Thailand Web Stat

Review:ASUS MAXIMUS IX CODE ตอบโจทย์ทุกความแรงในงบคุ้มค่า

สวัสดีครับทุกๆท่านกลับมาเจอกันอีกรอบหนึ่งช่วงนี้ต้องบอกว่ามีบทความออกทุกวันเลยทีเดียวและครับสำหรับวันนี้ทางผมก็ได้รับของเล่นจากทาง ASUS มาอีกหนึ่งตัวเป็นเมนบอร์ดเชื้อสายของ ROG หรือที่พูดกันว่า MAXIMUS นั้นเองครับต้องบอกว่าชื่อเสียงนีร้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุค 775 และได้สร้างตำนานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและทำสถิติโลกมาได้หลายการ จนมาถึงยุคที่ 9 หรือ IX นั้นเองครับโดยรอบนี้ทาง ASUS ก็ได้เปิดรุ่นใหม่เข้ามาทำตลาดหลังจากแต่ก่อนเมนบอร์ดตัวใหญ่หรือ ATX นั้นจะมี HERO EXTREME และ FORMULA แต่มีเสียงตอบรับว่าตัว FORMULA ออกแบบได้สวยงามมีมาพร้อมชุดน้ำแต่ราคาก็เรียกว่าค่อนข้างแรงและบางคนไม่ได้ใช้งานชุดน้ำทำให้เกิดตัว  ASUS MAXIMUS IX CODE ขึ้นมาในวันนี้เอาเป็นว่าเดียวเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

โดยเมนบอร์ดนี้หน้าตาของมันเรียกว่าเหมือนตัวรุ่นพี่แทบจะทุกอย่างยกเว้นเพียงภาคจ่ายไฟใช้งานเป็นฮิตซิงค์ปกติทั่วๆไปครับ

 

ASUS MAXIMUS IX CODE

มาดูกันที่ตัวกล่องกันก่อนเลยดีกว่าครับสำหรับกล่อง ASUS นี้จะมีเขียนบอกรายละเอียกเอาไว้ทางด้านหน้าว่าเป็นตัว MAXIMUS IX CODE ครับและกล่องก็ยังใช้งานเหมือนตัว ROG ทุกตัวที่เคยรีวิวมา

โดยเมนบอร์ดนี้รองรับ CPU ทุกรุ่นที่เป็น 1151 พร้อมทั้งรองรับการติดตั้งการ์ดจอต่อได้หลายใบไม่ว่าจะเป็น SLI และ CROSSFIRE และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับยุคนี้คือส่วนของ RGB ที่รองรับการใช้งาน AURA SYNC

ทางด้านหลังของตัวกล่องนั้นจะมีบอกรายละเอียดการรองรับของตัวเมนบอร์ด

โดยภายในกล่องนั้นจะมีสติเกอร์เท่ๆเอาไว้แปะเล่นแผ่นรองแก้วน้ำพร้อมทั้งคู่มือการใช้งานสุดท้ายจะเป็นแผ่นโปรแกรมไดรเวอร์ของตัวเมนบอร์ด

อุปกรณ์ภายในกล่องจะมีสายสำหรับเชื่อมต่อไฟ RGB เพื่อสามารถจะให้ซิงค์ใช้งานกับเมนบอร์ดได้ สายเชื่อมต่อสำหรับ SLI และอุปกรณ์ช่วยติดตั้ง CPU ลงบนเมนบอร์ด แผ่นปิดหลังช่อง I/O เสารับสัญญาน Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อลงไปยังเมนบอร์ด พร้อมทั้งมีน๊อตเอาไว้ยึด M.2 และสุดท้ายจะเป็นสาย Sata จำนวน 2 เส้น

สำหรับตัวเมนบอร์ดนี้จะมาในขนาด ATX และสีของเมนบอร์ดรอบนี้ต้องบอกว่าเป็นสีดำทั้งตัวเมนบอร์ดเลยทีเดียวไม่มีสีอื่นใดตัดให้ดูโดดเด่นแม้แต่น้อยแต่เอาจริงๆแล้วความสวยงามจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ใช้งานได้กดเปิดสวิตช์เครื่องนั้นเองเพราะเมนบอร์ดตัวนี้มีไฟ RGB เรียกว่าหลายจุดเป็นอย่างมากครับ

โดยตรงส่วนทางด้านหลังI/O นี้จะมีฝาปิดเอาไว้สวยงามเรียบร้อย มีการปั้ม MAXIMUS IX เอาไว้สวยงามและตรงฮิตซิงค์ภาคจ่ายไฟจะมีชื่อรุ่น CODE ครับ

เรื่องของชุดภาคจ่ายไฟเมนบอร์ดนี้ต้องบอกว่าให้มามากถึง 10 เฟส โดยการ Overclock นั้นต้องบอกว่าสามารถจัดเต็มได้เลยทีเดียว โดยการทดสอบในวันนี้จะเทสแบบสุดความสามารถของเมนบอร์ดและ CPU เลยครับ

โดยไฟเลี้ยง CPU นั้นจะต้องเสียบสายไฟเลี้ยง 8 Pin เพิ่มเข้าไปเพื่อให้ CPU ได้พลังงานเพียงพอ

เรื่องของการติดตั้งแรมเมนบอร์ดนี้ก็รองรับบความจุสูงสุดที่ 64 GB ครับและยังสามารถติดตั้งแรมที่มีความเร็วบัสสูงมากถึง 4133 MHz แบบเปิดโหมดใช้งาน XMP ได้ในทันที

โดยเมนบอร์ดตัวนี้ยังมีปุ่มเปิดปิดเครื่องมาให้ใช้งานและปุ่มรีคอมพิวเตอร์ อีกทั้งไฟ Debug ก็มีมาให้ใช้งานเช่่นกัน

หรือถ้าใครยังไม่มีความสามารถในการอ่าน Code ไม่เป็นเมนบอร์ดตัวนี้ก็มีหลอดไฟ LED ที่ให้มาเวลามีปัญหาตรงไหนไฟจะติดที่ตรงนั้นโดยมันจะอยู฿่ตรงซอกของการติดตั้งสาย 24 PIN ครับ

สำหรับการติดตั้งการ์ดต่างๆนั้นเมนบอร์ดตัวนี้จะมีช่อง PCI-E 1x มาให้ทั้งหมด 3 ช่องด้วยกันและ PCI-E 16x อีกจำนวน 3 ช่องด้วยกันครับ

โดยตรงกลางเมนบอร์ดนี้จะยังคงมีโลโก้ REPUBLIC OF GAMERS มาให้เวลาใช้งานจะมีไฟส่องสว่างสวยงาม

สำหรับฮิตซิงค์ PCH นั้นจะมีรูปลายโลโก้  ROG ติดเอาไว้สวยงามครับ

เรื่องของระบบเสียงนั้นทาง ASUS ได้เลือกใช้งานเป็นระบบ SUPREME FX เช่นเดิมครับ โดยเมนบอร์ดนี้ตัว PCB จะมีการแยกกราวเอาไว้เช่นเดิมครับโดยถ้าเอาจริงๆแล้วเรื่องของการแยกกราวออกจาก PCB หลักบนเมนบอร์ดถือว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้วก็ว่าได้ครับ

สำหรับการติดตั้ง HDD ผ่านทางช่อง SATA นั้นก็มีมาให้ด้วยกันทั้งหมด 6 ช่องครับ

แต่ใครนั้นมองหาช่อง M.2 แล้วหาไม่เจอนั้นมันมาหลบอยู่ส่วนนี้ครับโดยจะเป็นการติดตั้งแบบเสียบลงไปในแนวตั้งครับ โดยจริงๆจะมีสล๊อต M.2 อีกหนึ่งอันอยู่ภายใต้ฝาครอบแถวบริเวณชิพฮิตซิงค์ PCH ครับ

โดยปุ่มเสริมนั้นจะอยู่ทางด้านล่างของเมนบอร์ดครับ โดยจะมีปุ่ม RETRY SAFE-BOOST และปุ่ม MemOK ครับ โดยข้างๆนั้นจะมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อ OC Panal ครับ

สำหรับการเชื่อมต่อทางด้านหลัง I/O นั้นจะมีปุ่มสำหรับแฟรช Bios พร้อมทั้งปุ่มเคลีย Bios มาให้ด้วยครับ โดยอีกจุดที่พิเศษนั้นจะมีตัวรับสัญญาน Wi-Fi มาให้บนเมนบอร์ดด้วยครับ การเชื่อมต่อออกสู่จอภาพนั้นเมนบอร์ดนี้จะมีช่อง DisplayPort และ HDMI มาให้ และอีกจุดหนึ่งคือเมนบอร์ดตัวนี้มีช่อง USB มาให้เยอะมากทางด้านหลังเคสครับ โดยจะมี USB 2.0 มาให้ทั้งหมด 4 Port และ USB 3.0 อีก 5 Port ครับและ USB 3.1 Type-C มาให้เหมือนกัน สุดท้ายจะเป็นช่องเสียบสาย Lan และระบบเสียง

 

CPU
INTEL Core i7 7700k 
CPU Cooler
Custom Watercooling
Thermal Compound
CoolerMaster Master GEL MAKER NANO
Mainboard
ASUS MAXIMUS IX CODE
Memory
T-FORCE XTREEM DDR4-4000CL18 1.35V 16GB
VGA Card
PowerColor Red Devil RX580 Goldsample 8 GB
SSD
OCZ VECTOR 180 480 GB
SSD
Plextor M8Pe 256 GB
HDD
WD Gold 8 TB
Power Supply
CORSAIR AX 1500i
Chassis
DimasTech Easy XL
OS
Windows 10 pro

 

บรรยากาศขณะทำการทดสอบ

โดยวันนี้ยังคงเซตค่าเอาไว้ให้มีความแรงต่อเนื่องที่ 5.2 GHz และตัวแรมนั้นวิ่งไปที่ 4000 MHz โดยเป็นการเปิด XMP เท่านั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที

 

ก็จบไปแล้วสำหรับการทดสอบในวันนี้เรียกว่าตัว ASUS MAXIMUS IX CODE มีประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือเหมือน ASUS MAXIMUS IX FORMULA เพราะเมนบอร์ด ASUS CODE กับ FORMULA คือเมนบอร์ดตัวเดียวกันแตกต่างเพียงแค่หน้าตาเมนบอร์ด ตัวFORMULA จะมีชุดน้ำที่ภาคจ่ายไฟ แต่ตัว CODE เป็นแบบซิงค์ปกติครับ ส่วนนี้ทำให้ตัว CODE มีราคาที่ถูกกว่าหลายพันเลยทีเดียวแต่ประสิทธิภาพความแรงก็ยังจัดเต็มเช่นเคย โดยจะเห็นว่าวันนี้ผมได้เซต CPU ไปที่ 5.2 GHz และให้แรมทำงานที่บัส 4000 MHz นั้นก็สามารถใช้งานได้แบบ 24/7 เลยทีเดียวและครับ ไม่มีอาการค้างหรือเปิดเครื่องบูตยากแต่อย่างใด เรื่องของการ Overclock ก็สามารถปรับแต่งได้ง่ายตามแบบฉบับของทาง ASUS และถ้าใครเซตไม่เป็นนั้นต้องบอกเลยว่าเพียงแค่ทำการโหลดโปรไฟล์ที่อยู่ใน Bios ก็สามารถพา CPU GEN 7 ที่เป็นรหัส K ไปวิ่งที่ความเร็ว 5.0 GHz ได้เลยทันทีครับ ก็ถือว่าเป็นทีเด็ดของเมนบอร์ด ASUS ครับ สำหรับวันนี้ทางผมก็คงต้องขอตัวลาไปก่อนแต่เพียงเท่านี้เอาไว้พบกันใหม่กับบทความหน้า สวัสดีครับ

Related articles

แรมบัสสูง vs. แรม CL แน่น ๆ – จะประกอบคอมเล่นเกม ต้องใช้แรมบัสสูง ๆ จริงหรือไม่?

เรื่องตัวเลขความเร็วในวงการคอมพิวเตอร์มันเป็นของคู่กันนะครับ แต่ในอุปกรณ์บางอย่าง ความเร็วอาจไม่ใช่คำตอบเสมอไป และแรมก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เราไม่สามารถมองได้แค่ตัวเลขของความเร็วหรือบัสแรมเพียงอย่างเดียวครับ ทำไมเป็นอย่างนั้น ผมจะพาไปหาคำตอบครับ รายละเอียดของการทดสอบและผลทดสอบขอหยิบยกมาจากเว็บไซต์ Techspot ซึ่งได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของแรม DDR5 ที่บัส 5600MHz,...

แอลจีเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” ภายใต้แนวคิด AI ความอัจฉริยะที่มีเสน่ห์

แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (แอลจี) เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาใหม่ล่าสุดภายใต้แนวคิด “เทคโนโลยีที่เข้าใจคุณมากขึ้น” (Less Artificial, More Human)...

[Extreme History] – ELIZA แชตบ็อตนักบำบัด (จอมปลอม) สร้างขึ้นเพื่อทดสอบจิตใจมนุษย์

จากหัวเรื่องผมไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด เพราะ ELIZA ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบจิตใจ (หลอกลวง) มนุษย์ ถึงขนาดทำให้นักจิตบำบัดยังหลงเชื่อว่ามันคือ AI ที่สามารถบำบัดจิตได้จริง...

“realme 14 Series 5G” X “Bacon Time” ผนึกกำลังทีมอีสปอร์ตระดับโลก เปิดตัว Performance Dominator คนใหม่ สัมผัสนวัตกรรมเกมมิ่งโฟนสุดยิ่งใหญ่ 27 มีนาคมนี้ พร้อมกัน!

realme (เรียลมี) แบรนด์เทคโนโลยีเพื่อคนรุ่นใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ประกาศแผนกลยุทธ์ปี 2568 เดินหน้าสู่การเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบทั้งในด้านประสิทธิภาพ ดีไซน์ และคุณภาพการใช้งาน ประกาศจับมือ...

ศัพท์การ์ดจอต้องรู้ – TDP, TGP และ TBP ตัวย่อบอกการใช้พลังงาน แต่ละอันคืออะไรกันนะ ??

ไม่ว่าใครที่เข้าวงการคอมพิวเตอร์มาทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ น่าจะคุ้นเคยกับตัวย่อ TDP, TGP และ TBP โดยเฉพาะการ์ดจอ แต่ผมก็เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่สงสัยว่าจริง ๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า