รีวิว AMD Ryzen 7 1700X มีหลุด – High-End 8 Core, 16 Thread Processor ถูกนำมาทดสอบทางด้านเกมส์มิ่งและบททดสอบ, Synthetic Benchmarks, และ Overclocking

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X มีหลุด – High-End 8 Core, 16 Thread Processor ถูกนำมาทดสอบทางด้านเกมส์มิ่งและบททดสอบ, Synthetic Benchmarks, และ Overclocking

 

นี้เป็นรีวิวแรกของ AMD Ryzen 7 1700X เพิ่งเสร็จออกมาสดๆถูกโพสเอาไว้ใน Videocardz, เปิดเผยถึงประสิทธิภาพทั้งหมดของ AMD 8 core, 16 thread processor. AMD Ryzen 7 1700X processor จะเปิดตัวออกมาอีกไม่กี่่ชั่วโมงที่จะถึงนี้รวมถึงพี่น้องร่วมสาบานอีกหลายรุ่น ด้วยรีวิวล่าสุดนี้ น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีสำหรับการติดตามชมการเปิดตัว Ryzen.

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X Processor ถูกเปิดเผย – รายละเอียดทางด้านประสิทธิภาพทาง Gaming, Synthetic และ Overclocked

UPDATE/อัพเดท: ภาพสไลด์ทั้งหมดของ AMD Ryzen ฉบับเต็มในวันเปิดตัวถูกเปิดเผยออกมา. สามารถดูตามภาพด้านล่างนี้:

ในรีวิวได้ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านประสิทธิภาพหลายด้านด้วยกันรวมทั้งทางด้านพลังงานอีกด้วยของ AMD’s Ryzen 7 1700X processor ซึ่งชิปรุ่นนี้ถูกจัดอยู่ในระดับ high-end product พุ่งเป้าไปที่บรรดาเซียนๆทั้งหลายในตลาด. ตัวชิปเปิดราคามาที่ $399 US และทางด้านสเป็คนั้นขอบอกว่าไม่ใช่เล่น.

สำหรับทางด้านราคานั้น, เราได้ 8 core, 16 threaded processor ทีมี clocked ที่ 3.4 GHz base และ 3.8 GHz boost clocks. และอีก 100 MHz เพิ่มอีกต่างหากจากการนำเอา XFR (Extended Frequency Range) มาร่วมด้วยซึ่งจะสามารถให้ตัวชิปนั้นบู๊ธได้ดีมากขึ้นกว่าที่กำหนดอย่างเสถียร. ตัวชิปมาพร้อม 16 MB ที่เป็น L3 cache และ 4 MB ที่เป็น L2 cache. ทั้งหมดนี้มีค่าพลังงานที่ 95W TDP และจะมาพร้อมระบบทำความเย็น Wraith cooler อยู่ในกล่องเดียวกัน. Ryzen chips ทั้งหมดมาพร้อม 20 PCI-e Gen 3.0 lanes.

AMD Ryzen 7 Series Processor Lineup:

ก่อนที่จะลงไปยังรายละเอียด, เราอยากจะกล่าวว่าตัวต้นแบบที่อยู่ในรีวิวนี้หรือ engineering sample มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับรุ่นที่จะทำออกมาขายมากที่สุดแล้ว. ในการทดสอบนี้ได้เปิดเผยออกมาว่าได้นำเอาเมนบอร์ดที่เป็นรุ่นต้นแบบเช่นเดียวกันหรือ engineering sample AM4 motherboard มาใช้และไม่รองรับ XMP profiles. สิ่งที่นำใช้ในการทดสอบครั้งนี้มี:

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X CPUz:

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X  – บททดสอบทางด้านประสิทธิภาพ Synthetic

ในบททดสอบ synthetic, เราได้เห็น Ryzen 7 1700X นี้นสามารถเทียบเคียงบ่ากับ i7-5960X ในบางกรณีและไม่สามารถขยับไปหา Core i7-7700K ได้ในหลายๆบททดสอบเช่น 3DMark 11, PCMark 7, PCMark 8, Winrar, Video Transcode (4K to FHD), SuperPI, Crystal Disk Mark, AIDA64 FPU Test และเกือบจะทุกการทดสอบใน SISOFT Sandra tests. ผลลัพท์สามารถดูได้จากด้านล่างนี้:

การทดสอบประสิทธิภาพ AMD Ryzen 7 1700X AIDA64 Cache และ Memory :

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X  – บททดสอบประสิทธิภาพทางด้านเกมส์มิ่ง

อาจจะมีเกมส์ไม่มากเท่าไหร่แต่ก็ถือว่ากราฟฟิกหนักใช้ได้ในการทดสอบครั้งนี้, ผลทดสอบ AMD Ryzen 7 1700X นั้นต้องยกให้กับ Intel. Core i7-6700K, Core i7-7700K, Core i7-6950X และแม้กระทั่ง Core i7-4770K ยังแรงกว่า AMD Ryzen chip ในเกมส์ที่มีกราฟฟิกหนักๆเช่น Sniper Elite III, Monster Hunter, Bioshock Infinite, Batman Arkham Origins. สิ่งเดียวที่ถือว่าผ่านก็คือเกมส์ GTA V ตัวชิปสามารถทะลุทะลวงทางด้านประสิทธิภาพได้หากเทียบกับ 4770K และ 6950X.

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X  – บททดสอบทางด้าน Overclocked

ผู้ทำรีวิวจัดการทำ overclock ชิปให้ไปถึง 4 GHz ได้แต่ก็ใช่ว่าจะประทับใจอย่างที่เราคาดหวังเอาไว้สำหรับ Ryzen overclocking. ตัวชิป overclocked ไปที่ 4 GHz สามารถทำได้ทุกแกนหรือ 8 cores ด้วยแรงดันไฟหรือ voltage ที่อัดไปที่ 1.448V. ตัวชิปนั้นถือว่าเสถียรและมีอุณภูมิอยู่ที่ 78C ที่โหมดอัดเต็มๆหรือ maximum loads. ด้านล่างเป็นผลทดสอบจากการทำ overclocking ตัว processor:

นอกเหนือไปจากนั้น, การทำ overclocking ตัวชิปนี้ยังไปเพิ่มกำลังวัตท์อีก 100W หากอัดมันแบบเต็มที่หรือ full load. หากอยู่ในระดับ stock speeds หรือความเร็วทั่วไป, ระบบจะกินไฟประมาณ 170W ขณะ load และ 49W ขณะอยู่บน idle. และเมื่อไหร่ overclocked, จะกระโดดไปที่ 265W ขณะทำงานหรือ load และ 57W บน idle.

AMD Ryzen 7 1700X OC – 4 GHz Across All 8 Cores/ทุกๆแกน:

รีวิว AMD Ryzen 7 1700X  – การทดสอบทางด้านพลังงานและอุณภูมิ

ด้านล่างแสดงให้เห็นถึงระบบทั้งหมดทางด้านการใช้พลังงานพร้อมด้วยการ์ดจอ.  Ryzen 7 1700X นัันหากเทียบกับ 14nm ของ Intel chips จะกินไฟน้อยกว่าถือว่าใช้ได้..เยี่ยม. แต่นี้เป็นความเร็วระดับทั่วไปหรือ stock clocks หาก overclocked ตัวเลขจะขยับขึ้นไปอีกมาก.

หากสังเกตุให้ดี CPUs รุ่นใหม่ๆที่ใช้กระบวนการผลิตแบบ 14nm จะมีอุณภูมิที่สูงกว่าหากเทียบกับรุ่นที่แล้วๆมาก. โดยทั้งคู่ไม่ว่าจะเป็น Intel และ AMD chips อุณภูมิทะลุ 80C หากอยู่ในโหมด full load และจะอยู่ที่ 30-40C หากอยู่ในโหมดไม่ใช้งานหรือน้อย/idle loads.

ที่มาเครดิต/Sources:

http://wccftech.com/amd-ryzen-7-1700x-review-leak-gaming-overclock-benchmarks/

 

Related articles

5 เว็บไซต์ ทดสอบความแรง CPU/GPU เชื่อถือได้ เช็กก่อนเลือกซื้อกันได้เลย !!

สำหรับใครที่วางแผนจะประกอบคอมเครื่องใหม่ แต่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะซื้อซีพียูหรือการ์ดจอตัวไหนดี วันนี้แอดมีเว็บไซต์ที่ทำการทดสอบฮาร์ดแวร์พวกนี้ไว้ให้เราเปรียบเทียบได้ง่ายขึ้น มีเว็บไหนบ้างไปดูกันเลยครับ Techpowerup เว็บนี้ผมชอบดูมาก เพราะทำกราฟออกมาอ่านเข้าใจง่าย และมีการทดสอบที่หลากหลาย ทั้งการใช้งานทั่วไป, การเล่นเกม, การใช้พลังงาน,...

“อุปกรณ์ IoT” “ภัยเงียบที่เสี่ยงคุกคามบ้านคุณ?

ในยุคที่เทคโนโลยี IoT เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เช่น หลอดไฟอัจฉริยะ ลำโพงอัจฉริยะ กล้องวงจรปิด หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน...

MSI ก้าวสู่ยุคใหม่ Next-Level AI PC พร้อมเปิดตัวโน้ตบุ๊กขุมพลัง AMD Ryzen™ AI 300 Series

11 พฤศจิกายน 2567 MSI ประเทศไทย แบรนด์พรีเมียมโน้ตบุ๊กชั้นนำ ประกาศวางจำหน่ายโน้ตบุ๊ก AI ระดับสูงรุ่นใหม่ที่มาพร้อมหน่วยประมวลผล...

[HOW TO] ใช้กล้องมือถือแทนเว็บแคม ภาพโคตรชัดแถมใช้ฟรี !! ด้วย Camo Studio

อยากได้เว็บแคมกล้องชัด ๆ แบบมือถือที่ใช้ ต้องลองแอปฯ นี้เลยครับ Camo Studio เปลี่ยนกล้องมือถือให้กลายเป็นเว็บแคม อัดคลิปทำคอนเทนต์บนคอมได้ง่าย...

STEELSERIES ยกทัพสินค้าใหม่เอาใจสายเกมเมอร์

เปิดตัว ARCTIS GAMEBUDS™ WIRELESS GAMING EARBUDS หูฟังไร้สายที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ในการเล่มเกม ดูหนัง ฟังเพลง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า