้า ผมจะนำบทความน่ารู้ของการ์ดจออะไรมานำเสนออีกนั้น อย่าลืมติดตามกันที่ Extreme PC นะครับ สวัสดีครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก blog.logicalincrements.com, graphicscardhub.com

Related articles

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า