Review:AMD RX VEGA 56 ตอบโจทย์การเล่นเกมส์แบบความละเอียดสูงงงงงง

Review:AMD RX VEGA 56 ตอบโจทย์การเล่นเกมส์แบบความละเอียดสูงงงงงง

 

สวัสดีครับเพื่อนๆชาว ExtremePC ทุกๆท่านครับผม กลับมาเจอกันอีกรอบหนึ่ง สำหรับวันนี้ทางผมก็มีการ์ดจออีกรุ่นหนึ่งที่เรียกว่าเป็นรุ่นใหม่ล่าสุดจากทาง AMD ก็ว่าได้ครับ โดยจะเป็นในตระกูล AMD RX VEGA โดยถ้าให้บอกนั้นจะมีทั้งหมด 2 รุ่นด้วยกันคือ AMD RX VEGA 56 และ AMD RX VEGA 64 โดยทั้ง 2 ตัวนี้จะมีความแรง ที่แตกต่างกัน สำหรับวันนี้ในบทความนี้ทางผมจะทำสอบตัว AMD RX VEGA 56 ครับ เป็นรุ่นน้องของการ์ดจอที่ทาง AMD ได้เปิดตัวมา โดยการ์ดจอจะเป็นแบบ REF จากทางโรงงาน AMD เลย ไม่ได้มีการปรับแต่ง เอาเป็นว่าเดียววันนี้เราไปดูกันดีกว่า โดยทางผมจะมีการทดสอบทั้งหมด 2 แบบ ด้วยกันจะเป็นแบบตัวการ์ดเดิมๆกับทำการแฟรช Bios ของการ์ดจอตัว AMD RX VEGA 64 ลงไปและทำการทดสอบนะครับ 

สำหรับตัวการ์ดจอนี้หน้าตาต้องบอกว่ามองผ่านๆดูเหมือน Rx480 ที่เคยออกมาวางขาย ได้อารมณ์การ์ดจอแบบ Ref  ตัวการ์ดนั้นมีความยาวพอสมควรเลยทีเดียว ด้านหน้านั้นจะมีแผ่นสีดำทำเป็นรอยจุดๆเอาไว้ มีพัดลมระบายความร้อนเพียงแค่ 1 ตัวเท่านั้น

โดยการ Ref รุ่นนี้มีการเพิ่มความสวยงามเข้าไปโดยมีไฟ LED สีแดงเพิ่มขึ้นมาตรงส่วนของโลโก้ RADEON ทำให้เวลาใช้งานนั้นต้องบอกว่ามีความสวยงามมากยิ่งขึ้นไปอีก

โดยการ์ดจอตัวนี้จะต้องใช้งานไฟเลี้ยงเพิ่มเติมด้วย ต้องเสียบแบบ 8 Pin pci-e Power ทั้งหมด 2 หัวด้วยกันเพื่อจ่ายพลังงานให้กับตัวการ์ดจอ

โดยการ์ดจอรุ่นนี้ต้องบอกว่าจะมีสวิตช์สลับใบออสของตัวการ์ดจออยู่ตรงทางด้านข้างของการ์ดจอครับ ตรงนี้เราสามารถสลับสวิตช์เลือกโหมดเงียบหรือโหมด OC ก็ได้

สำหรับการระบายความร้อนนี้จะมีพัดลมเพียง 1 ตัวเท่านั้นโดยเป็นพัดลมแบบ พัดลมโบลเวอร์ดึงลมภายในเคสคอมพิวเตอร์และเป่าออกไปยังทางด้านหลังเคส แน่นอนว่าเรื่องเสียงรบกวนนั้นค่อนข้างดังพอสมควร

สำหรับทางด้านหลังของตัวการ์ดจอนี้จะมีแผ่นปิดเอาไว้ทั้งหมด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของตัวการ์ดจอและช่วยดึงความร้อนในส่วนของแผ่น PCB ออกมาด้วย

 

โดยทางด้านหลังนี้ตรงบริเวณต่อไฟเลี้ยงเพิ่ม GPUTach จะมีไฟแสดงสถานะการโหลดการทำงานของการ์ดจอเอาไว้ เช่นถ้าไม่มีการใช้งานโหลดการ์ดจอกินไฟนิดเดียวไฟจะติดเพียงแค่ดวงเดียว แต่ถ้าการ์ดจอมีการโหลดหรือกินไฟ ไฟก็จะค่อยๆติดสว่างเพิ่มขึ้นทีละดวงๆ ถ้าติดครบทุกดวงแปลว่าการ์ดจอมีการโหลดเต็ม 100% ครับ ส่วนของสวิตช์ไฟเล็ก ๆ 2 ตัวนี้จะเป็นเอาไว้ปรับแสงไฟ โดยสามารถปรับได้ทั้งสีแดงและสีฟ้าครับ เลือกได้ตามใจชอบของเรา

โดยเราจะแยกออกได้ว่าเป็นตัว 56 หรือตัว 64 นี้จะมีเพียงแค่สติเกอร์ที่บอกเอาไว้ว่าเป็นรุ่นไหนเพราะตัวการ์ดจอต้องบอกว่ามองตาเปล่าแยกไม่ออกจริงๆครับ

เรื่องของการเชื่อมต่อออกสู่จอภาพนี้จะมีช่อง DisplayPort จำนวน 3 ช่องและ HDMI จำนวน 1 ช่องครับ โดยจะเห็นว่ามีมาให้แต่พอร์ดรุ่นใหม่ๆแล้วเท่านั้นครับ

CPU
AMD RYZEN 7 1800X @4.0 GHz
CPU Cooler
Custom Watercooling
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASUS Crosshair VI EXTREME
Memory
G.Skill FLARE X 3200 MHz 16 GB CL 14
VGA Card
AMD RX VEGA 56
SSD
Team Group T-FORCE CARDEA PCIe M.2 SSD 240 GB
SSD
WD Blue SSD 1 TB
Power Supply
CoolerMaster MasterWatt Maker 1200 MIJ
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

บรรยากาศขณะทำการทดสอบ

สำหรับระบบในการทำสอบเซตเอาไว่ที่ 4 GHz เช่นเดิม ส่วนสเปคการ์ดจอนั้นจะมาพร้อมแรม 8 GB โดยตัวเมมโมรีนั้นจะเป็นแบบ HBM 2 ก็คือเป็นตัวที่พัฒนามาจาก HBM ที่ทาง AMD เคยได้ใช้งานไปกับตัว Fury X กันมาแล้วเดียวรอดูว่ารอบนี้จะแรงขึ้นสักเท่าไร โดยตัวสเปคของ Shaders การ์ดจอนั้นจะอยู่ที่ 3584 Unified

สำหรับอีกการทดสอบนั้นจะเหมือนเดิมทุกอย่างแต่เป็นการนำ Bios ของการ์ดจอ AMD RX VEGA 64 แฟรชลงไป โดยตค่าที่แตกต่างนั้นจะเป็นตัว Core และ Mem ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 1630/945 MHz ครับ

 

จบไปแล้วสำหรับการทดสอบวันนี้ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าบทความที่เทสในวันนี้ใช้งานไดรเวอร์ยังเป็น Beta อยู่โดยใช้งานเวอร์ชั่น 17.8.2 โดยเท่าที่ทดสอบผ่านหลายๆโปรแกรมและหลายๆเกมส์นั้นจะเห็นว่าค่าค่อนข้างแกว่งแปลกๆบางเกมส์แรงบางเกมส์ไม่แรง เนื่องจากไดรเวอร์เท่าที่ดูแล้วคือยังไม่รอบรับเกมส์บางเกมส์ส่วนนี้อาจจะต้องรอการอัพเกรต แล้วอีกหนึ่งอย่างก็คงจะเป็นส่วนของการทดสอบในวันนี้จะเป็นแค่ความละเอียด Full HD เท่านั้น โดยต้องบอกว่าการ์ดจอเจ้า AMD RX VEGA 56 ตัวนี้จริงๆมันเกิดมาไว้เล่นเกมส์แบบความละเอียด 4K มากกกว่าที่จะใช้งานแบบ Full HD เพราะอย่างที่กราฟบอกไป มันจะดูเฉยๆมากเฟรมเรทไม่ได้เยอะมากแต่ถ้านำมาทดสอบกับการ์ดจอใบอื่นๆที่ความละเอียด 4K แล้วละก็เชื่อว่าตัวเลือกนี้จะน่าสนใจมากๆเลยทีเดียวและครับ

ส่วนเรื่องของการแฟรชการ์ดจอตรงนี้ต้องบอกว่า สรุปมันไม่ได้แปลงร่างเป็น Vega64 จริงๆแต่มันก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดจอได้จริงๆตามกราฟที่ได้ทำการทดสอบ เนื่องจากมันมีความเร็วที่  Core และ Mem ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว Vega64 แล้ว ทำให้ผลเทสมันเพิ่มมากยิ่งขึ้นครับ โดยส่วนนี้กำลังรอทาง AMD ส่งการ์ดจอเจ้า AMD VEGA 64 มาให้ทำการทดสอบใหม่เพื่อให้มีผลเทียบว่ามันแรงได้เทียบเท่าขนาดไหน และนำมาขุด Bitcoin แรงพอใจกับการกินไฟหรือเปล่า โดยต้องบอกว่าใช้งานไดรเวอร์เดียวไม่ได้มีแก้ Dag นะครับทำแค่เพียงแฟชร Bios AMD RX Vega 64 ลงไปเท่านั้น ยังไงสำหรับวันนี้ก็น่าจะหายสงสัยกับความแรงของการ์ดจอไปแล้ว สำหรับวันนี้ทางผมก็ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

 

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า